Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik
ในชีวิตจริงมนุษย์มีกิจกรรมที่ต้องทำหลายอย่างในช่วงเวลาที่มีจำกัด เช่น งานที่ต้องทำในแต่ละวัน, หนังสือที่ต้องอ่านในแต่ละเทอม, สิ่งที่อยากทำในชีวิตหนึ่งก่อนตาย ฯลฯ การบริหารเวลา จึงหมายถึงการจัดสรรเงวลาให้กับกิจกรรมเหล่านั้น แต่โดยมาก เวลาที่มี มักจำกัด และไม่เพียงพอสำหรับกิจกรรมทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมเหล่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องทำก่อนการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม คือการใส่ใจ พิจารณาให้รู้ชัดว่า กิจกรรมที่ว่าเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
การวิเคราะห์จำแนกกิจกรรมที่ต้องทำ (Job breakdown) อาศัยความเข้าใจต่อสถานการณ์อย่างถ่องแท้ เพื่อแจกแจงรายการของสิ่งที่ต้องทำให้ครบถ้วน เช่น คนที่ไม่มีประสบการ์ในการจัดงานแต่งงานก็ไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวหรือทำอะไรบ้าง แต่คนที่มีประสบการณ์สามารถแจกแจงราบการงานได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ชีวิตของแต่ละคนก็เช่นกัน ถ้าเราใส่ใจ และทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งมากขึ้นเพียงใด จะสามารถตอบเป้าหมายชีวิตของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพียงนั้น แล้วก็จะเห็นว่า สิ่งที่มีค่า มีความหมาย มีความสำคัญ ที่ควรทำในแต่ละช่วงของชีวิตหนึ่งนี้ มีอะไรบ้าง
เมื่อสามารถระบุรายการกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำในแต่ละช่วงเวลาได้แล้ว ทั้งที่เป็นกิจกรรมส่วนตัว งานในหน้าที่ หรือสิ่งที่ควรทำต่อบุคคลและสังคมรอบตัว ได้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว จึงพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมเหล่านั้น ซึ่งอาจ มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาของชีวิต หรือสถานการณ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ลำดับความสำคัญของกิจกรรมจึงควรชัดเจน แต่ไม่ตายตัว
การจัดลําดับความสําคัญและความเร่งด่วนในการทํางานจะ ต้องแยกแยะให้ชัดแจ้ง มีหลักดังต่อไปนี้
- จัดทําบัญชีรายชื่องานเก่า งานใหม่ งานที่ไม่คาดคิด และ งานที่เกิดขึ้นเป็นประจํา
- จัดประเภทของงาน ได้แก่ งานตามเวลา งานไม่ตามเวลา งานเร่งด่วน งานไม่เร่งด่วน งานสําคัญ และงานไม่สําคัญ
- จัดลําดับงานโดยเรียงตามลําดับ คือ งานตามเวลา งาน เร่งด่วน งานสําคัญ และงานที่เหลือทั้งหมด
- จัดตารางปฏิบัติงานโดยเริ่มจากลงตารางจากงานตาม เวลา งานเร่งด่วน และงานสําคัญรวมทั้งงานที่เหลือทั้งหมด
- ปฏิบัติงานตามตารางเวลาที่กําหนด
- ประเมินผลงาน เป็นการประเมินผลว่าในรอบวันได้ปฏิบัติ งานตามที่กําหนดครบถ้วนหรือไม่เพียงใด หากมีงานใดที่ยังคงคั่งค้าง ให้ระบุงานนั้นเพื่อนําไปวางแผนในวันต่อไป
- จัดทําบัญชีรายชื่องานเก่าที่ค้างตามข้อ 6 งานใหม่ งานที่ ไม่คาดคิด งานที่เกิดประจํา และดําเนินการวางแผนตามข้อ 2 และข้อ อื่นๆ ตามลําดับ
การจัดลำดับความสำคัญของงานแบบไอเซนฮาวร์ เป็นแนวคิด ประเมินตามเกณฑ์ตามความสำคัญ-ไม่สำคัญ, เร่งด่วน-ไม่ เร่งด่วน โดยวาดตารางแบ่งออกเป็นช่องต่างๆ โดยลดการมุ่งเน้นงานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนลง และมุ่งเน้นไปยังงานที่สำคัญและเร่งด่วนที่สำคัญ งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วนอาจมอบหมายให้คนอื่นทำแทน ส่วนงานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วนอาจทำในช่วงท้ายของวันหรือช่วงเวลาส่วนตัว ซึ่งเป็นแนวคิดที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ นำมาใช้ โดยจำแนกงานเป็น 4 ประเภท คือ
Build a web page with Mobirise