มุมมองต่อสังคม ที่แท้จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และพัฒนา เราถูกสอนกันผิดๆ ให้มองโลกทีละตอน ทีละส่วน ด้วยความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะด้าน โดยไม่ตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์ของมุมมองนั้น และเมื่อเราตัดความจริงออกเป็นชิ้น ๆ เราก็ไม่อาจมองเห็นความเป็นเหตุ เป็นผล ที่เกี่ยวพันกันของสรรพปรากฏการณ์
(อ่านต่อ...)
การพัฒนาที่ยั่งยืน กำลังเป็นคำนิยมไม่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้น แต่เป็นที่นิยมพูดกันทั่วโลก ที่จริงนั้น ไม่ใช่ว่า “ไม่นิยมเฉพาะเมืองไทยแต่นิยมไปทั่วโลก” แต่ควรจะพูดในทางกลับกันว่า “เพราะทั่วโลกเขานิยมพูดกัน เมืองไทยก็เลยนิยมตามไปด้วย”
ที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็เพราะว่าโลกนี้ประสบปัญหากับการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ก็เลยต้องคิดแบบแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นมา
(อ่านต่อ...)
ค่านิยมทางสังคม (Social value) คือความคิดของกลุ่มหรือสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม หรือถูกทำนองคลองธรรม สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด สิ่งใดน่านิยมชมชอบ สิ่งใดน่ารังเกียจ .. ที่เป็นเอกภาพซึ่งคนทั่วไปยึดถือร่วมกัน ส่งผลชี้นำทิศทางความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม หรืออย่างน้อยก็คนส่วนใหญ่ในสังคม ให้มีเจตน์จำนงในการกระทำไปในทางใดทางหนึ่ง ค่านิยมเหล่านี้ อาจเกิดจากความเชื่อทางศาสนา การเมือง หรือปัจจัยอื่นๆ และค่านิยมเหล่านี้ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ค่านิยมบางอย่าง อาจถูกพิสูจน์ว่าผิด หรือปรากฏผลในระยะยาวให้ประจักษ์ในทางเสียหาย หรือถูกทดแทนด้วยค่านิยมอย่างใหม่ที่เชื่อว่าดีกว่า ก็ได้
(อ่านต่อ...)
ทรัพยากรของโลกนั้นไม่ได้มีอยู่อย่างเอนกอนันต์เช่นที่บรรพชนของคนอเมริกันเข้าใจกันแต่ก่อน วิชาการจัดสรรและจัดการทรัพยากรจึงเกิดมีความสำคัญขึ้น เพื่อจัดวางระบบเศรษฐกิจให้แก่มนุษย์ทั้งในระดับบัจเจก (Micro Economics) และระดับสังคม (Macro Economics) แต่กระบวนการจัดการทางเศรษฐกิจนี้ก็ ไม่ควร/ไม่สามารถ ที่จะให้เป็นไปเพียงเป้าหมายเพื่อการสนองความต้องการ ความปรารถนาของบุคคล หรือกลุ่มคน ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด โดยไม่คำนึกถึงผลกระทบเชื่อมโยงกับระบบความสัมพันธ์อื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี รวมทั้งความเป็นมนุษย์
(อ่านต่อ...)
การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น นอกจากจะพัฒนาที่ตัวบุคคล, สัมพันธภาพระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรแล้ว สัมพันธภาพระหว่างคนกับคน หรือการสร้างระบบสังคม ก็จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เอื้อต่อกันทั้งระบบ และสอดคล้องกับความเป็นจริง
ถ้ามองเริ่มจากการจัดระบบสังคมเพื่อการจัดสรรทรัพยากร หรือการเข้าถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต ก็หมายถึงการวางระบบการงานอาชีพให้แก่คนในสังคม ซึ่งในความเป็นจริง คนที่จะเมาสู่ระบบของการทำงานอาชีพนี้ ก็มีความต้องการอยู่ 2 ประเภท นั่นเอง คือ ตัณหา และฉันทะ แต่มีบางอย่างมาก บางอย่างน้อย ไม่เท่ากัน
(อ่านต่อ...)
(1999 ‧ Sci-fi/Action ‧ 2h 30m)
Thomas Anderson, a computer programmer, is led to fight an underground war against powerful computers who have constructed his entire reality with a system called the Matrix.
ภาพยนตร์นำเสนอโลก "เมทริกซ์" ซึ่งเป็นโลกจำลองที่เหล่าเครื่องจักรสร้างขึ้นเพื่อควบคุมมนุษย์ เดอะ เมทริกซ์ยังอ้างถึงแนวคิดทางศาสนาและปรัชญาจำนวนมาก รวมไปถึงวัฒนธรรมแฮกเกอร์ มีกลิ่นอายของโลกตะวันออกโดยเฉพาะญี่ปุ่น
(Movie Trailer) (สรุปเนื้อหา ภาค 1 - 3 - สปอย!!)
(2019 ‧ Sci-fi/Horror ‧ 1h 34m)
The Platfrom ‘คุกแนวตั้ง’ ที่สะท้อนประเด็นความเหลื่อมล้ำ ชนชั้น 3 ระดับ โอกาสที่ไม่เคยเท่าเทียม ระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยอ้างเหตุผลเรื่องความสงบสุข และอีกมากมายที่เกิดขึ้นในโลก The Platform แต่เรารู้สึกใกล้ตัวและสมจริงจนน่ากลัว ... (อ่านบทวิเคราะห์)
(Movie Trailer) (คลิปสรุปเนื้อหา - สปอย!!)
…สำหรับการแก้ปัญหาของพวกเรา เรามีหมวก 2 ใบ หนึ่งคือหมวกพลเมือง เรามีสิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐจริงใจกับการแก้ไขปัญหามากขึ้น เรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยรับฟังเสียงของเกษตรกร เสียงของผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว ในขณะเดียวกัน เราก็มีหมวกผู้บริโภคที่จะต้องตั้งคำถามมากขึ้นว่า อาหารหรือสิ่งต่างๆ ที่ซื้อหาจากซูเปอร์มาร์เก็ตนั้นมีที่มาอย่างไร และสร้างผลกระทบอะไรบ้างก่อนมาถึงมือผู้บริโภคอย่างเรา...
การพัฒนาที่ยั่งยืน จะเกิดขึ้นเมื่อระบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ดำเนินไปด้วยดี โดยที่ทุกส่วนเป็นปัจจัยส่งผลในทางเกื้อกูลกัน ทำให้ดำรงอยู่ดีด้วยกัน ไม่ใช่การมุ่งพัฒนาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง และปล่อยปละละเลย หรือทำลายด้านอื่นๆ ไม่ว่าโดยไม่ตั้งใจ หรือว่าโดยไม่ใส่ใจ ได้แก่
- การพัฒนามนุษย์
- การพัฒนาสังคม
- การพัฒนาธรรมชาติ
- การพัฒนาเทคโนโลยี
... ถ้าจะให้เศรษฐศาสตร์มีคุณค่าอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหามนุษย์ ก็จะต้องให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตก็ดี การทำงานก็ดี การบริโภคก็ดี การแจกจ่ายก็ดี เป็นกิจกรรมในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และพัฒนาศักยภาพเพื่อชีวิตที่ดีงาม เราสามารถทำให้กิจกรรมในทางเศรษฐกิจทุกอย่าง เป็นกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตลอดเวลา และนี่เป็นทางหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐศาสตร์มีคุณค่าที่แท้จริง...
- ประชาธิปไตย กับธรรมาธิปไตย ต้องชัดว่าอันไหนเป็นอะไร
- จะตัดสินใจได้ดี คนต้องมีปัญญา จึงต้องมีการศึกษา
- ตัดสินใจด้วยปัญญา โดยมีเจตนาเป็นธรรม คือ ธรรมาธิปไตย
- เป็นกลาง ไม่ใช่อยู่กึ่งกลาง - ครึ่งๆ กลางๆ - ฉันไม่เกี่ยว
(คลิกฟังเสียงบรรยาย)
(อ่าน รีวิวหนังสือ)
Built with Mobirise web software