ทักษะสำคัญในการใช้ชีวิต และการทำงาน อย่างมีความสุข และมีคุณค่า


Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik


การพัฒนาคนทั้งคน ก็คือการพัฒนาระบบองค์รวมแห่งการดำเนิน ชีวิตของคนให้เจริญงอกงามขึ้นอย่างประสานสัมพันธ์สอดคล้อง ส่งผลเกื้อกูลกันไปด้วยดีทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วยพัฒนาการ 4 ด้าน (ภาวนา 4) คือ กาย ศีล จิต ปัญญา

การพัฒนากาย
ไม่ใช่ให้กายเติบโต แต่หมายถึงการใช้กายให้สัมพันธ์สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ เช่นการเลือกเสพบริโภคสิ่งที่ดี เข้าสู่ชีวิตของตน รวมถึงการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนและสังคมได้

การพัฒนาศีล
ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามหลักจารีต ศาสนา แต่หมายถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับสังคม เพื่อนมนุษย์ ให้เป็นไปในทางช่วยแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สังคม

การพัฒนาจิต
คือการฝึกอบรมให้จิตใจมีสุขภาพจิตดี มีศักยภาพในการทำกิจต่างๆ ไม่ซึมเซาซัดส่าย อีกทั้งยังประกอบไปด้วยคุณธรรม ความดีงามต่างๆ เช่น เมตตา กรุณา ฉันทะ หมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน จดจ่อ สดชื่น

การพัฒนาปัญญา
คือความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถนำความรู้ความคิดมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ รวมทั้งในการบริหารจัดการดำเนินการต่างๆ เพื่อการพัฒนาตนและสังคมยิ่งขึ้นไป

การศึกษาขององค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาทักษะชีวิต และระบุทักษะที่สำคัญ 5 ด้าน 


 
          Life skills education is designed to facilitate the practice and reinforcement of psychosocial skills in a culturally and developmentally appropriate way; it contributes to the promotion of personal and social development, the prevention of health and social problems, and the protection of human rights.

          Life skills education is aimed at facilitating the development of psychosocial skills that are required to deal with the demands and challenges of everyday life. It includes the application of life skills in the context of specific risk situations and in situations where children and adolescents need to be empowered to promote and protect their rights. Following the study of many different life skills programmes, the WHO Department of Mental Health identified five basic areas of life skills that are relevant across cultures: 
                    - decision-making and problem-solving
                    - creative thinking and critical thinking

                    - communication and interpersonal skills
                    - self-awareness and empathy

                    - coping with emotions and coping with stress.

          Many countries are now considering the development of life skills education in response to the need to reform traditional education systems. Furthermore, life skills education lays the foundation for learning skills that are in great demand in today’s job markets.

(ที่มา : WHO, 1999, Partners in Life Skills Education)

หน่วยงานต้นสังกัดของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีนโยบายที่จะพัฒนาบัณฑิตให้ตอบสนองต่อความท้าทายของโลกา-ภิวัตน์อันเป็นผลมาจาก การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะทําให้อาเซียนกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว และมีการเคล่ือนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาจะต้องสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมมากท่ีสุดเมื่อไปทํางานจริงในสถานประกอบการ ในระดับท่ี เรียกว่า “บัณฑิตพร้อมใช้ (Work-ready graduate)” เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของการพัฒนา ประเทศไทย ท่ีมุ่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ระดับสากล

 การวิจัยของ สุบิน ยุระรัช และคณะ (2554) พบว่า คุณลักษณะของบัณฑิตที่อาเซียนคาดหวัง มี 26 คุณลักษณะ แบ่งตามทฤษฎีจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives) ของ Bloom & others (1971) ได้แก่ 

 (1) ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) มี จํานวน 12 คุณลักษณะ ได้แก่ ทักษะทางปัญญา ความรู้ในสาขาวิชา การคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา ความสามารถเชิงตัวเลข ความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง การบริหารเวลา ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 

 (2) ด้านจิตพิสัย (Affective domain) มี จํานวน 8 คุณลักษณะ ได้แก่ คุณธรรม/จริยธรรม/จรรยาบรรณในวิชาชีพ ความซ่ือสัตย์สุจริต ทัศนคติที่ดีต่องาน/เพ่ือนร่วมงาน การมองเห็นคุณค่าในตนเอง ความเป็นผู้นํา บุคลิกภาพท่ีดี ความตระหนักในตนเอง การตัดสินใจอย่างมีคุณธรรม ความรู้สึกเป็นส่วนหน่ึงขององค์กร แรงจูงใจในการทํางาน มุมมองสากล/ความเป็นพลโลก ความมั่นใจ 

 (3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) มีจํานวน 6 คุณลักษณะ ได้แก่ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการทํางานเป็นทีม ทักษะทางสังคม/ทักษะระหว่างบุคคล ทักษะการปฏิบัติ/ทักษะทางวิชาชีพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการปรับตัว และทักษะในการสืบค้นข้อมูล 

(ที่มา : สุบิน ยุระรัช, เชียง เภาชิต, สุรเดช แสงเพ็ชร และไพบูลย์ สุขวิจิตร. (2554). ความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใน ประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาการสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 17 (2), 1-15. อ้างถึงใน สุบิน ยุระรัช, 2556, การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตไทยสู่อาเซียน, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีท่ี 15 ฉบับท่ี 4, 142 - 153)

Mobirise

ในฐานะว่าที่บัณฑิต ท่านเห็นด้วยหรือเห็นต่าง
ในประเด็นใด อย่างไรบ้าง ?

Over 400 Amazing Blocks

นายสมคิด กล่าวต่อว่า นอกจากนี้สิ่งที่เราจะต้องมาช่วยกัน คือ

1.สำนักงบประมาณได้รับนโยบายในการสนับสนุนมหาวิทยาลัย ว่า จะต้องดูสาขาความต้องการในผลิตกำลังคนของประเทศ แต่ไม่ใช่จะตัดในสาขาด้านสังคมศาสตร์ออกไป ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการประเทศและจะต้องมีพื้นฐานของสายศิลป์ควบคู่ด้วย และงานวิจัยจะต้องเป็นในไปแนวทางการพัฒนาประเทศ

2.สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ต้องหามาตรการที่ช่วยจูงใจให้มหาวิทยาลัยสร้างคนที่ตรงความต้องการ

(อ่านต่อ.....)

Site was made with Mobirise