Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik
“วินัย” เป็นคำใหญ่ ที่มีความหมายกว้างกว่าที่เราใช้กันทั่วไปมาก และมักใช้คู่กับคำว่า “ธรรม” เรียกรวมกันว่า ธรรมวินัย “ธรรม” คือความจริงที่เป็นอยู่ตามธรรมดา ธรรมชาติ เช่น เมื่อมีดทิ่มเข้าไปในเนื้อคน คนๆ นั้นก็เจ็บปวด เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจความจริงของธรรมชาติแล้วจะนำมาใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เป็นประโยชน์แก่หมู่มนุษย์ในสังคม ก็ต้องนำหลักความจริงนั้น (ธรรม) มาจัดตั้ง วางระบบ ที่เรียกว่า วินัย เช่นกำหนดว่า บุคคลไม่ควรทำร้ายกัน หรือห้ามพกพาอาวุธ รวมทั้งกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ทำตามกติกานั้นๆ เป็นต้น ในสังคมมนุษย์จึงมีกฎ ๒ ระดับ ซ้อนกันอยู่ คือกฎธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้ กับกฎที่มนุษย์กำหนดตั้งขึ้น
(สรุปและอธิบายความจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), 2550, วินัย: เรื่องใหญ่กว่าที่คิด, พิมพ์ครั้งที่ 4, พิมพ์สวย.)
อีกตัวอย่างหนึ่งคือการจ้างคนมาขุดหลุม ผลของการขุดโดยธรรมชาติก็คือได้หลุม ส่วนกฎที่มนุษย์ตกลงกันคือ เมื่อได้หลุมตามที่กำหนด ก็จะจ่างค่าจ้าง ๓,๐๐๐ บาท คำถามในทำนองเดียวกัน คือ คนที่รับจ้าขุดหลุม ต้องการผลคือหลุม หรือค่าจ้าง ?
ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า กฎธรรมชาติ กับกฎกติกาของมนุษย์นั้น แยกกันได้ในเรื่องเดียวกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ อิงอาศัยกัน มนุษย์มุ่งหมายผลคือตัวความจริงของธรรมชาติ เช่นได้ความปลอดภัย ได้หลุม แต่ที่เราตั้งกฎ หรือเงื่อนไขขึ้นมา ก็เพื่อให้สังคมได้ประโยชน์สมตามความมุ่งหมายนั้น คนมีปัญญาจึงอยู่ในสังคมโดยเคารพกฎ มิใช่เพราะกลัวการลงโทษ หรือเพราะหวังผลแลกเปลี่ยน หากแต่เคารพกฎ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือนำไปสู่ผลที่ดีงาม
คำถามที่ตามมาคือ กฎ กติกา มารยาท ประเพณี ที่สังคมกำหนดกันไว้นั้น มันนำไปสู่ผลที่ดีงาม จริง............ หรือเปล่า ? ทำไมนักเรียนต้องตัดผมสั้น ? พนักงานต้องแต่งเครื่องแบบ ? รถต้องติดไฟแดง ? รุ่นน้องต้องร้องเพลงเชียร์ ? ............ ฯลฯ
ถ้าผู้กำหนดกติกาสังคมมีเจตนาไม่ดี ไม่มีใจเป็นธรรม เช่น หวังผลประโยชน์ส่วนตัว ก็จะจัดตั้งระบบที่ไม่เป็นธรรม ทำให้สังคมส่วนรวมได้รับความเสียหาย หรือแม้ในบางกรณี ผู้กำหนดกติการสังคมมีเจตนาดี แต่ไม่มีปัญญารู้เข้าใจความจริงรอบด้าน ก็อาจจัดตั้งวางระบบที่ไม่สามารถนำพาสังคมไปสู่เป้าหมายที่ดีอย่างที่ตนมุ่งหวังได้ ฉะนั้น การกำหนดกติกาของมนุษย์ ทั้งในระดับที่เป็นวินัยส่วนบุคคล หรือปทัสถาน (social norms) ของสังคมใดๆ จึงต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ๒ อย่าง คือ
๑. มีปัญญา คือเข้าใจความจริงของธรรมชาติในเรื่องนั้นๆ อย่างถูกต้อง ลึกซึ้ง ครบถ้วน รอบด้าน
๒. มีเจตนาดี คือมีความมุ่งหมายผลลัพธ์ที่ดีงาม เป็นประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม สอดคล้องตามความจริงที่ตนรู้นั้น
ประโยชน์ของวินัย ที่แท้ มิใช่เพื่อบังคับ หรือจำกัดอิสรเสรีภาพของสมาชิกในสังคม หากแต่เป็นการจัดสรร เอื้อโอกาส ให้เกิดการพัฒนาที่ประสานสอดคล้องตามธรรม ยกตัวอย่างที่เห็นชัดคือ กฎจราจร และสัญญาณไฟจราจร ที่หากดูผิวเผิน อาจเห็นเป็นการจำกัดโอกาสที่รถแต่ละคันจะทำความเร็วได้เต็มที่ หรือวิ่งไปได้ไม่หยุดชะงักล่าช้า แต่ถ้ามองอย่างเป็นธรรม จะเห็นความจริงเบื้องหลังว่า เพราะการหยุดของรถอย่างเป็นระบบนั่นเอง ที่ทำให้ระบบจราจรโดยส่วนรวมเป็นไปได้โดยคล่องตัว และปลอดภัย เพราะถ้าไม่มีกฎและสัญญาณไฟ รถแต่ละคันก็อาจจะต่างคนต่างไป จนสุดท้ายกลายเป็นความติดขัด หรือเกิดอุบัติเหตุได้ (แต่ในตัวอย่างนี้ ก็จะเห็นได้ว่า
ถ้าสมาชิกในสังคมมีปัญญาและมีเจตนาดีจริงๆ จนถึงที่สุดแล้ว ทุกคนก็จะมีกติกาของตนเอง ที่จะใส่ใจ ให้ทาง ดูแลกัน โดยไม่ต้องมีกฎก็ได้ แต่ก็ไม่ง่าย)
ความหมายของวินัยที่แท้เป็นความหมายเชิงบวก คือการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและสังคมมีระเบียบ ทำให้ทำอะไรๆ ได้คล่อง สะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ เช่นถ้าห้องทำงานขาดระเบียบ โต๊ะระเกะระกะ เสียงดังอื้ออึง จะทำงาน สื่อสาร หรือหาสิ่งของต่างๆ ก็ทำได้ยาก เสียเวลา และอาจเกิดอันตรายได้ กิจการต่างๆ จึงต้องมีระเบียบ ต้องอาศัยวินัยมาจัดสรรโอกาสทั้งนั้น เช่น เมื่อศัลยแพทย์จะผ่าตัด ต้องจัดระเบียบเครื่องมือที่จะใช้ตามลำดับ มีขั้นตอนการส่ง การรับ การดูแลความสะอาด ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ในสังคมวงกว้างออกไป ถ้าชีวิตคนไม่ปลอดภัย สังคมไม่มีระเบียบ มีโจรขโมย มีการทำร้ายกัน ผู้คนจะเดินทางไปมาก็ไม่สะดวก มีความหวาดระแวง โอกาสในการทำการกิจกรรมการงานที่เป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ก็เป็นไปได้ยาก
ฉะนั้น ความหมายแท้จริงของวินัย ก็คือการจัดสรรโอกาสให้ชีวิตและสังคมดำเนินไปโดยสะดวกคล่องตัว ได้ผลดี มีประสิทธิ-ภาพ และเป็นโอกาสแก่การพัฒนามนุษย์ด้วย เมื่อสังคมสงบเรียบร้อย สมาชิกในสังคมก็สามารถใช้ศักยภาพของตนได้เต็มที่ ไม่ต้องหวาดระแวงกลัวภัย รู้ขอบเขตหน้าที่และสิทธิของตนๆ ที่จะแสดงออกต่อกันได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้สังคมพัฒนาก้าวหน้าได้เต็มที่
เกลา
.
นิสัยที่ต้องให้ความสำคัญสุด ๆ
เพื่อให้ความสำเร็จเข้ามา แต่ไม่ผ่านไป
.
บทสัมภาษณ์พี่กระทิง แม่ทัพแห่ง KBTG
ผู้ได้รับฉายาว่า "ก๊อตฟาเธอร์ของไทยสตาร์ทอัพ"
ผู้ก่อตั้ง Disrupt University โรงเรียนบ่มเพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ
.
#เกลานิสัยอันตราย
#เกลาไปพร้อมกัน
จะเกลาตัวเองได้อย่างไร?
.
1. เราต้องรู้ก่อนว่านิสัยเสียของเราคืออะไร
2. คิดว่า ถ้าเรามีนิสัยแบบนี้ ชีวิตในอนาคตของเราจะพังแบบไหน
3. หาวิธีการพัฒนาตัวเอง ฝึกคิด ฝึกใจ ฝึกลงมือทำ ซ้ำๆ
.
#เกลานิสัยเสีย
#ต้องลงมือทำ
เกลา
.
จริงๆ แล้วความสำเร็จส่วนใหญ่
มันไม่ได้มาจากความฉลาดหรือสมองที่ดีอย่างเดียวหรอก
แต่มันมาจาก.....
------
#เกลา
#เทนิสัยเสีย
Built with Mobirise web builder