Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik
Drawing from some of the most pivotal points in his life, Steve Jobs, chief executive officer and co-founder of Apple Computer and of Pixar Animation Studios, urged graduates to pursue their dreams and see the opportunities in life's setbacks -- including death itself -- at Stanforduniversity's 114th Commencement on June 12, 2005.
ไม่ว่าสังคมจะเรียกร้องให้บัณฑิตมีทักษะและความสามารถมากมายเพียงใด แต่ทักษะเบื้องต้นที่สำคัญคือการที่มนุษย์คนหนึ่งจะเข้าใจตนเอง ทั้งในสิ่งที่ตนรัก สิ่งที่ตนถนัด รวมไปถึงที่สิ่งตนยังไม่รู้และอยากเรียนรู้ การพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพจึงเกิดขึ้นจากความเข้าใจตนเองและความใฝ่รู้ภายในตน มิใช่การถูกบังคับ เรียกร้อง หรือสั่งการจากสิ่งใดภายนอก
ในปรัชญาชีวิตของชาวญี่ปุ่นโบราณ เรียกสิ่งที่ทำให้คนเราอยากตื่นขึ้นมาในทุกๆ เช้า ว่า Ikigai ซึ่งเป็นการผสานสมดุลระหว่าง 4 องค์ประกอบ
1. สิ่งที่เรารักและมีความสุขขณะที่ทำ (ไม่ใช่เพียงเมื่อสำเร็จ)
2. สิ่งที่เราถนัด มีความสามารถที่จะทำได้ดี (โดยไม่หลอกตัวเอง)
3. สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น สังคม และโลก
4. สิ่งที่สร้างรายได้ ให้เราสามารถดำรงชีวิตและทำสิ่งต่างๆ ได้
องค์ประกอบนั้นประสานกัน จะเกิดสิ่งที่มีพลานุภาพยิ่งขึ้น คือ
1. Passion สิ่งที่เรารักและถนัด ทำให้มีพลังอยากลงมือทำ (ฉันทะ) ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายใน ทำให้มีความพยายามแม้ยากก็ไม่ย่อท้อ (วิริยะ) มีใจจดจ่อ (จิตตะ) และสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดไปอย่างไม่สิ้นสุด (วิมังสา)
2. Mission สิ่งที่เรารักและเป็นประโยชน์ต่อใครสักคนหรือหลายคน ทำให้เกิดฉันทะจากปัจจัยภายนอก ส่งผลให้เกิดวิริยะ จิตตะ วิมังสา ได้เช่นกัน
3. Vocation วิชาชีพที่สังคมจ่ายค่าตอบแทนให้ ก็เพราะการกระทำนั้นสร้างคุณประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งให้แก่โลกได้
4. Profession อาชีพก็เป็นสิ่งที่สังคมจ่ายเพื่อตอบแทนให้กับความสามารถที่สั่งสมจนเกิดความชำนาญ และเกิดผลได้จริง
การตั้งคำถามจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการหาคำตอบอาจต้องใช้เวลา คนที่หาคำตอบได้ไว อาจมีโอกาสที่จะลงมือทำได้เร็ว แต่คนที่ไม่เริ่มแม้แต่จะตั้งคำถาม อาจใช้ชีวิตผ่านไปตามที่สังคมเรียกร้อง โดยไม่มีโอกาสที่จะหาคำตอบ จนแม้วาระสุดท้ายของชีวิต
เมื่อเราค้นหาตัวเองเจอแล้ว ไม่ว่าจะแจ่มชัด หรือเป็นเพียงการลองผิดลองถูกก็ตาม คำถามต่อไปที่ท้าทายไม่แพ้กัน คือเราจะมีโอกาสได้ทำสิ่งนั้นหรือไม่ คำถามที่มักเกิดขึ้นคือ เราจะทำสิ่งที่รัก หรือจะต้องรักในสิ่งที่ทำ คำตอบอาจไม่ตายตัว หรืออาจตอบได้มากกว่า 1 ข้อ แต่สิ่งที่ไม่ควรหลงลืมไปในระหว่างแห่งทางเลือกทั้งสอง ก็คือ นอกจากความสุขแล้ว คุณค่า ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ
รู้จักตัวเอง ค้นหาความหมายในงานและความสุขในชีวิตให้เจอ ด้วย Design Thinking
The Secret Sauce EP.96 (26.38 นาที)
อ่านเนื้อหา ได้ที่ thestandard.co/podcast/thesecretsauce96
โปรดเรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง | นิติ ชัยชิตาทร | TEDxBangkok (14.08 นาที)
เงื่อนงำที่อาจช่วยนำไปสู่คำตอบของคำถามข้างต้น คือความหมายที่ซ่อนตัวอยู่ใน “ความรัก” ที่เราคาดหวัง
(ก) ถ้าเรารักที่ผลตอบแทนของงาน
ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ชื่อเสียง หรือแม้แต่ความสนุกที่ได้พบปะผู้คนที่เกี่ยวข้องในงานนั้นๆ เราอาจจะไม่ได้รักที่ตัวงานอย่างแท้จริง ไม่ได้เห็นคุณค่าของงานนั้น และไม่ค่อยมีความสุขกับงานนั้นเท่าไหร่นัก เราอาจเฝ้ารอผลตอบแทนเหล่านั้นมากกว่าตัวการทำงานโดยตรง เหมือนการเรียนที่มุ่งหวังผลคะแนนให้สอบผ่าน โดยมิได้อยากรู้หรือนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เวลาเรียนก็จะน่าเบื่อหน่าย ชวนให้หนีเรียน และถ้ามีทางที่จะได้ผลตอบแทนโดยไม่ต้องทำงาน ก็จะเป็นทางที่ถูกเลือกเสมอ
(ข) ถ้าเรารักที่ตัวงาน ที่จะช่วยผู้อื่นได้
เราก็ต้องพยายามสร้างโอกาสให้เราได้ทำงานที่เรารักนั้น เรื่องผลตอบแทนอาจมีความสำคัญรองลงไป แต่หลายครั้งเราก็ไม่ได้โอกาสเช่นว่านั้น เช่น สมัครงานแล้วไม่ได้งานที่ต้องการ, คุณสมบัติของเราไม่เหมาะกับงานที่เราอยากทำ ฯลฯ
(ค) ถ้าเรารักที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
เราจะมองงานและสิ่งที่เราจะทำทุกอย่าง เป็นเหมือนแบบฝึกหัด หรือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ เรื่องผลตอบแทน หรือแม้แต่ชนิดของงานก็อาจมีความสำคัญรองลงไป คือไม่ว่าจะทำอะไร แม้จะยาก หรือได้ผลตอบแทนน้อย ก็อาจเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เสมอ มิหนำซ้ำสิ่งที่ยิ่งยาก ยิ่งเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้มากด้วยซ้ำ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเลือกทำงานที่ไม่ถนัด หรือให้ผลตอบแทนน้อยเท่านั้น ตรงกันข้าม คนที่ใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตนเอง ในการทำงานทุกอย่าง กลับเป็นผู้ที่ได้ฝึกตนมากและส่งผลให้เป็นผู้มีความสามารถสูง และมีความสามารถรอบด้าน สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ได้ดี จึงมักมีโอกาสเลือกงานที่จะทำได้มากกว่าคนอื่น และโอกาสอช่นว่านี้เอง ทำให้มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นที่จะได้ทำงานที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามหลัก Ikigai ได้มากขึ้น
คลิกอ่าน บทสนทนากับ ฮาย-พิชญ์พิสิฐฎ์เสฎ โชคชัย
เจ้าของแชนแนล Haiseoul Channel
คนต้นเรื่องที่หยิบยกเพลงดังเมื่อ 6 ปีก่อน กลับมาร้อง (ลิปซิงก์) เต้น เล่นหูเล่นตา
โดยบังเอิญ และไม่คิดว่าคลิปจะดังเป็นพลุแตก
เป็นผลให้มีคนกดเข้าไปดูเธอแสดงความสามารถมากถึง 12 ล้านครั้ง
- ตอนไหนที่คุณหาตัวเองเจอว่าอยากเป็นอะไร
- แล้วช่วงมหา’ลัยเลือกเรียนอะไร
- พอเจอตัวเองเร็ว มันดียังไง
07.42 | แนะนำน้องๆ ที่กำลังจะฝึกงาน มองหางาน
ควรจะมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
07.53 | รู้ลึก ดี ดีมาก แต่ต้องรู้รอบด้วย
... ยิ่งเราอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตเท่าไหร่
มันยิ่งทำให้เราก้าวไปเจอความรู้ที่เราไม่เคยเจอน้อยลงเท่านั้น !!
09.16 | คนสมัยนี้ให้ความสำคัญกับคำว่า Passion มาก ...
เอามาเป็นตัวตัดสินว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร
"ใช้ใจนำก็ถูกต้อง แต่ว่า.... เราต้องไม่ลืมว่า...!!"
"ไปทางที่ทำเป็นก็ได้ .. ไม่ต้องไปทำที่อยากทั้งหมดหรอก"
"Skill ไม่มีที่สิ้นสุด .. มันจะเป็นบันได ต่อขึ้นไปเรื่อยๆ"
"เมื่ออยากทำให้ดีขึ้นๆ .. อยู่กับสิ่งที่ทำเป็นอ่ะ มันจริงกว่า ..
มันไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเอง
แล้วที่สำคัญ มันได้พัฒนาขึ้นในทุกๆ วัน
มันก็จะเป็นความสุขของตัวเราเองเลย ไม่ต้องไปหาจากตรงอื่น"
จำเอาไว้ ..
การค้นหาตัวเอง ไม่ใช่นั่งนึก
ต้องลองทำ ลองทำทุกอย่างที่นึกออก !!!
Site was made with Mobirise