วิชา ธรรม ๑

คาบที่ ๖  ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : บุพภาคแห่งการศึกษา

ใจความพุทธธรรม บทที่                    
:  11 - 13

จำนวนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง      
:  6  สื่อ/กิจกรรม

ตัวอย่างเนื้อหา              
: อะไรคือปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ?
: มรรคมีองค์ ๘, ไตรสิกชา, ภาวนา ๔ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: ทางสายกลาง คือกลางอย่างไร สัมพัทธ์กับอะไร
 ?


มัชเฌนธรรมเทศนา คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆ ตามความจริงของธรรมชาติ คือตามสภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันเอง ตามเหตุปัจจัย ไม่ติดข้องในทิฏฐิคือทฤษฎีหรือแนวคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษย์วาดให้เข้ากับสัญญาที่ผิดพลาด และความยึดความอยากของตน ที่จะให้โลกและชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ...

มนุษย์เรียนรู้เรื่องมัชเฌนธรรมเทศนามาตามลำดับ จนถึงรู้จักกระบวนการดับทุกข์ในข้อว่าด้วยนิโรธ เป็นอันได้เข้าใจหลักการดับทุกข์ หรือหลักการแก้ไขปัญหาแล้ว แต่ยังต้องการคำแนะนำในทางปฏิบัติต่อไปอีก ว่ามีวิธีการที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามหลักการหรือกระบวนการนั้นได้อย่างไร นี้คือจุดเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการของธรรมชาติ กับวิธีปฏิบัติของมนุษย์...

การปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ มีศัพท์เฉพาะเรียกว่า ปฏิปทา คำว่า “ปฏิปทา” ในที่นี้ มีความหมายจำเพาะ หมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ หนทาง วิธีการ หรือวิธีดำเนินชีวิต ให้บรรลุถึงความดับทุกข์ ...

(พุทธธรรมออนไลน์ หน้า 540 - 541)

สื่อการเรียนรู้

Mobirise

อ่าน หนังสือพุทธธรรมออนไลน์ บทที่ 11 
หรือ ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม ในหัวข้อต่อไปนี้

8 หน้า

- ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา:  มรรค ในฐานะมัชฌิมาปฏิปทา   (อ่านหน้า 552 - 555  หรือ ฟังเสียงอ่าน)
- ระบบของมัชฌิมาปฏิปทา  (อ่านหน้า 571 - 574 หรือ ฟังเสียงอ่านซึ่งมีเนื้อหาใกล้เคียง แต่ไม่ตรงกับพุทธธรรมฉบับล่าสุด)

Mobirise

อ่าน หนังสือเรื่อง "สามไตร" เรื่อง "ไตร ที่ต้องทำ" (หน้า 41 - 47)
หรือฟังธรรมบรรยาย ชุด ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ตอนที่ 31 - 33

7 หน้า

- ไตรสิกขา เริ่มด้วยศีลที่เป็นหลักประกันของสังคม
- ให้ชีวิตเป็นไตรสิกขา คือ ปฏิบัติธรรมตลอดเวลา จะชื่อว่าเป็นชาวพุทธสมจริง

Mobirise

อ่าน หนังสือเรื่อง "บทนำสู่พุทธธรรมฯ" เรื่อง "พัฒนาคน จนกว่าเป็นภาวิต 4" (หน้า 29 - 45)

17 หน้า

-  พัฒนาการทางกาย มิใช่ดูแค่ร่างกายเติบโตมีกำลังแข็งแรง
-  พัฒนาการทางสังคม แสดงออกมาที่ใช้กาย-วาจาในทางเกื้อกูลสร้างสรรค์
-  พัฒนาการทางจิตใจ ดูได้ 3 ด้าน สำคัญที่ใช้พัฒนาปัญญา
-  พัฒนาการทางปัญญา  ปัญญามา ปัญหาหาย ทุกข์มลาย มีสุขในอิสรภาพ

Mobirise

ศึกษาจากการบรรยายเรื่อง "การดำเนินชีวิต ตามหลักทางสายกลาง"  

97 นาที

ช่วงที่ 1   ทางสายกลางที่แท้ เพื่อปลายทางคือการดับเหตุแห่งทุกข์   (31 นาที)
ช่วงที่ 2   ทางสายกลาง ในทุกขณะของชีวิต : "ตั้งแต่เกิดมา  เรากินหมูกันไปแล้วกี่ตัว?"   (27 นาที)
ช่วงที่ 3   ศีล สมาธิ ปัญญา ในทุกขณะของชีวิต   (34 นาที)
ช่วงที่ 4   บทสรุป ภาวนา 4   (5 นาที)
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 6)

Mobirise

อ่าน หนังสือเรื่อง "รุ่งอรุณของการศึกษา"

32 หน้า A5
หรือ
7 หน้าเว็บไซต์

เลือกอ่าน  - ไฟล์ pdf  ที่สแกนจากหนังสือเก่า 32 หน้า
หรือ           - ไฟล์ txt บนหน้าเว็บ 7 หน้า ที่ปรับรูปแบบบรรทัดได้ตามอุปกรณ์ที่ใช้อ่าน

หัวข้อที่สำคัญ
1. รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้ และแบบอย่างที่ดี
2. มีชีวิต และอยู่ร่วมสังคมเป็นระเบียบด้วยวินัย
3. พร้อมแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์
4. มุ่งมั่นพัฒนาตนให้เต็มศักยภาพ
5. ปรับทัศนคติ และค่านิยมให้สมแนวเหตุผล
6. มีสติกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลา
7. แก้ปัญหา และพึ่งพาตนได้ด้วยความรู้คิด

Mobirise

ฝึกเจริญไตรสิกขา ตามอัธยาศัย ในแต่ละขณะของการดำเนินชีวิต

ชวนกันสร้างปัจจัยที่จะนำพาชีวิตสู่ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ (อริยมรรค) และฝึกพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา  หรือ ทาน ศีล ภาวนา ในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่องยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ 


Mobirise

อ่าน/ฟัง หนังสือพุทธธรรม บทที่  11 - 13   (optional)

บทที่ ๑๑ บทนำ ของมัชฌิมาปฏิปทา    (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม)
บทที่ ๑๒ บุพภาคของการศึกษา ๑: ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร    (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม)
บทที่ ๑๓ บุพภาคของการศึกษา ๒: โยนิโสมนสิการ   (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม)

แบบฝึกหัด

1

คำถาม พื้นฐาน

1.1 อะไรคือปัจจัยในการนำเข้าสู่ มรรค

1.2 อะไรคือปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ

1.3 มรรคมีองค์ ๘, ไตรสิกชา, ภาวนา ๔ สัมพันธ์กันอย่างไร
1.4 ไตรสิกขา กับ บุญกิริยาวัตถุ ๓ สัมพันธ์กันอย่างไร

1.5 ศีล สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร

2

คำถาม ประยุกต์

2.1 ทางสายกลาง คือกลางระหว่างอะไร กลางโดยเปรียบเทียบกับอะไร

2.2 สมถะ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร
 การปฏิบัติ ต้องเริ่มต้นอย่างไร อะไรคืออารมณ์ของสมถะ และวิปัสสนา
2.3 เมื่อใดควรเจริญสมถะ เมื่อใดควรเจริญวิปัสสนา

2.4 เหตุใด ผู้ภาวิต ทำพลาดผิด มีโทษน้อย

3

แบบฝึกหัด ชวนสังเกต

3.1 ใครบ้างคือกัลยาณมิตร
3.2 เราเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ให้แก่ใครบ้าง

3.3 กรณีผู้ตอบคำถามเป็นคฤหัสถ์,​ ถามว่า
       "เมื่อโยมไหว้พระ  เราควรตั้งใจอย่างไร
"
       กรณีผู้ตอบคำถามเป็นนักบวช,​ ถามว่า
       "เมื่อโยมไหว้   เราควรตั้งใจอย่างไร
"
3.4 เราจะช่วยกันสร้างวัด/ชุมชน/สังคมรอบตัวของเรา ให้เป็นรมณีย์ และทำตนให้เป็นปสาทนีย์ ได้อย่างไรบ้าง

ส่งแบบฝึกหัด  (optional)

หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในหลักสูตร "ตามพระใหม่ ไปเรียนธรรม"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร
สามารถกรอกข้อความต่อไปนี้ ให้ครบถ้วน แล้วกด "ส่งคำตอบ"

This web page was made with Mobirise