คำถาม พื้นฐาน
1.1 ขันธ์ คืออะไร
1.2 ไตรลักษณ์คืออะไร / อะไรไม่มีลักษณะทั้งสามนี้
1.3 ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ
เหมือน หรือต่างกัน ? อย่างไร ?
ชีวิตคืออะไร: ขันธ์ อายตนะ
ชีวิตเป็นอย่างไร: ไตรลักษณ์
จำนวนสื่อการเรียนรู้ ด้วยตนเอง
: 5 สื่อ/กิจกรรมระยะเวลา
: 4 ชั่วโมง (ต่อ 1-2 สัปดาห์)ตัวอย่างเนื้อหา
: ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ต่างกันไหม ?
: การเช้าใจไตรลักษณ์ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ?
: การกำหนดรู้ รูป นาม ทำอย่างไร ?
6 หน้า
พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์
36-100 นาที
รูปนาม, ขันธ์ 5, อายตนะ 6
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 2)
"... พระไตรลักษณ์ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลักธรรมชุดนี้เรายังไม่ต้องเข้าถึงชนิดที่เรียกว่าจบหรอก เอาแค่นํามาใช้ให้ถูกต้องในชีวิตประจำวันก่อน ..."
45 นาที
ไตรลักษณ์ : จากความเข้าใจที่ถูกตรง สู่การวางท่าทีและลงมือปฏิบัติที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
พระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)
- วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๑๔ ขันธนิเทศ
- วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๑๕ อายตนธาตุนิเทศ
- วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๑๖ อินทริยสัจจนิเทศ
- คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค
- คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
- คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
ตอนที่ 16
ธรรมะมีความหมายมากมาย แต่รู้ไว้แค่ ๔ ก็พอ
ตอนที่ 17
ถ้าอยู่แค่ความรู้สึกก็เป็นคนพาล ถ้าเอารู้มาประสานได้ ก็อาจเป็นบัณฑิต
ตอนที่ 18
การศึกษาเริ่มที่ตาหู จะดูฟังได้แค่ตัณหา หรือไปถึงปัญญา นี่คือตัวตัดสิน
ตอนที่ 44
ดูขันธ์ ๕ ให้เห็นการทำงานของชีวิต พอได้พื้นความเข้าใจที่จะไปเรียนอริยสัจ
ธรรมบรรยาย ชุดอื่นๆ
- ไตรลักษณ์ ในชีวิตประจำวัน
- สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์
...ควมมเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลาย มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย เมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เลื่อนลอย เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย มันก็มีผลรวมออกมา คือ มีความเป็นไปอย่างแน่นอนตามเหตุปัจจัย...
...เรื่อง “อัตตา-อนัตตา” ที่สนทนากับคณะอาจารย์นี้ เกี่ยวด้วยหลักธรรมที่ถือกันว่ายากและลึกซึ้งมาก จึงอาจให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่านว่าเป็นเรื่องหนักอยู่บ้าง แต่ก็ได้สนทนากันในลักษณะที่พยายามให้เป็นที่เข้าใจได้สำหรับคนทั่วไป จึงหวังว่าจักอำนวยประโยชน์ทั้งแก่ผู้ใฝ่ศึกษาธรรม และผู้สนใจโดยทั่วไป...
(จากคำปรารภ โดยพระราชวรมุนี เมื่อ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๖)
อ่านเพิ่มเติม : บทความเรื่อง เอกลักษณ์กับไตรลักษณ์ จากหนังสือ พุทธศาสนากับสังคมไทย
... "ธรรมกาย" มิใช่เป็นข้อธรรม หรือเป็นองค์ธรรมโดยตัวมันเอง แต่เป็นคำรวมเรียกซ้อนเสริมความหมายและหนุนการปฏิบัติ และก็เป็นอันได้รู้เห็นเข้าใจไปด้วยว่า ตัวตน/อัตตานี้ เป็นแค่โลกโวหาร คือคำเรียกขานตามสมมติของภาษา เพื่อจะสื่อสารกันได้ในสังคมมนุษย์ มิได้มีอะไรอันใดเป็นชิ้นเป็นอันเป็นก้อนดิ่งนิ่งตายตัว ที่จะให้จิตไปติดไปยึดไว้
แต่พึงให้เป็นเรื่องของปัญญา ที่รู้เข้าใจความจริงแห่งปัจจยาการเท่าทันกระแสธารแห่งเหตุปัจจัย แล้วจะได้ดำเนินชีวิตเป็นอยู่ รู้จักปฏิบัติจัดการเรื่องราวสิ่งทั้งหลายให้ตรงให้เต็มให้ทันเหตุปัจจัย จะได้ถึงปัจจยักขัยสิ้นเหตุปัจจัยหลุดโล่งปลอดพ้นปัญหา เป็นความสุขแท้แห่งสันติที่เป็นอิสระแท้จริง ...
1.1 ขันธ์ คืออะไร
1.2 ไตรลักษณ์คืออะไร / อะไรไม่มีลักษณะทั้งสามนี้
1.3 ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ
เหมือน หรือต่างกัน ? อย่างไร ?
2.1 ขันธ์ กับ อุปาทานขันธ์ ต่างกันอย่างไร
2.2 ความเข้าใจไตรลักษณ์
ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร
2.3 นิพพานเป็นบรมสุข หมายถึงการดับทุกข์ใด
3.1 การกำหนดรู้ รูป นาม ทำอย่างไร
3.2 สภาวะขณะที่เป็น สุข-ทุกข์ เป็นอย่างไร
3.3 สภาวะขณะที่เป็น กุศล-อกุศล เป็นอย่างไร
3.4 รูปนาม เกิดดับ จริงหรือไม่
ส่งผล สัมพันธ์กันอย่างไร
3.5 วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่
หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในหลักสูตร "ตามรอย.. พุทธธรรม ออนไลน์"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร
สามารถกดปุ่ม "ส่งแบบฝึกหัด" เพื่อกรอกข้อมูลผ่านระบบ Google form