การวางแผนเชิงกลยุทธ์
(Strategic Planning)


Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik

การจะดำเนินการกิจกรรมใดๆ ก็ตามเปรียบเสมือนการขับรถมุ่งไปที่ใดที่หนึ่ง  ก่อนที่เราจะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เราต้องตอบคำถามต่างๆ ในใจก่อนคือ ณ ปัจจุบันเราอยู่ที่ไหน?, จุดหมายปลายทางเราคือที่ใด?, เราจะใช้เส้นทางใดในการเดินทาง? 
 ในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามจะประสบความสำเร็จได้ก็จะต้องพบกับคำถามสามข้อเช่นเดียวกัน

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Planning) คือกระบวนการหาคำตอบของคำถามเหล่านี้

1. ตำแหน่งหรือสภาวะขององค์กรเราตอนนี้อยู่ตรงไหน?
เป็นคำถามที่ต้องการวิเคราะห์ถึงสภาวการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย คำถามข้อนี้จะช่วยให้วิเคราะห์ถึงความพร้อมก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มการดำเนินการ ซึ่งคำตอบทั้งหมดสามารถหาได้โดยการวิเคราะห์ SWOT (Strength, Weakness, Opportunities, Threats)

2. เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร?
 เป้าหมายของการดำเนินการใดๆ ก็ตามจะต้องมีความชัดเจน ซึ่งสามารถทำได้โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และพันธกิจ (mission) ขององค์กรร่วมกัน

3.  จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย?
 คำตอบของคำถามข้อนี้คือการกำหนดเป้าหมาย (goal), วัตถุประสงค์ (objective), กลยุทธ์ (strategy), ทรัพยากร (resources) และแผนงาน (planning) ให้ชัดเจน


วิสัยทัศน์  (vision)  หมายถึง  ความคาดหวังในอนาคตขององค์การที่ต้องการจะเป็น  เป็นข้อกำหนดทิศทางขององค์การเป็นสถานภาพที่องค์การมุ่งหมาย  มุ่งหวัง  หรือประสงค์  จะเป็นหรือจะมีในอนาคต ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี  ได้แก่  มีขอบเขต  (scope)  การปฏิบัติงานเป็นภาพเชิงบวก(positive image)  จูงใจ  (motivating)  และดึงดูดใจ  (inspiring)  คำนึงถึงความต้องการ  (needs)  ของผู้มารับบริการเป็นสำคัญ  (customer oriented)  ที่ทุกคนในองค์การมุ่งมั่นศรัทธาและสะท้อนถึงความเป็นเลิศขององค์การ  เป็นข้อความในเชิงบวก  สอดคล้องกับค่านิยม  (values)  ขององค์การ  แนวโน้มในอนาคต  (future trend)  ชัดเจน  นำไปปฏิบัติได้  (implement ability)  ทุกคนในองค์การมีส่วนร่วม  (participation)  ในการกำหนด


พันธกิจ (mission)  หมายถึง  การกำหนดขอบเขตของงานหรือบทบาทหน้าที่ขององค์การ  ในลักษณะอาณัติ  (Mandate)  เพื่อให้องค์การบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้  หรือเป็นพันธกิจตามยุทธศาสตร์  แผนชาติ  นโยบายของรัฐบาล  นโยบายของรัฐมนตรี  ฯลฯ
 การกำหนดเป้าหมาย  หรือจุดมุ่งหมาย  หรือวัตถุประสงค์  หรือหลัก  หรือเป้าประสงค์ จากวิสัยทัศน์  ซึ่งมีลักษณะเชิงนามธรรมจะถูกแปลเป็นเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม  ที่แสดงถึงสิ่งที่ต้องการในอนาคต  ต้องพยายามให้เกิดขึ้น  หรือผลลัพธ์/ผลสำเร็จที่องค์การต้องการบรรลุถึง  เป็นข้อความที่เกริ่นอย่างกว้าง ๆ  ถึงผลลัพธ์  (outcome)  ขององค์การ  อันเนื่องมาจากหน้าที่ขององค์การ  ต้องสอดคล้องกับพันธกิจที่กำหนดไว้



ตัวอย่างเป้าหมายที่ดีต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  และพันธกิจขององค์การ 

วิสัยทัศน์ :  เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึงและมีคุณค่า

พันธกิจ  :  ส่งเสริม  สนับสนุนการจัดการศึกษาภาคบังคับ  แก้ปัญหาประชาชนในวัยเรียนอย่างเสมอภาคและทั่วถึง  
 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด  พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย :  ประชากรในวัยการศึกษาภาคบังคับทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค  และมีคุณภาพตามมาตรฐาน



วัฒนธรรมองค์กร หรือ ค่านิยม (Values) เป็นเครื่องมือการพัฒนาองค์กรรูปแบบหนึ่ง เพราะวัฒนธรรมเป็นกรอบวิธีการ ปฏิบัตินอกเหนือจากกฎระเบียบที่มีอยู่ของคนที่อยู่ในองค์กรนั้นวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อการประพฤติปฏิบัติของคนที่ทำงานอยู่ในองค์กร สะท้อนให้เห็นกระบวนการคิดการตัดสินใจรวมถึงวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร จึงต้องกำหนดวัฒนธรรมขององค์กรที่พึงประสงค์และสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องหล่อหลอมให้พนักงานยึดถือเป็นแนวทางเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องขจัดวัฒนธรรมที่ไม่ดีให้หมดไปจากองค์กรอีกด้วย ปัจจุบันองค์กรชั้นนำหลายแห่งได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าวจึงหันมาสร้างและปลูกฝังวัฒนธรรมหรือค่านิยมร่วมโดยเชื่อว่าหากพนักงานทุกคนประพฤติปฏิบัติตามค่านิยมที่องค์กรกำหนดไว้ จะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรมีระบบการบริหารงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่กำหนดไว้


อ้างอิง :
- Adison Aei, การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning).
- Tassanee kumnurdsing, กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (2).
- Shared Values ค่านิยมร่วม..สู่ความเป็นเลิศ.

การวางแผนกลยุทธ์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาวโดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหารองค์กรการวางแผนกลยุทธ์ควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถนา ไปปฏิบัติได้จริงและประเมินผลได้เพื่อสามารถนา ไปปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้ในอนาคต


ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Planning)

1.  กำหนดเป้าหมายและพันธกิจ เป็นการกำหนดเป้าหมายของการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนของสิ่งที่จะทำ

2.  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบ ซึ่งสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ SWOT

3.  การกำหนดแผนและกลยุทธ์ หลังจากการวิเคราะห์ SWOT เสร็จสิ้นเราจำเป็นจะต้องมีการวางแผน
และกำหนดกลยุทธ์เพื่อกำจัดหรือลดผลกระทบจากปัจจัยทางด้านลบและใช้โอกาสจากปัจจัยทางด้านบวก

4.  นำแผนและกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

5. ควบคุมและประเมินผล ในขั้นนี้จำเป็นจะต้องมีตัวชี้วัด (Indicator) เพื่อเป็นตัวใช้วัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ถ้าพบว่ายังมีข้อบ่งพร่องของกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ สามารถกลับไปที่ขั้นตอนที่ 2 เพื่อวิเคราะห์หาข้อบกพร่องหรือรายละเอียดที่ยังขาดหายไปและนำไปปรับปรุงกลยุทธ์ต่อไป


ตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก (Key Performance Indicator: KPI)
คือ ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จ โดยจะแสดงให้เห็นผลการปฏิบัติงานกับเป้าหมายว่าตรงตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ การประเมินผลงานนั้น นอกจากจะมีประโยชน์ต่อองค์กรในแง่ของการวัดความสามารถของบุคลากรแล้ว ยังสามารถวัดความก้าวหน้าขององค์กรได้อีกด้วย สำหรับผู้ถูกประเมินเองก็สามารถสรุปภาพรวมการทำงานของตัวเอง ว่าดีมากน้อยเพียงใด และนำไปปรับปรุงตัวเองเพิ่มในอนาคตได้อีก

การจะทำ KPI ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั้น สิ่งที่ใช้ในการประเมิน หรือตัวชี้วัดผลการดำเนินงานควรจะกำหนดผลลัพธ์ให้แน่นอน และผู้ประเมินต้องมีความโปร่งใส ไม่ลำเอียง ซึ่งผลงานที่ออกมาจะแสดงถึงภารกิจที่องค์กรจะต้องปฏิบัติบนพื้นฐานของเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม การนำ KPI มาวัดประสิทธิผลขององค์กรควรมีคุณลักษณะในการวัดผลงานของบุคลากรในแต่ระดับงาน และตำแหน่งงานที่เหมาะสมด้วย ซึ่งการประเมินนั้นก็มีวิธีการหลายแบบตามแต่ธุรกิจของบริษัท โดยจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานและแผนกในองค์กรว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งอาจจะมี KPI ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม


อ้างอิง :
- Adison Aei, การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
- รู้จัก KPI และเข้าใจใช้อย่างถูกวิธี

Mobirise site creator - Get more