ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต 
และการทำงาน 


Background photo was designed by rawpixel.com / Freepik

ความปลอดภัย
เป็นคำสำคัญที่มักได้รับการเอาใจใส่
ในยามที่สายเกินไป อยู่บ่อยครั้ง 

ความปลอดภัย เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งในการใช้ชีวิต และการทำงาน 

ความไม่ปลอดภัย อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในทันที หรืออาจส่งผลเสียในระยะยาว ทั้งในระดับบุคคล และอาจส่งผลไปสู่สังคมในวงกว้าง


ความไม่ปลอดภัย มักเกิดขึ้นได้  6 รูปแบบ คือ

1.  Biological hazards  ได้แก่ อันตรายที่เกิดจาก ไวรัส แบคทีเรีย แมลง สัตว์ พืช ฝุ่น ควัน อาหาร ฯลฯ ที่ส่งผลต่อสุขอนามัย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

2.  Chemical hazards ได้แก่ อันตรายทางกายภาพ หรือความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่เกิดจากวัตถุหรือสารเคมี เช่น การกัดเซาะทำลายพื้นผิว, อาการแพ้ทางผิวหนัง, การระคายเคืองในระบบหายใจ

3.  Physical hazards  คืออันตรายทางกายภาพที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ที่ไม่ต้องสัมผัสจับต้องโดยตรง แต่ส่งผลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความสว่าง ความดังของเสียง การแผ่รังสี

4.  Unsafe working conditions  คืออันตรายทางกายภาพที่เกิดจากการจัดสถานที่ทำงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นการพาดโยงสายไฟ การจัดเก็บอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม  (อาจจัดรวมในข้อ 3 ก็ได้)

5.  Ergonomic hazards  คือผลจากปัจจัยทางกายภาพที่ไม่เหมาะสมกับธรรมชาติของร่างกาย เช่นท่าทางในการนั่งทำงาน  ท่าทางการยกของ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาวะ เช่นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ

6.  Psychosocial hazards  คืออันตรายที่มีต่อสภาพจิตใจ สถานะทางสังคม หรือสุขภาวะองค์รวมของผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ความเครียด, การคุกคามทางเพศ (sexual harassment), ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน (workplace violence) 


ความไม่ปลอดภัย มักเกิดจากปัจจัย 5 ประการ คือ

1. คน ที่กระทำ หรือไม่กระทำ แล้วส่งผลให้เกิดความเสี่ยง ทั้งกรณีที่เกิดจากความไม่รู้ และกรณีที่มีความรู้ แต่ประมาท ขาดความใส่ใจ หรือไม่เห็นความสำคัญ ทั้งในระดับบุคคล และในระดับนโยบายขององค์กร

2. อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินชีวิตและการทำงาน  เช่น เครื่องจักร์ ยานยนต์ ต่างๆ  ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเพราะการชำรุด หรือการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่นการใช้เก้าอี้นั่งทำงานโดยไม่ถูกหลักการยศาสตร์ รวมไปถึงการขาดเครื่องมือที่จำเป็นในการป้องกันภัย เช่น เครื่องป้องกันเสียง เครื่องป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร 

3. วัตถุดิบ หรือชิ้นงาน  เช่นสารเคมี หรือตัวผลิตภัณฑ์ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ใช้ รวมถึงทรัพย์สิน หรือสถานที่ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ, ปุ๋ยเคมี

4. สภาพแวดล้อม  ของพื้นที่ในการทำงานทั้งหมด (workplace) ไม่ว่าจะเป็น พื้น บันได โต๊ะทำงาน แสงสว่าง อุณหภูมิ เสียง การระบายอากาศ ฯลฯ  ที่ส่งผลต่อกระบวนการทำงานทั้งโดยทาตรงและทางอ้อม

5. กระบวนการทำงาน  คือวิธีการปฏิบัติที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องทั้งตัวบุคคล อุปกรณ์ วัตถุดิบ และสภาพแวดล้อม ทั้งหมดเข้าด้วยกัน 

 

อ้างอิง :
- Katie Martinelli, A Guide to the Most Common Workplace Hazards.
- Aditya Yellapantula, 5 factors that cause health and safety hazards.


ประเด็นเรื่อง ความปลอดภัย จึงมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมาก ในที่นี้ เพียงแสดงให้เห็นว่า ความปลอดภัย ก็เป็นผลจากการบริหาร ควบคุมร่างกาย และการจัดสรรสภาพแวดล้อมตามหลัก "วินัย" นั่นเอง เพื่อให้เกิดสภาพเอื้อต่อการสร้างสรรค์ทำประโยชน์ และลดความเสี่ยงในการเกิดภัยอันตรายต่างๆ กล่าวโดยสรุปในภาพรวมว่า การสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา 


1. ด้านปัญญา คือความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ว่าควรปฏิบัติอย่างไร เพราะอะไร สิ่งที่ตนกระทำนั้นจะส่งผลอย่างไรได้บ้าง ความรู้เหล่านี้อาจเกิดจากการศึกษา หรือประสบการณ์ในการทำงานนั้นๆ เช่น การเรียนรู้จากประสบการณ์ของรุ่นพี่ทำให้รู้ว่าท่าทางในการทำงานบางอย่างส่งผลเสียรุนแรงในระยะยาว หรือการที่นักบินฝึกบินในสถานการณ์จำลอง ที่นำมาจากอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แล้วสร้างเป็นคู่มือในการปฏิบัติสำหรับกรณีฉุกเฉินต่างๆ

แต่ปัญญาที่สำคัญยิ่งไปกว่า ความรู้ในขั้นตอนการฏิบัติ ก็คือทัศนคติที่ถูกตรงตามความเป็นจริง รู้ผิดชอบชั่วดี เพราะหากขาดความตระหนักรู้เช่นนี้ ก็จะละเลย ไม่ใส่ใจ แม้ในสิ่งที่ตนก็รู้ดีว่าควรปฏิบัติเช่นไร เหมือนเช่น หมอที่รู้ว่าควรดูแลสุขภาพของตนเช่นไรแต่ก็ไม่นำมาปฏิบัติ, ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์แล้วก่อให้เกิด Drunk Driving Accident เพราะไม่ใส่ใจคุณค่าของชีวิต


2. ด้านจิตใจ คือการมีสติ รู้ตัว ระมัดระวัง ในแต่ละขณะของการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนเป็นประจำ ทั้งในทาง active (คือการควบคุมใจ และกาย ของตนให้กระทำการต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง ไม่พลั้งเผลอ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือทำร้าย ทั้งตนเองและผู้อื่น) และในทาง passive (คือมีสติว่องไว เมื่อมีบุคคลอื่น หรือปัจจัยภายนอก เข้ามากระทบในทางที่จะทำให้เกิดภัยอันตราย ก็จักสามารถแก้ไข รับมือกับสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างดีที่สุด ทำให้รอดพ้นจากภัยอันตรายนั้น หรือบรรเทาให้เบาลงได้อย่างดีที่สุด)  


3. ด้านพฤติกรรม คือการกระทำงานกาย วาจา ที่จะช่วยก่อให้เกิดความปลอดภัย ในชีวิตและการทำงาน เช่นการนั่ง เดิน ยกสิ่งของ วางอุปกรณ์ ด้วยท่าทางที่สอดคล้องกับธรรมชาติของร่างกาย, การแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม, การปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ เช่น เมื่อจะซ่อมระบบไฟฟ้า ต้องตัดกระแสไฟและติดป้ายบอกให้ชัดเจน รวมถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย เช่นโต๊ะทำงานที่สอดคล้องตามหลักการยศาสตร์, การออกแบบระบบดับเพลิงและทางหนีไฟ, การออกแบบห้องตรวจในโรงพยาบาลให้เหมาะสมกับการทำงานของแพทย์ และป้องการการล่วงละเมิดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้


การจัดการสภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างความปลอดภัยทั้งแก่ตนเองและสังคม เช่นระบบการจัดเก็บและจัดการขยะ, การปลูกและดูแลต้นไม้เพื่อช่วยปรับปรุงสภาพอากาศและลดโอกาสในการเกิดโคลนถล่ม ฯลฯ


ตังอย่างองค์ความรู้ ในการสร้างความปลอดภัย

Mobirise

การยศาสตร์ (Ergonomics)

หลักการของการยศาสตร์ คือการจัดงานให้เหมาะสมกับคน โดยการเห็นความสำคัญของคนทำงาน และพยายามที่จะออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์จัดระบบงานให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถและสมรรถนะของแต่ละบุคคล
-------------------------

- คลิกดู เอกสารสรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การยศาสตร์
- คลิกดู คลิปแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การยศาสตร์
- คลิกดู ตัวอย่างการใช้หลักการยศาสตร์ในการทำงาน
- คลิกดู คลิปตัวอย่างการใช้หลักการยศาสตร์ในการออกแบบกระบวนการทำงานในโรงงาน Volkswagen
- คลิกดู คลิปตัวอย่างการใช้หลักการยศาสตร์ในการออกแบบสถานที่ทำงาน

Mobirise

เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ (Ergonomics assessment) 

การประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์จากการทำงาน เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะป้องกันการเกิดโรคและกลุ่มอาการความผิดปกติในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานได้ เครื่องมือในการประเมินมีหลายแบบ ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างของเครื่องมือและการประยุกต์ใช้ เฉพาะแบบ Reba เท่านั้น
-------------------------

- คลิกดู เอกสารสรุปความรู้เบื้องต้น (หน้า 11 - 14)
- คลิกดู แบบประเมิน REBA
- คลิกดู คำอธิบาย การใช้แบบประเมิน REBA
- คลิกดู คลิปอธิบาย การใช้แบบประเมิน REBA

Mobirise

การหยั่งรู้อันตราย  (KYT)

“KYT” คือวิธีการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทํางาน พร้อมทั้งกําหนดมาตรการหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
-------------------------

- คลิกดู เอกสารสรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ KYT
- คลิกดู คลิปแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ KYT
- คลิกดู คลิปตัวอย่าง การใช้เทคนิค Pointing and Calling ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมาตรการในการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัย 

Mobirise

แนวปฏิบัติอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 


1. การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม 1 ในการทํางาน

2. การบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเฉพาะพื้นที่
- ความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความปลอดภัยทางเคมี
- ความปลอดภัยทางรังสี
- การบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
- การประเมินอันตรายในสิ่งแวดล้อมการทํางาน

3. แผนควบคุมเหตุฉุกเฉิน

4. คุณภาพอากาศภายในอาคาร

5. การบริหารจัดการความปลอดภัยทั่วไป
-------------------------

- คลิกดู เอกสาร ของมหาวิทยาลัยมหิดล

The page was created with Mobirise