จำนวนบทเรียน : 1 บทเรียนต่อเนื่อง
เวลาเฉลี่ยต่อบท : 2 ชั่วโมง
การสื่อภาษาเพื่อเข้าถึงสัจธรรม
-----------------------
...มีคำกล่าวของปราชญ์ที่พูดไว้เป็นคำคมว่า ภาษาเหมือนนิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ มันเป็นเพียงสื่อสำหรับให้เรามองเห็นความจริง สิ่งที่เราต้องการแสดงความจริง ที่เราต้องการให้เห็น คือ ดวงจันทร์ แล้วภาษานี้ก็เป็นสื่อเหมือนนิ้วมือที่ชี้ไป ทีนี้ ถ้าหากเราไปติดในภาษา ก็เหมือนกับเราไปมองดูอยู่แค่นิ้ว แล้วก็ติดอยู่แค่ปลายนิ้วมือที่ชี้ไปดวงจันทร์ แล้วก็ไม่สามารถเห็นดวงจันทร์ได้เห็นแต่นิ้วมือ...
อมฤตพจนา: พุทธศาสนสุภาษิต
-----------------------
พุทธศาสนสุภาษิตในพระไตรปิฎกมีมากมาย แต่ในหนังสือเล่มนี้ ได้พยายามเลือกสรรรวบรวมมาให้ครอบคลุมหลักทั่วไปที่ควรสนใจ และแปลให้เข้าใจได้ง่าย จัดไว้เป็นหมวดๆ ให้ศึกษาค้นคว้าได้สะดวก
พึงเข้าใจว่า พุทธศาสนสุภาษิตทั้งหมดในหนังสือนี้ เป็นเพียงคำสอนส่วนเล็กน้อยจากพระไตรปิฎก ผู้ศึกษาพึงใช้เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการที่จะวิจัยพุทธธรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไป
สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย
-----------------------
การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่นสาระของมัน ก็คือการสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคำของพราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคำพูดของเขานั้น เราหมายถึงพุทธพจน์ คือคำตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก...
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
-----------------------
หมวดธรรมมีอยู่มากมาย แต่เฉพาะที่แสดงในหนังสือนี้ ได้คัดเลือกและรวบรวมไว้เพียงส่วนหนึ่ง โดยถือหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ
1) มุ่งเอาหมวดธรรมที่มาในพระไตรปิฎกโดยตรงเป็นพื้น...
2) มุ่งเอาหมวดที่แสดงหลักธรรมโดยตรง ...
3) คัดเอาเฉพาะหมวดธรรมที่ควรรู้หรือที่ต้องรู้ ...
พระไตรปิฎก: สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
-----------------------
...พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธ-ศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นแหล่งอ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด พระไตรปิฎกใช้เป็นมาตรฐานหรือเกณฑ์ตัดสินว่าคำสอนหรือวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นของพระพุทธ-ศาสนาจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของชาวพุทธทุกคนที่จะรักษาปกป้องพระไตรปิฎก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการอยู่รอดของพระพุทธศาสนา และดังนั้นจึงหมายถึงต่อประโยชน์สุขของชาวโลกด้วย...
รู้จักบ้านของตัว เที่ยวทั่วพระไตรปิฎก
-----------------------
เรารู้กันอยู่ว่า ธรรมวินัยนี้เป็นที่รองรับ เป็นที่เกิดของเรา เราทั้งหมดเกิดจากพระวินัย เราอยู่ในธรรม ธรรมวินัยเรียกว่าเป็นบ้านของเรา หรือเป็นกุฏิที่จำวัดของเรา เมื่อเป็นบ้านของเรา เราก็ต้องรู้จักบ้านของตัว คนอยู่บ้านแล้วไม่รู้จักบ้านของตน คงไม่ดีแน่ อย่างน้อยก็ควรรู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงไหนในบ้าน และรู้ว่าอะไรเป็นอะไร แค่นั้นก็ยังดี ถ้าดีกว่านั้นก็รู้ว่า อ๋อ ของชิ้นนี้ ที่อยู่ตรงนี้ ที่อยู่บนนั้นน่ะ มันคืออะไร มันเป็นอย่างไร สำหรับใช้งานอะไร แต่ยังใช้ไม่เป็น ทีนี้ ถ้าเก่งกว่านั้นก็คือ มีความรู้ มีความชำนาญ รู้ลึกซึ้งละเอียดลออ สามารถเอาของชิ้นนั้นไปใช้งาน ไปทำประโยชน์ ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่นได้ด้วย นี่ก็เหมือนกัน บ้านแห่งพระธรรมวินัยของเรา ว่าโดยที่เก็บรักษาไว้ ก็คือพระไตรปิฎก พระเณรที่บวชมานี้ ที่จริง อย่างน้อยก็ควรต้องรู้จักพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกอยู่นี่: อยู่ที่ชวนกันไม่ประมาทในการศึกษา
-----------------------
เรื่องที่มีท่านผู้ถือตามพระไตรปิฎกแปลภาษาไทยบอกว่า ศีลของพระ ที่เรียกว่าสิกขาบทในพระปาติโมกข์ มี ๑๕๐ ข้อถ้วนๆ ไม่ใช่ ๒๒๗ และท่านอาจารย์ว่า ตรงนั้นแปลผิด ที่ถูกคือ เกิน ๑๕๐ นั้น มีผู้พบว่าในหนังสือ พุทธธรรม ของท่านอาจารย์ ก็บอกว่า "๑๕๐ ถ้วน" นี่ท่านอาจารย์ก็ขัดตัวเองสิ แล้วจะเอาอย่างไร?
รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง
-----------------------
ผู้ที่ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาสั่งสอนพระธรรมวินัย
ควรรู้จักแหล่งอันเป็นที่มาของพระธรรมวินัย ตลอดจน
ของพระพุทธศาสนาทั้งหมด คือ พระไตรปิฎก
ยิ่งทำงานในขั้นที่ถึงพุทธพจน์โดยตรง จะเอาพุทธวจนะ
ต้องรู้จักพระไตรปิฎกจริงๆ ไม่ใช่รู้แค่ว่านี่พระไตรปิฎก
แต่รู้จักอย่างชัดเจนว่า พระไตรปิฎกฉบับไหนคือแค่ไหน
เป็นอย่างไร
Page was created with Mobirise