ธรรมะเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน



Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik

ธรรมที่อำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน

1. อุฏฐานสัมปทา - ขยันหมั่นเพียรในการทำหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพสุจริต ใช้ปัญญา จัดการให้ได้ผลดี
2. อารักขสัมปทา - รู้จักคุ้มครอง เก็บรักษาทรัพย์อันตนได้ทำไว้โดยชอบธรรม
3. กัลยาณมิตตตา - คบคนดีเป็นมิตร เลือกเสวนา สำเหนียก ศึกษาเยี่ยงอย่างผู้ทรงคุณ
4. สมชีวิตา - รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตให้พอดี ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้


หลักการจัดสรรทรัพย์

1. ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์
2. ใช้ลงทุนประกอบการงาน
3. เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น


ความสุขอันชอบธรรมของผู้ครองเรือน ที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้สม่ำเสมอ

1. สุขจากการมีทรัพย์
    คือความภูมิใจว่าตนมีทรัพย์ที่ได้มาด้วยนำ้พักน้ำแรง ความขยันหมั่นเพียรของตน โดยชอบธรรม
2. สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
     คือความภูมิใจว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงดูคนที่ควรบำรุง ทำประโยชน์
3. สุขจากความไม่เป็นหนี้
    คือความภูมิใจว่าตนเป็นอิสระ ไม่เป็นหนี้สินติดค้างใคร
4. สุขจากความประพฤติไม่มีโทษ
    คือความภูมิใจว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้

ตัวอย่างหลักธรรมข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตการครองเรือนนั้น จะมีความมั่นคง เป็นสุขไม่เดือดร้อน เป็นประโยชน์ได้ ต้องเริ่มตั้งแต่การขยันทำการงานด้วยปัญญาให้เกิดผลดี (อุฏฐานสัมปทา) เมื่อได้ทรัพย์มาแล้ว ต้องรู้จักเก็บรักษา ออมไว้ใช้ในคราวจำเป็นภายหน้า (อารักข-สัมปทา, หลักการแบ่งทรัพย์ข้อ 3) และการใช้จ่ายทรัพย์ก็ต้องรู้จักใช้ให้พอเหมาะ สมเหตุสมผล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่สร้างหนี้สิน รู้จักคบคนดี ประพฤติสุจริต (กัลยาณมิตตตา, สมชีวิตา, หลักการแบ่งทรัพย์ ข้อ 1, สุขของคฤหัสถ์ ข้อ 2 - 4) รวมทั้งรู้จักใช้ทรัพย์เพื่อลงทุนให้เกิดผลตอบแทนในอนาคต (หลักการแบ่งทรัพย์ ข้อ 2)


ความมั่นคงทางการเงิน จึงไม่ได้อยู่ที่การหาให้ได้มากเพียงอย่างเดียว แต่สำคัญที่การใช้จ่ายด้วย หากความต้องการมีมากมายไม่สิ้นสุด หาได้เท่าไหร่ก็ไม่ “พอ” ถ้าใช้จ่ายเพื่อคุณค่าแท้ เช่น กินด้วย “ฉันทะ” เพื่อคุณค่าแท้จะ “พอ” เมื่ออิ่มและได้สารอาหารตามความต้องการของร่างกาย แต่ถ้ากินด้วย “ตัณหา” เพื่อคุณค่าเทียม คือความอร่อย ความโก้หรู ยิ่งอร่อยก็ยิ่งกินจนไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ 

หลักสันโดษ จึงมีความสำคัญทั้งในแง่ของการพอใจในการเสพ บริโภคเพื่อคุณค่าแท้ ไม่ลุ่มหลงติดคุณค่าเทียม ทำให้มีทรัพย์เหลือพอในการทำประโยชน์อื่นๆ ได้มากขึ้น นอกจากนั้นหลักสันโดษยังมีความสำคัญในแง่ที่เน้นย้ำว่า ต้องไม่สันโดษในการทำความดี ทำกิจหน้าที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นบุคคลจึงสามารถทำงาน สร้างคุณค่า และได้รับผลตอบแทนเกินกว่ารายจ่ายที่จำเป็นได้ และส่วนต่างนี้เองที่ทำให้เกิดการออม การลงทุน รวมทั้งการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม

Mobirise

สรุปธรรมะ
เพื่อการสร้างความมั่นคงทางการเงิน

- ธรรมที่อำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน

- หลักการจัดสรรทรัพย์

- ความสุขอันชอบธรรมของผู้ครองเรือน ที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้สม่ำเสมอ

Mobirise web page maker - Find out