การทำงานเป็นทีม


Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik

การพัฒนามนุษย์นั้น นอกจากการพัฒนาตัวบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถทั้งในด้านวิชาชีพ และวิชาชีวิต ดังกล่าวแล้ว ในการทำงานที่ต้องมีการประสาน ร่วมมือกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งทักษะนี้ หากได้รับการฝึกหัดพัฒนาได้ดี จะทำให้คนที่มาร่วมกันทำงาน สามารถใช้ศักยภาพของแต่ละคนส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดผลงานที่ดี มีประสิทธิภาพสูงกว่า สิ่งที่เกิดจากการทำแบบต่างคนต่างทำเป็นอย่างมาก แต่ในทางตรงข้าม หากบุคคลที่มาทำงานร่วมกันขาดการพัฒนาฝึกฝนทักษะในการทำงานร่วมกัน ก็จะเกิดผลในทางตรงกันข้าม และสุดท้าย หลายคนจึงเกิดข้อสรุปว่า “แยกกันทำดีกว่า”


การทำงานร่วมกันเป็นทีม

หัวใจของทีม คือ การมีเป้าหมายร่วมกันทำให้กลายเป็นพลังในการทำงานแบบร่วมมือกัน ไม่ใช่การทำงานแบบต่างคนต่างทำเพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น ผลงานของทีมจึงให้คุณค่ามากกว่าผลรวมของงานที่ทุกคนแล้วนำมาบวกรวมกัน เพราะความร่วมมือร่วมใจกันจึงทำงานด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


 ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีม 

 พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีม เช่น

การไม่ยอมรับกัน อาจเกิดจากการถือตัว ยึดมั่นความคิด ของตน หรือพวกตน จนเกิดเงื่อนไขที่ทำให้โอกาสที่จะทำงานร่วมกันได้ยาก เป็นสาเหตุของการแบ่งพรรคแบ่งพวก ดูถูกดูแคลน เหยียดหยาม และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงได้

การมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน หรือมีทัศนะที่แตกต่างกัน ทั้งจากปัจจัยเรื่อง อายุ เพศ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ อันอาจนำไปสู่มุมมอง เป้าหมาย และการให้ความสำคัญที่ไม่ตรงกัน แต่ถ้ามีโอกาสเปิดใจรับฟังและเรียนรู้กัน ก็อาจจะเปลี่ยน ความเห็นต่าง ให้กลายเป็นความคิดต่างมุมที่มีความหลากหลายอันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ก็เป็นได้

การไม่ชอบพอกัน จากสาเหตุที่เป็นส่วนตนหรือการทำงาน อาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การทะเลาะวิวาท กลั่นแกล้ง ไม่พูดจากัน ทำให้ขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีและการปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกัน 

การนิ่งดูดาย ปล่อยให้คนอื่นทำงาน โดยคิดว่า “งานที่ตนรับผิดชอบเสร็จแล้ว” หรือหนักกว่านั้น คือคิดว่า “งานของเราก็ไม่ต้องทำ เดี๋ยวก็มีคนอื่นทำแทน” สุดท้ายตนเองก็ขาดโอกาสที่จะได้ฝึกหัดพัฒนา และยังส่งผลเสียต่อส่วนรวมด้วย  

การขัดผลประโยชน์ หรือได้รับผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน เช่น แย่งชิงผลประโยชน์ที่มีจำกัดไม่สามารถจัดให้ทั่วถึงได้อาจทำให้ไม่ไว้วางใจกัน และอาจลุกลามถึงขั้้นที่มีการทุจริตหรือกลั่นแกล้งกัน ทั้งเพื่อให้ตนได้ประโยชน์ หรือเพื่อเพียงทำลายผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม (ถ้าฉันไม่ได้ เธอก็ต้องไม่ได้...)

การแข่งขันกันในการทำงาน ถ้ามีการแข่งขันกันทำให้ไม่อยากทำงานร่วมกับคนอื่น อยากทำงานให้ดีเฉพาะตน มุ่งผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่าเพื่อนร่วมทีม เกิดการชิงดีชิงเด่นไม่ร่วมมือกันทำงาน นับว่าผิดหลักการทำงานเป็นทีม 


 การทำงานเป็นทีมจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของแต่ละคนในทีม การบริหารงานเป็นทีมจำเป็นต้องรูปแบบการบริหารในลักษณะแนวนอน เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร การให้คุณค่าในภาวะผู้นำของทีมงานตามความสามารถของสมาชิกด้วยการมอบพลังอำนาจในงาน สร้างแรงยึดเกาะในหมู่สมาชิกให้เกิดความรักใคร่ปองดองกันและการเอื้ออาทรช่วยเหลือกันเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จของงาน ดังนั้นจุดประสงค์ของการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการการทำงานเป็นทีมจึงต้องพิจารณาภาวะผู้นำของสมาชิกในทีมนอกเหนือไปจากภาวะผู้นำทีมด้วยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพจากทีมงาน

Mobirise

ภาวะผู้นำ

ผู้นำที่ดี คือ
บุคคลที่ประสานช่วยให้คนทั้งหลายรวมกัน
ให้พากันไปด้วยดี   สู่จุดหมายที่ดีงาม
โดยถูกต้องตามธรรม

ผู้นํา คือบุคคลที่ประสานช่วยให้คนทั้งหลายรวมกัน โดยที่จะเป็นการ อยู่รวมกันก็ตาม หรือทําการร่วมกันก็ตาม ให้พากันไปด้วยดี สู่จุดหมายที่ดีงาม

ที่ว่าพากันไปด้วยดีนั้น หมายความว่า ไปโดยสวัสดี พ้นภัยอันตรายและเป็นสุข เป็นต้น แล้วก็บรรลุถึงจุดหมายที่ดีงาม “โดยถูกต้องตามธรรม” 

ข้อหลังบางทีเราอาจจะมองข้าม เราอาจจะนึกแต่เพียงว่าให้ บรรลุจุดหมายที่เราต้องการก็แล้วกัน แต่ถ้าจุดหมายนั้นไม่ดีงาม และไม่เป็นไปโดยถูกต้องตามธรรม ก็จะไม่ใช่ประโยชน์สุขที่แท้จริง ซึ่งมั่นคงยั่งยืน 
Mobirise

โดยนัยนี้ ภาวะผู้นํา ก็คือคุณสมบัติ เช่น สติปัญญา ความดี งาม ความรู้ความสามารถของบุคคล ที่ชักนําให้คนทั้งหลายมาประสานกัน และพากันไปสู่จุดหมายที่ดีงาม ดังที่กล่าวข้างต้นนั้น 

  •  การประสานนั้นรวมถึง การประสานคนกับคน และประสานคนกับสิ่งที่จะทํา แต่เริ่มต้นการประสานตัวผู้นําเองกับคนที่ร่วมไปด้วยเป็นสิ่งที่สําคัญมาก เรียกว่าเป็นแกนทีเดียว ถ้าไม่มีคุณสมบัตินี้แล้วก็จะไม่สามารถประสานอย่างอื่นได้ ทีนี้การประสานตัวของผู้นํากับผู้ที่จะร่วมไปด้วยนี้จะทําอย่างไร ก็เริ่มต้นด้วยการที่ตนเองจะต้องมีคุณความดี ความรู้ ความสามารถเป็นต้น อย่างเพียงพอ จนเรียกได้ว่าเป็นแบบอย่าง ซึ่งทําให้เขาเกิดศรัทธา คือ ความมั่นใจในตัวผู้นํา ที่เชื่อว่าท่านผู้นี้จะสามารถแก้ปัญหา นําพา พวกเราไปได้ให้ถึงจุดหมาย ซึ่งทําให้พอใจ เต็มใจ และอยากจะ ร่วมไปด้วย

    ถ้ามีความมั่นใจนี้ คือเกิดศรัทธาขึ้นมาแล้ว ศรัทธานั้นก็จะ เป็นเครื่องนําเอาผู้ที่จะร่วมไปด้วยเข้ามาประสานกับตัวผู้นํา คือ เขาพร้อมที่จะยอมรับฟัง หมายความว่า ศรัทธาเกิดขึ้นก็ทําให้เขายกบุคคลนั้นเป็นผู้นํา คือผู้นําไม่ต้องไปแสดงตัวกับเขาว่าเป็นผู้นํา แต่จะเป็นผู้นําโดยเขาอยากให้มานําเขาไป 
  • ข้อต่อไป นอกจากว่าเขาจะศรัทธามีความมั่นใจในตัวผู้นํา แล้ว ผู้นําก็จะทําให้เขาเกิดความมั่นใจในตัวเขาเอง ว่าเขามีศักยภาพ มีทุนแห่งความสามารถที่จะเอามาปรับมาจัดเอามาพัฒนา ให้สามารถทํากิจการงานนี้ให้สําเร็จ คือสามารถร่วมไปด้วยกันได้ (แต่ต้องระวังอย่าให้กลายเป็นมั่นใจแบบลําพองตัวว่าเก่งดี สมบูรณ์แล้ว)
  • นอกจากนั้นก็คือ ช่วยให้เขาประสานกันเอง คือชักนําให้เกิดความสามัคคี พร้อมเพรียงกัน ร่วมมือร่วมใจกัน ข้อนี้เป็นเรื่องใหญ่มากทีเดียว คือการที่ว่าทําอย่างไรจะให้คนที่อยู่ร่วมกันในองค์กรหนึ่งๆ มีความสามัคคีกลมเกลียว มีความพร้อมเพรียง มีใจหนึ่งใจเดียวกัน รวมจิตรวมความคิดรวมใจมุ่งสู่จุดหมายอันเดียว นี้เป็นหลักใหญ่ที่จะต้องใช้ธรรมมากมาย
  • ประการต่อไปก็คือ ประสานคนกับสิ่งที่จะทํา หรือประสานคนกับงาน คือนอกจากให้เขามีความมั่นใจในตนเองแล้ว ก็ให้เขามี ความมั่นใจในงานหรือในสิ่งที่ทําด้วยว่า สิ่งนี้ดีแน่ งานนี้จะทําให้เกิดประโยชน์สุขอย่างที่มุ่งหมายอย่างแท้จริง ให้เขาเกิดความมั่นใจในคุณค่าและประโยชน์ของสิ่งที่จะทําหรืองานนั้น จนเขาอยากจะทําและเกิดความรักงาน เมื่อเขาเกิดความรักงานแล้วก็จะตั้งใจทํางาน

    ความจริง เมื่อรักงานแล้ว ก็ทําให้พร้อมที่จะมีกําลังใจ แต่บางทีถ้าไม่หนุนขึ้นไปก็อาจจะชักเหยาะแหยะลงได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จะต้องให้มีพร้อม ทั้งรักงาน ตั้งใจทำงาน และมีกำลังใจเข้มแข็งที่จะสู้งาน ไม่ย้อท้อ ไม่ท้อถอย ไม่ท้อแท
  • อีกประการหนึ่ง ในการทํางาน ตลอดจนในการเป็นอยู่ทั่วๆ ไป ผู้นํานั้นมุ่งหวังประโยชน์สุขแก่คนที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือคน ที่ร่วมไปด้วยกันกับตน เพราะฉะนั้น ผู้นําจึงต้องพยายามให้คนที่มาร่วมงานหรือร่วมอยู่ ได้พัฒนาตัวของเขาอยู่เสมอ 

    ข้อนี้ก็สําคัญมาก คือ ไม่ใช่เพียงให้เขามาสละกําลังร่วม ทํางาน แต่จะต้องหาวิธีการส่งเสริมสนับสนุนเอื้อโอกาสให้เขาพัฒนาตัวเองให้มีความเจริญงอกงามขึ้น เช่นว่า เก่งขึ้น ดีขึ้น ทํางานได้ผลดียิ่งขึ้น มีความสุขมากขึ้น มีชีวิตที่ดีงาม บรรลุประโยชน์สุขที่แท้จริงมากยิ่งข้ึน การพัฒนาตนเองของคนก็จะมีผลต่องานด้วย โดยมาช่วย ให้เขาทํางานได้ผลดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ที่แท้ไม่ใช่แค่นั้น จะ ต้องไปให้ถึงประโยชน์สุขแห่งชีวิตของเขา คือให้ชีวิตของเขาก็ได้ด้วย ทั้งได้ความดีงาม ได้ความเจริญ ได้ความสุข และได้พัฒนา ยิ่งๆ ขึ้นไป ฉะนั้น การเป็นผู้นําจึงหมายถึงการมีสายตาที่มองท้ังที่งาน และมองทั้งที่คนควบคู่กัน

    (ที่มา  :  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, ภาวะผู้นำ)

ผู้นำ-ผู้ตาม ประสานสัมพันธ์ในดุลยภาพแห่งธรรม

พรหมวิหารเป็นธรรมสําหรับทุกคนที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เป็นท่าทีของจิตใจที่จะทําให้แสดงออก หรือปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างถูกต้อง โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ของคนที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง 4 กรณี คือ

Mobirise
  1. เมตตา เป็นคุณธรรมพื้นใจประการแรกที่ต้องมี ซึ่งใช้ใน ยามปกติ คือเมื่อคนอื่นเขาอยู่กันเป็นปกติ เราก็มีเมตตาปรารถนา ดี คิดหาทางสร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่เขาเรื่อยไป 
  2. กรุณา ต่างไปจากเมตตา คือเมตตาใช้ในยามปกติ แต่เมื่อ เขาตกตํ่าลงไปกลายเป็นเดือดร้อนเป็นทุกข์ เราก็มีกรุณา ใฝ่ใจ ช่วยบําบัดทุกข์ให้ 
  3.  มุทิตา หมายความว่า เมื่อเขาเปลี่ยนไปในทางขึ้นสูง ได้ดีมีสุข ทําสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ประสบความสําเร็จ เราก็ร่วมยินดีด้วย ช่วยส่งเสริมสนับสนุน 
  4.  อุเบกขา (ไม่ได้แปลว่า ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือวางเฉยแบบปล่อยปละละเลย) คือรักษาความเป็นกลาง ไม่ลําเอียง ไม่เข้าข้าง หยุดการขวนขวายในการที่จะปฏิบัติตาม 3 ข้อแรก เพื่อยึดถือธรรมเป็นใหญ่ รักษาหลักการกฎเกณฑ์กติกา หรือรักษาความถูกต้องไว้  

    อุเบกขานี้เป็นตัวรักษาดุล เป็นตัวจํากัดหรือคุมการปฏิบัติ ตามข้อเมตตา-กรุณา-มุทิตา ไม่ให้เกินขอบเขตไป จนกลายเป็นเสียธรรม คือการช่วยคน จะต้องไม่ให้เสียความเป็นธรรม ไม่ให้เป็นการทําลายหลักการ ไม่ให้เป็นการละเมิดต่อกฎเกณฑ์กติกาที่ชอบธรรม

    ถ้าเอาคนอย่างเดียวก็จะเอียงสุดไปข้างหนึ่ง และจะเกิด ปัญหาหรือเกิดความเสียหาย เช่น เมตตา กรุณา มุทิตา จนไม่มี ขอบเขต แม้จะเป็นที่รัก แต่ก็เสียหลักการ และทําให้เสีย ความเป็นธรรม

    แต่ถ้าเอาหลักอย่างเดียว แม้จะน่าเคารพ ก็แห้งแล้ง บางที ไม่มีใครกล้าเข้าหน้าเลย อย่างนี้ก็ลําบาก เสียผลเหมือนกัน 

ข้างใน มีใจเที่ยงตรงต่อธรรม ข้างนอก มีความเป็นธรรมเสมอกันต่อทุกคน 

 พรหมวิหารเป็นหลักธรรมชุดประจําในใจ ถ้าจะให้สมบูรณ์และได้ผล ต้องออกสูภาคปฏิบัติของพรหมวิหาร ซึ่งเรียกว่า สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่

  1. ทาน คือการให้แก่กัน ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา

  2. ปิยวาจา พูดดี สุภาพอ่อนโยน พูดด้วยน้ําใจรัก หรือพูดจามีน้ําใจ 

  3. อัตถจริยา ออกแรงกําลัง ความสามารถต่างๆ เพื่อบําเพ็ญประโยชน์ เกื้อกูล ช่วยเหลือสังคม ให้เกิดความดีงาม
  4. สมานัตตตา ความเสมอภาค คือ มีตนเสมอเท่าเทียมกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุข สามัคคี ข้อนี้เป็นที่รวมของพรหมวิหาร คือไม่ใช่เสมอภาคกันเฉยๆ ยังช่วยเหลือดูแลกันด้วยทาน ปยวาจา อัตถจริยา ครบทุกด้าน ทุกสถานการณ์ แต่ เน้นการแสดงออกของอุเบกขา ที่มุ่งความเป็นธรรม ความถูกต้อง เป็นความเสมอภาคเชิงสมาน ที่ตนจะเข้าไปกระทำการช่วยเหลือ ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ใช่ความเสมอภาคในแง่การเรียกร้องว่าเมื่อเธอมีเท่าไหร่ ฉันก็ต้องมีสิทธิ์ที่จะได้เท่ากันกับเธอ ซึ่งความเสมอถาคแบบเรียกร้องนี้ ทําให้ใจโน้มไปในทางแก่งแย่ง แบ่งแยก ที่คอย เพ่งโทษกัน

    เป็นอันว่า ต้องมีทั้ง ๔ ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว ก็มาออกสู่การปฏิบัติ หรือปฏิบัติการ ด้วย ทาน การให้วัตถุสิ่งของ เงิน ทองเป็นต้น แล้วก็ ปยวาจา ช่วยด้วยถ้อยคําที่มีน้ําใจ ให้คําแนะนํา ให้ กําลังใจ พูดส่งเสริม อัตถจริยา ช่วยเหลือบําเพ็ญประโยชน์ด้วยเรี่ยว แรงกําลังร่างกาย กําลังสติปัญญา กําลังความรู้ กําลังความสามารถ ปฏิบัติจัดการให้สําเร็จ แล้วก็ สมานัตตตา ความมีตนเสมอสมาน โดย มีความเสมอภาคที่ตั้งธรรมเป็นมาตรฐาน ให้โยงยันอยู่กับธรรม คือ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ประสานสอดคล้องกับด้านจิตใจ ซึ่งลงตัวกับธรรม ที่อุเบกขา อันเกิดขึ้นมาจากปัญญาที่เข้าถึงธรรม แล้วอุเบกขานั้นก็ออกมาสู่ปฏิบัติการในสังคม เป็นสมานัตตตา 

    (ที่มา :  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, ผู้พิพากษา ตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล)

ผู้นํา รู้ทั้ง 7 ด้าน ซึ่งทําให้พร้อมที่จะจัดการ 

Mobirise
  1. รู้หลักการ เมื่อดํารงตําแหน่ง มีฐานะ หรือจะทําอะไรก็ตาม ต้องรู้หลักการ รู้งาน รู้หน้าที่ รู้กฎเกณฑ์กติกาที่เกี่ยวข้อง เช่น อย่างผู้ปกครองประเทศชาติก็ต้องรู้หลักรัฐศาสตร์ และรู้กฎกติกา ของรัฐ คือกฎหมาย ตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงมา แล้วก็ยืนอยู่ในหลัก การ ตั้งตนอยู่ในหลักการให้ได้ ชุมชน สังคม องค์กร หรือกิจการ อะไรก็ตาม ก็ต้องมีหลักการ มีกฎ มีกติกา ที่ผู้นําจะต้องรู้ต้องชัด แล้วก็ตั้งมั่นอยู่ในหลักการนั้น 
  2. รู้จุดหมาย ผู้นําถ้าไม่รู้จุดหมาย ก็ไม่รู้ว่าจะนําคน และกิจการไปไหน นอกจากรู้จุดหมาย มีความชัดเจนในจุดหมายแล้ว จะต้องมีความแน่วแน่มุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายด้วย ข้อนี้เป็น คุณสมบัติที่สําคัญมาก เมื่อใจมุ่งจุดหมาย แม้มีอะไรมากระทบกระทั่ง ก็จะไม่หวั่นไหว อะไรไม่เกี่ยวข้อง ไม่เข้าเป้า ไม่เข้าแนวทาง ก็ไม่มัววุ่นวาย ใครจะพูดจาว่าด่าเหน็บแนม ก็ไม่เก็บเป็นอารมณ์ ไม่ยุ่งกับ เรื่องจุกจิกไม่เป็นเรื่อง เอาแต่เรื่องที่เข้าแนว ทางสู่จุดหมาย ใจมุ่งสู่เป้าหมาย อย่างชัดเจนและมุ่งมั่นแน่วแน่ 
  3. รู้จักตน คือ ต้องรู้ว่าตนเองคือใครมีภาวะเป็นอะไร อยู่ ในสถานะใด มีคุณสมบัติ มีความพร้อม มีความถนัด สติปัญญา ความสามารถอย่างไร มีกําลังแค่ไหน มีข้อยิ่งข้อหย่อน จุดอ่อนจุด แข็งอย่างไร ซึ่งจะต้องสํารวจตนเอง และเตือนตนเองอยู่เสมอ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงตัวเอง ให้มีคุณสมบัติมีความ สามารถยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่ว่าเป็นผู้นําแล้วจะเป็นคนสมบูรณ์ไม่ต้อง พัฒนาตนเอง ยิ่งเป็นผู้นําก็ยิ่งต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา ให้นํา ได้ดียิ่งขึ้นไป 
  4. รู้ประมาณ คือ รู้จักความพอดี หมายความว่าต้องรู้จัก ขอบเขตขีดขั้นความพอเหมาะที่จะจัดทําในเรื่องต่างๆ ท่านยกตัว อย่าง เช่น ผู้ปกครองบ้านเมืองรู้จักประมาณในการลงทัณฑ อาชญาและการเก็บภาษีเป็นต้น ไม่ใช่เอาแต่จะให้ได้อย่างใจ และ ต้องรู้จักว่าในการกระทํานั้นๆ หรือในเรื่องราวนั้นๆ มีองค์ประกอบ หรือมีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง ทําแค่ไหนองค์ประกอบของมันจะ พอดี ได้สัดส่วน พอเหมาะ การทําการต่างๆ ทุกอย่างต้องพอดี ถ้าไม่พอดีก็พลาด ความพอดีจึงจะทําให้เกิดความสําเร็จที่แท้จริง ฉะนั้น จะต้องรู้องค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และจัดให้ลงตัว พอเหมาะพอดี 
  5. รู้กาล คือรู้จักเวลาเช่นรู้ลําดับระยะจังหวะปริมาณ ความเหมาะของเวลาว่า เรื่องนี้จะลงมือตอนไหน เวลาไหนจะทํา อะไรอย่างไรจึงจะเหมาะ ดังจะเห็นว่าแม้แต่การพูดจาก็ต้องรู้จัก กาลเวลา ตลอดจนรู้จักวางแผนงานในการใช้เวลา ซึ่งเป็นเรื่อง ใหญ่ เช่นวางแผนว่า สังคมมีแนวโน้มจะเป็นอย่างนี้ในเวลาข้าง หน้าเท่านั้น และเหตุการณ์ทํานองนี้จะเกิดขึ้น เราจะวางแผนรับ มือกับสถานการณ์นั้นอย่างไร 
  6. รู้ชุมชน คือรู้สังคมตั้งแต่ในขอบเขตที่กว้างขวางคือรู้สังคมโลก รู้สังคมของประเทศชาติ ว่าอยู่ในสถานการณ์อย่างไร มี ปัญหาอะไรมีความต้องการอย่างไร โดยเฉพาะถ้าจะช่วยเหลือเขา ก็ต้องรู้ปัญหารู้ความต้องการของเขา แม้แต่ชุมชนย่อยๆ ถ้าเราจะ ช่วยเหลือเขา เราก็ต้องรู้ความต้องการของเขาเพื่อสนองความ ต้องการได้ถูกต้อง หรือแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด 
  7. รู้บุคคล คือ รู้จักบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนที่มา ร่วมงานร่วมการร่วมไปด้วยกันและคนที่เราไปให้บริการ ตามความ แตกต่างเฉพาะตัว เพื่อปฏิบัติต่อเขาได้ถูกต้องเหมาะสมและได้ผล ตลอดจนสามารถทําบริการให้ความช่วยเหลือได้ตรงตามความ ต้องการ รู้ว่าจะใช้วิธีสัมพันธ์พูดจาแนะนําติชมหรือจะให้เขายอม รับได้อย่างไร โดยเฉพาะในการใช้คน ซึ่งต้องรู้ว่าคนไหนเป็นอย่างไร มีความถนัดอัธยาศัย ความสามารถอย่างไร เพื่อใช้คนให้เหมาะกับงาน นอกจากนั้นก็รู้ประโยชน์ที่เขาพึงได้ เพราะว่าในการทํางาน นั้นไม่ใช่ว่าจะเอาเขามาเป็นเพียงเครื่องมือทํางานให้ แต่จะต้องให้ คนที่ทํางานทุกคนได้ประโยชน์ ได้พัฒนาตัวเอง ผู้นําควรรู้ว่าเขา ควรจะได้ประโยชน์อะไรเพื่อความเจริญงอกงามแห่งชีวิตที่แท้จริงของเขาด้วย

    คุณสมบัติ 7 ข้อนี้ คือหลักธรรมที่เรียกว่า สัปปุริสธรรม ซึ่งทำให้บุคคลพร้อมที่จะเป็นผู้นําได้ เพราะรู้องค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอที่จะจัดการให้ได้ผล จัดวางวิธีปฏิบัติการที่เหมาะให้บรรลุ ความสําเร็จได้

    (ที่มา : สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, ภาวะผู้นำ)

การจัดการช่องว่างระหว่างวัยเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หลักธรรมที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น พรหมวิหาร, สังคหวัตถุ, สัปปุริสธรรม มิได้จำกัดเฉพาะผู้นำเท่านั้น หากแต่สมาชิกในทีมทั้งหมดก็ควรนำมาปฏิบัติร่วมกันด้วย และนอกจากนั้น ภายในทีมงานหนึ่งๆ อาจมีบุคคลากรหลายช่วงอายุ (Generation) ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะแนวคิด มุมมอง และความต้องการที่แตกต่างกันของคนแต่ละรุ่น (Generation gap) ดังนั้นเพื่อให้การทำงานร่วมกันกับผู้ร่วมงานที่มีช่วงอายุต่างกันเป็นไปด้วยดีบนฐานของการเข้าใจและยอมรับซึ่ีงกันและกัน ผู้ร่วมงานควรมีความรู้เกี่ยวกับเบื้องหลัง (Background) ของคนในแต่ละยุค ซึ่งสามารถแบ่งช่วงอายุในแต่ละยุคออกได้เป็น 4 ยุค คือ 

Baby Boom เป็นกลุ่มคนที่เกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2489-2504 เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและฟื้นฟูประเทศหลังเหตุการณ์สงครามโลกยุติ จะเป็นกลุ่มที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ มีกติกา มีวินัย มีความทุ่มเทและความอดทน ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะต้องทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว มีความทุ่มเทกับการทำงานให้กับองค์การมาก คนกลุ่มนี้มักจะไม่เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากมีความจงรักภักดีต่อองค์การอย่างมาก คนกลุ่มนี้จึงเป็นพวกที่ทำงานหนัก ทุ่มเทการทำงานด้วยจิตวิญญาณ (Monozukuri) หามรุ่งหามค่า เมื่อใดก็ตาม ที่คนกลุ่มนี้เคลื่อนตัวไปที่ไหน ก็จะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่นั้นๆ

Generation X เป็นกลุ่มลูกหลานจากกลุ่ม Baby Boom ประมาณ พ.ศ. 2505-2520 เป็นกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลการทำงานถ่ายทอดมาจากกลุ่ม Baby Boom ซึ่งได้วางรากฐานไว้แล้วเพื่อการต่อยอด แต่คนกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มคนที่ทำงานโดยมีความใฝ่ฝันที่อยากจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง มีความทะเยอทะยานสูง มีความตั้งใจ ทุ่มเท และทำงานอย่างจริงจัง เป็นกลุ่มคนที่ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการ แต่จะให้ความสำคัญ ในเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work-life Balance) มีแนวคิดการทำงานแบบ “รู้ทุกอย่างทำทุกอย่าง” ได้เพียงลำพัง ไม่ต้องพึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง ความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้กาลังจะก้าวไปสู่ผู้บริหารระดับสูง

Generation Y เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2521-2536 คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกกินบุญเก่าที่ได้รับจากกลุ่มคนในยุค Baby Boom และ Generation X ที่ได้ปูพื้นฐานและสร้างทางไว้ให้แล้ว คนกลุ่มนี้จึงมีความต้องการอยากได้ที่ทำงานสบายๆ มีความเป็นส่วนตัวสูง มีความสมดุลในชีวิต เป็นยุคอาหารชีวจิตบริโภค เรียกได้ว่า เป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี มี -ลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบและไม่ชอบเงื่อนไขที่ผูกพันธ์มากนัก โดยทั่วไปคนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่า สิ่งที่ทามีผลต่อตน เองและองค์การอย่างไร อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และยังสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่า มีไฟแรงพร้อมที่จะลุยงานได้ทุกเรื่อง

Generation Z เป็นกลุ่มคนที่เกิดช่วง 2537-2552 จะเป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถหลากหลาย มีทักษะความสามารถหลายด้าน คนกลุ่มนี้จึงชอบการทำงานแบบอิสระ (Freelance) เป็นกลุ่มคนทำงานหน้าใหม่ไฟแรง แต่ยังอ่อนต่อประสบการณ์ สนุกกับการทำงานเป็นทีม ไม่ชอบอยู่ในกรอบ บางคนอาจยังเรียนไม่จบเสียด้วยซ้าหรือบางคนมีแผนที่จะเรียนต่อ แต่ไม่ชอบเงื่อนไขการทำงานที่มีการผูกมัดตัวเอง เนื่องจากมีความรู้สึกที่ว่าองค์การจะเอารัดเอาเปรียบตน คนกลุ่มนี้จึงชอบการแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง 

สำหรับกลุ่มคนที่เกิดช่วง 2553 เป็นต้นไป จะเป็นกลุ่มที่อยู่ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง อนาคตจึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน

Mobirise

การแก้ไขช่องว่างระว่างวัย 

 การแก้ไขช่องว่างระหว่างวัย ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างในพื้นฐาน (Background) ของแต่ละกลุ่มบุคคล และต้องยอมรับว่าคนเราถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน พิจารณาคนที่มีความเชื่อหรือมีทัศนคติต่อชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนไม่ดีเสมอไป ทุกคนย่อมมีจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่เป็นโอกาส และจุดที่เป็นอุปสรรค ไม่มากก็น้อย จึงต้องให้โอกาสคนๆ นั้นแสดงผลงาน แทนที่จะต่อต้านไม่ยอมรับทุกกรณี ดังนั้น จึงต้องพิจารณาหาจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่เป็นโอกาส และจุดที่เป็นอุปสรรค ของแต่ละคนในแต่ละกลุ่มให้พบ จากนั้นต้องใช้ทักษะในการบริหารความแตกต่าง และเปลี่ยนวิธีในการสื่อสารให้เข้าถึงคนแต่ละกลุ่มที่เราต้องร่วมทำงานด้วย ก็จะทาให้การดาเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น เข้าใจกัน และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข

ในสังคมไทย การมีสัมมาคาราวะเป็นสิ่งที่สาคัญในวัฒนธรรมไทย การให้เกียรติและให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทา เมื่อเราให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะให้เกียรติเรา หากบังเอิญเรามีตาแหน่งสูงกว่าผู้สูงวัยกว่าเรา ก็จงแสดงความชื่นชมต่อผู้สูงวัย ในฐานะที่มีวัยวุฒิสูงกว่าหรือในด้านการเป็นเสาหลักขององค์การ และจงรับฟัง เมื่อกลุ่มผู้สูงวัยถ่ายทอดประสบการณ์ถึงในอดีตของการต่อสู้ ความพากเพียรในการทำงานจนผ่านพ้นความยากลาบากมาได้ เพราะสิ่งนั้นคือ สิ่งที่คนรุ่นหลังไม่มีและไม่รู้จัก อย่าได้มีมุมมองอย่างเด็ดขาดว่า กลุ่มผู้สูงอายุ คือ หมาล่าเนื้อที่ไม่มีที่ไป แต่การที่พวกเขาทำงานอยู่จนถึงวัยเกษียณหรือเลยวัยเกษียณได้นั้น เป็นเพราะกลุ่มผู้สูงวัยเชื่อในคุณค่าของความมั่นคง และถือความซื่อสัตย์เป็นที่สุด เพื่อให้การร่วมงานเกิดอุปสรรคช่องว่างระหว่างวัยให้น้อยที่สุด สามารถสรุปแนวทางในการทำงานร่วมกับคนในยุคต่างๆ ได้ดังนี้

 เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนกลุ่ม Baby Boom จงแสดงความนับถือ รับฟัง และเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนกลุ่มนี้ แล้ว พยายามปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าตัวเราจะเก่งกาจหรือจะประสบความสาเร็จเพียงใด เราก็ยังต้องเรียนรู้อยู่เสมอ อย่าได้ทำตัวเป็นน้ำที่เต็มแก้ว รินเท่าไรก็ล้นออกมาหมด อย่าแสดงออกว่าการทำงานหนัก คือ การถูกเอาเปรียบ เพราะคนกลุ่ม Baby Boom จะให้ความสาคัญต่อหลักการทำงาน เห็นคุณค่าต่อการทำงานอย่างทุ่มเท และยึดถือวัฒนธรรมองค์การ หากต้องทำงานในองค์การใหญ่ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งบริหารงานโดยคนกลุ่มนี้ ควรพยายามเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมองค์การเสียก่อนว่า มีความเป็นมาอย่างไร มีการเจริญเติบโตอย่างไร ก่อนที่จะเสนอความคิดริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ

เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนกลุ่ม Generation-X จะต้องพูดให้กระชับชัดเจนและไม่อ้อมค้อม เพราะคนกลุ่มนี้จะชอบความตรงไปตรงมา หากเราสามารถสื่อสารได้ใจความและตรงเป้าหมาย เราสามารถใช้ E-mail กับคนกลุ่มนี้ได้ แต่หากเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ ควรพูดต่อหน้า เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ชอบการถูกบงการ เพียงให้นโยบายกว้างๆ เปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้แก้ปัญหาเองจะดีที่สุด สาหรับผู้บริหารกลุ่ม Baby Boom ควรลดความคาดหวังต่อคนกลุ่ม Generation–X ในการทำงานหนักโดยไม่มีวันหยุดหรือก้าวไปอย่างช้าๆ อย่างรุ่นตนเอง เพราะคนกลุ่มนี้ต้องการชีวิตที่สมดุลและไม่ชอบการอยู่ติดที่

เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนกลุ่ม Generation-Y ปัจจุบัน เนื่องจากคนกลุ่มนี้กำลังเป็นวัยทำงาน ดังนั้น กุญแจสำคัญ ในการทำงานร่วมกับคนกลุ่ม Generation–Y คือการให้ความรัก ให้กาลังใจ และให้รางวัล ซึ่งในบริบทขององค์การก็คือ จะต้องมีกลุ่มคนที่คอยให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลการทำงานของคนกลุ่มนี้ การจัดให้มีพี่เลี้ยง และมอบหมายงานที่ท้าทายไม่น่าเบื่อ ซึ่งความจงรักภักดีของ กลุ่มคนนี้จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บริหารที่อยู่เหนือโดยตรง ซึ่งจะต้องทำให้คนกลุ่มนี้มีความรู้สึกว่า ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้บริหาร โดยอาจจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น การจัดทำนามบัตรให้ การให้โอกาสได้แสดงความคิดเห็นในการเข้าร่วมประชุมในระดับบริหาร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้คนกลุ่มนี้ มีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่าจะเป็นการผูกใจให้อยู่ร่วมกับองค์การนานๆ สิ่งที่ผู้บริหารควรคำนึงในการร่วมงานกับคนกลุ่มนี้คือ การยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ทำงาน สามารถทำงานทางอินเทอร์เนต หรือทำงานอยู่ที่บ้านได้ โดยผลงานยังคงยอดเยี่ยมเหมือนเดิมการจัดอบรมให้พนักงานอย่างสม่ำเสมอ จากผู้มีประสบการณ์อย่างแท้จริงเพื่อเพิ่มเติมความรู้ และทักษะใหม่ๆต้องมีความชัดเจนในการจัดการจากผู้บริหารระดับสูงหรือผู้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาได้จริงและรวดเร็ว ต้องให้ความชัดเจนในขอบเขตหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบดำเนินการในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะให้ผลงานออกมาตามที่องค์การต้องการ โดยพร้อมที่จะให้หัวหน้าตรวจสอบได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูง ไม่ควรปล่อยให้คนกลุ่ม Generation–Y ที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง หลุดออกจากองค์การไป ควรหาช่องทางหรือโอกาสใหม่ๆ ในการทำงาน เพื่อดึงดูดคนกลุ่มนี้ไว้ จะเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่องค์การ ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่พนักงานในองค์การอีกด้วย

เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนกลุ่ม Generation-Z ซึ่งมาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทันสมัย การเข้าร่วมทำงานกับคนกลุ่มนี้ต้องลองท้าทายคนกลุ่มนี้ด้วยภารกิจใหม่ๆ คนกลุ่มนี้จะชอบการเป็นคนสำคัญ การเพิ่มความรับผิดชอบเป็นเสมือนการให้คำชม ควรเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง ยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งในทีม ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความคิดเห็นของคนกลุ่มนี้ ก็จะได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน คนกลุ่มนี้จึงชอบให้ผู้บริหารหรือหัวหน้าแสดงออกต่อสิ่งที่ตนเองกำลังทำ เพราะความรู้สึกและความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานมีผลต่อคนกลุ่มนี้มาก

(ที่มา :  กนกพันธรน์ โลกุตรวงศ์, การจัดการช่องว่างระหว่างวัยเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ, วารสารปัญญาภิวัฒน์)

Built with Mobirise