การเปิดโอกาสให้ความผิดพลาด และล้มเหลว สู่ ทักษะการระวังภัย


Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik


ความผิดพลาดหรือล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้เสมอในกระบวนการแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรม แต่เมื่อความล้มเหลวเกิดขึ้น การเรียนรู้จากความล้มเหลวอาจเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ แต่การกลัวความล้มเหลวอาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาและการพัฒนา

Mobirise

Jean Case ซีอีโอแห่ง Case Foundation และประธานบริหารของ National Geographic Society กล่าวไว้ว่า “ความสำเร็จมักจะตามมา หลังจากความล้มเหลวครั้งใหญ่”

นั่นเพราะความล้มเหลวจะเป็นบทเรียนให้เราได้เรียนรู้ว่า เราจะไม่เดินไปยังเส้นทางที่เราเคยล้มเหลวมาแล้วอีก และหากลองอ่านประวัติบุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลกในวงการต่างๆ จะรู้ว่า เส้นทางแห่งความสำเร็จของแต่ละคนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

สัจธรรมมีอยู่ว่า “คนที่ล้มเหลวใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกคน แต่คนที่ประสบความสำเร็จทุกคนต้องเคยล้มเหลวกันมาแล้วทั้งนั้น” และแทนที่เราจะมานั่งเสียใจและมองว่า ความล้มเหลว เป็นเรื่องที่น่าละอาย ไม่น่าพูดถึง หรือเป็นเรื่องที่ต้องเก็บกดไว้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เราจะสามารถทำความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของความล้มเหลว และมองวิกฤติให้เป็นโอกาสได้

Mobirise

ความล้มเหลวเป็นเหมือนภูมิคุ้มกัน

การล้มเหลวไม่ได้ทำให้โลกแตก แต่เป็นบทเรียนหนึ่งที่จะทำให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้น หากเรายอมให้ความล้มเหลวที่ ผ่านมาเป็นครูช่วยสอนเรา เราจะยิ่งได้คุณมากกว่าโทษ หากมีใครสักคนยอมเปิดใจเล่าเรื่องราวที่ตัวเองเคยล้มเหลวมาให้เราฟัง นั่นหมายความว่า ผู้ที่ได้ฟังประสบการณ์แบบนี้ถือว่าโชคดีมากๆ เพราะได้เรียนรู้จากคนอื่นโดยที่ไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวเอง แต่หากเจ็บเอง ก็จะยิ่งได้ประสบการณ์ที่คุ้มกว่า

ครั้งหนึ่ง Michael Jordan เคยกล่าวว่า เขาเคยแพ้เกมการแข่งขันบาสเกตบอลมาแล้วกว่า 300 นัด ใน จำนวนนี้มีถึง 26 นัดที่เขาเคยได้รับเดิมพันว่า ยังไงเขาก็ชนะแน่นอน และผลที่สุดคือ เขาก็แพ้ทั้ง 26 นัด Jordan แพ้แล้วแพ้อีก และนั่นเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จในที่สุด

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคนมีเบื้องหลังมาจากการทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ แต่สำหรับเจ้าพ่อบาสเกตบอล อย่าง Michael Jordan กลับมองวิกฤตเป็นโอกาส โดยเฉพาะยิ่งล้มเหลวมากก็ยิ่งได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะมาก

“ความล้มเหลวเป็นบทเรียนสำคัญ และผมคิดว่ามันเป็นบทเรียนที่มีค่า และควรค่าแก่การนำเอาไปสอน
ลูกหลานของเรา เราต้องการให้ลูกหลานของเราเรียนรู้เรื่องความมั่งคงและแข็งแกร่ง … ล้ม และ ลุก ให้เป็น … 
และเรียนรู้ว่า นั่นจะเป็นวิธีที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ภายหลัง” Jordan  กล่าว

Mobirise

อีกเคสหนึ่งที่น่าสนใจคือ JK Rowling คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว นักเขียนงานวรรณกรรมเด็กชื่อก้องโลก อย่าง Harry Potter ที่เคยยากจน ต้องดิ้นรนเพื่อปากท้องตัวเองและลูกๆ ในช่วงที่เขียน Harry Potter เล่มแรก

เรียกได้ว่า Rowling สามารถเอาจดหมายที่โดนปฏิเสธจากบรรณาธิการสำนักพิมพ์ต่าง ๆ มาแปะทำเป็นผนังบ้านได้อีกด้านเลยทีเดียว แต่เธอก็ไม่ละความพยายาม 


Harry Potter ถูกปฏิเสธจาก 12 สำนักพิมพ์ เพราะบรรณาธิการจากสำนักพิมพ์เหล่านี้เป็นผู้ใหญ่ที่มีตรรกะเหมือนผู้ใหญ่ทั่วไป โชคเข้าข้างเมื่อ Nigel Newton ซีอีโอของสำนักพิมพ์ Bloomsbury ในอังกฤษ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่ 13 ตัดสินใจโยนต้นฉบับให้ Alice ลูกสาววัย 8 ขวบของเขาอ่าน ปรากฏว่า นิยาย Harry Potter ถูกใจตรรกะแบบเด็ก ๆ มาก และได้รับการตีพิมพ์ในที่สุด … แต่ช่วงที่ผลงานของเธอถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่า Rowling รับมืออย่างไร

“ฉันไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว และความคิดแบบนั้น ทำให้ฉันตัดสินใจเดินหน้า ลองไปเรื่อยๆ” Rowling กล่าว

“ความล้มเหลว” ทำให้ลิ้มรส “แห่งชัยชนะ” ได้อย่างดื่มด่ำ

(ที่มา :  Jean Case, เหตุใด ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ต้องแลกมาด้วยความล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน) 

‘ความล้มเหลว’ วิชาภาคบังคับยุค 4.0


ท่ามกลางกระแสสังคมที่คนล้วนอวดความสำเร็จซ่อนความล้มเหลว มีนักจิตวิทยาท่านหนึ่งในสวีเดนชื่อ ดร.ซามูเอล เวสต์ ได้สวนทางโดยสิ้นเชิงด้วยการสร้าง ‘พิพิธภัณฑ์แห่งความล้มเหลว’ (Museum of failed innovation) ที่รวบรวมความล้มเหลวของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกกว่า 70 ประเภท ไม่ว่าจะเป็น ลาซานญ่าแช่แข็งจาก Colgate ซอสมะเขือเทศสีเขียวจาก Heinz เกมมหาเศรษฐีเวอร์ชั่นนาย Donald Trump แผ่น DVD ของ Blockbuster อุปกรณ์ลูกครึ่งระหว่างเครื่องเล่นเกมกับโทรศัพท์มือถือของ Nokia

ทำไมเขาถึงได้เอา ‘ตราบาป’ ที่คนอยากลืมเหล่านี้มาวางโชว์?

Mobirise

เขามองว่าการเฟล (Fail) ไม่ใช่ตราบาป แต่เป็นหลักฐานของการคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การที่กล้าจะทดลองสิ่งใหม่ๆ นอกกรอบ เป็นสิ่งเตือนใจถึงความเสี่ยงในการทำธุรกิจ และมีบทเรียนต่างๆ ว่าทำไมสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นถึงได้ล้มเหลว ดร.ซามูเอล บอกว่า พิพิธภัณฑ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาจากความเหนื่อยหน่ายที่อ่านเจอแต่เรื่องความสำเร็จของคน ทำให้ตั้งคำถามขึ้นมาว่าคนเราสามารถเรียนรู้อะไรต่างๆ จากความล้มเหลวได้มากมายกว่าความสำเร็จเสียอีก แต่ทำไมกลับไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจเรื่องพวกนี้

แนวคิดของ ดร.ซามูเอล ที่พยายามลบตราบาปจากความล้มเหลว และลดการยึดติดกับ ‘ภาพความสำเร็จ’ นั้นน่าสนใจมากสำหรับยุค 4.0 ที่อนาคตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และคาดเดาได้ยาก ทั้งยุทธศาสตร์องค์กร โมเดลธุรกิจ นโยบายชาติ การแก้ปัญหาในทุกระดับยุคนี้มักไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่ต้องผ่านการ ‘ทดลอง’ สิ่งใหม่ เก็บข้อมูล ประเมินผล เรียนรู้ และพัฒนา เพื่อก้าวไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ทันโลก

หากแต่การทดลองย่อมมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว มีสิ่งที่ทำถูกและผิดพลาด การมีทัศนคติที่สามารถลดความกลัวต่อความล้มเหลวได้จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคน องค์กร และประเทศ


การกลัวต่อความล้มเหลว อาจทำให้คนไม่กล้าทดลองไอเดียใหม่ๆ และไม่กล้าเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง 
 คนยิ่งมีการศึกษาสูง ยิ่งมีประสบการณ์ ยิ่งมีโอกาสติดกับดักนี้ เพราะยิ่งยึดติดกับภาพความสำเร็จของตนที่สะสมมา โดยไม่กล้าออกนอกกรอบที่ตนเองคุ้นเคย (comfort zone)

อันตรายอีกประการหนึ่งคือ การที่คนและองค์กรซ่อนความล้มเหลว ทำให้เสียโอกาสการเรียนรู้ที่สำคัญ เพราะหลายครั้ง การเรียนรู้ ‘สูตรล้มเหลว’ ที่ควรหลีกเลี่ยงอาจมีความสำคัญไม่แพ้การเรียนรู้ ‘สูตรสำเร็จ’ ดั่งคำสอนไทยแต่เดิมว่า ‘ผิดเป็นครู’
 


คนอาจปกปิดความล้มเหลวของตนเองเพื่อเก็บภาพความสำเร็จต่อไป ดูตัวอย่างกรณีสะเทือนโลกเกิดขึ้นในวงการสตาร์ทอัพ ในกรณีของ อลิซาเบธ โฮล์มส์ (Elizabeth Holmes) ผู้ก่อตั้งบริษัท ‘Theranos’


สิบกว่าปีที่แล้ว น้อยคนจะไม่รู้จักอลิซาเบธในฐานะเจ้าแม่สตาร์ตอัพชื่อก้องโลก ที่ประกาศว่าสามารถสร้างเทคโนโลยีที่ตรวจเลือดได้ ไม่ต้องใช้เข็มเจาะแบบปกติ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายถูกลง เธอถูกขนานนามให้เป็น ‘สตีฟ จ็อบส์’ แห่งวงการแพทย์ ที่ Time ยกให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ประจำปี 2015 และ Forbes ยกตำแหน่งมหาเศรษฐีอายุน้อยที่สุดในอเมริกาให้ขณะอายุ 31 ปี โดยมีสินทรัพย์กว่า 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

Mobirise

ในวันนี้เธอยัง ‘ดัง’ อยู่ แต่ดังในฐานะ ‘ผู้หลอกลวงโลก’ ระดับประวัติศาสตร์ ที่กำลังถูกดำเนินคดีในสหรัฐ Wall Street Journal เอามาเขียนเป็นหนังสือ ‘Bad Blood’ และฮอลลีวู้ดกำลังเอามาทำเป็นหนัง

เหตุเพราะมีการค้นพบว่าอลิซาเบธและสามี ได้มีการปลอมแปลงผลการตรวจเลือด หลอกลวงนักลงทุนและแม้แต่รัฐบาลซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อตนรู้ว่าเทคโนโลยีการเจาะเลือดที Theranos สร้างขึ้นนั้นไม่สามารถตรวจเลือดได้อย่างแม่นยำตามที่สัญญากับโลกไว้

ที่น่าเศร้ามากคือหนังสือ Bad Blood ได้เล่าว่า ช่วงหลังเธอได้แต่ใช้เงินทุนมหาศาลและเวลาไปกับการปกปิด ‘ความล้มเหลว’ และสร้างภาพให้ตัวเองเป็นฮีโร่ แทนที่จะลงทุนวิจัยหาทางแก้ปัญหาเทคโนโลยีของตน ซึ่งแม้ไม่สามารถทำเท่าที่อ้างได้ ก็อาจช่วยสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมได้

(ที่มา :  สันติธาร เสถียรไทย, ‘ความล้มเหลว’ วิชาภาคบังคับยุค 4.0)

Mobirise


Klao Show
.
บาดแผลและความเจ็บปวด เป็นเรื่อง 'ปกติ' ของความสำเร็จ
.
พี่ต้อง กวีวุฒิ เจ้าของเพจและ Podcast 8 บรรทัดครึ่ง
กับมุมมองความสำเร็จที่ไม่เน้นโลกสวย แต่เน้นความจริง แบบจุกๆ
.
.
#เกลานิสัยอันตราย
#เกลาไปพร้อมกัน

Mobirise

#อย่าหาว่าน้าสอน
เรียนรู้เป็นพันครั้ง เพื่อความหวังครั้งที่พันหนึ่ง


"อย่ากลัวที่จะล้มเหลว"..."อย่ากลัวที่จะผิดหวัง"

อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดพันครั้งของเรา มาทำลายความสำเร็จในครั้งที่พันหนึ่ง...

อย่าลืมแชร์ไปให้กำลังใจใครก็ตามที่กำลังรู้สึกล้มเหลวในชีวิตนะ ^^

ชมแบบเต็มๆ ได้ที่ https://youtu.be/Y_q-aq530Qk

mobirise.com best creator