วิชา ธรรม ๑

คาบที่ ๑๐   
บทสรุป ภาพรวมของ "ชีวิต"

ใจความพุทธธรรม                
:   ภาพรวมมัชเฌนธรรมเทศนา, ภาพรวมมัชฌิมาปฏิปทา

จำนวนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง      
:  3  สื่อ/กิจกรรม

ตัวอย่างเนื้อหา              
: พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อะไร ?
: เราควรใช้ชีวิตอย่างไร เพื่ออะไร ?
: เราจะลงมือทำเมื่อใด ?


มัชเฌนธรรมเทศนา คือ การแสดงความจริงเป็นกลาง พอดี ตามสภาวะของธรรมชาติ ไม่เฉ ไม่เอียง ไม่สุดโต่งเลยเถิดไป เช่น ไม่กลายเป็นอัตถิกวาท (ลัทธิว่าทุกอย่างมีจริง) หรือ นัตถิกวาท (ลัทธิว่าไม่มีอะไรจริงเลย) ไม่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิว่าเที่ยงแท้) หรืออุจเฉทวาท (ลัทธิว่าขาดสูญ) เป็นต้น  ...

มัชฌิมาปฏิปทา คือ การดําเนินชีวิตสายกลางอย่างถูกต้องพอดีสอดคล้องกับความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ ที่จะให้การปฏิบัติจัดดําเนินการต่างๆ ของมนุษย์ เกิดผลดีที่พึงมุ่งหมายได้สูงสุดเต็มสภาวะของธรรมชาติ โดยไม่กลายเป็นสุดโต่งที่พลาดไป ทั้งทางตึงเครียดบีบคั้นตัว และทางย่อหย่อนมุ่งแต่เอามาบําเรอตัว ...

(พุทธธรรมออนไลน์ หน้า 13, 525)

สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

Mobirise

อ่าน หนังสือพุทธธรรมออนไลน์ 

26 หน้า

Mobirise

ศึกษาจากการบรรยายเรื่อง "ภาพรวม พุทธธรรม"  [youtube | soundcloud]

31 นาที

- ทบทวน ภาพรวม หนังสือพุทธธรรม
- รีวิวหนังสือ ภาพรวม พุทธธรรม
- พระพุทธเจ้าสอนให้ รู้อะไร? ทำอะไร?
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 10)

Mobirise

จิตต้องอยู่กับปัจจุบัน  ปัญญาต้องรู้ทั่วถึงอดีต เท่าทันปัจจุบัน หยั่งถึงอนาคต


Mobirise

การเรียนรู้เชิงลึก (optional)

- การบรรยายเรื่อง "สรุปหลักไตรสิกขา" โดย พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ (ครรชิต คุณวโร)
- ธรรมบรรยาย เรื่อง "รู้จักบ้านของตัวเองไว้ พระไตรปิฎก"  (140 นาที)
- หลักสูตรออนไลน์   "ตามรอย...พระไตรปิฎก"   เพื่อทำความรู้จักพระไตรปิฎก เพื่อการค้นคว้า และปฏิบัติ
- หลักสูตรออนไลน์   "ตามรอย...อริยวินัย"   เพื่อนำความเข้าใจพุทธธรรม ไปจัดตั้งวางระบบสังคม

แบบฝึกหัด

1

คำถาม พื้นฐาน

1.1  “พุทธธรรม” คืออะไร

1.2   ขอให้ขยายความคาถาที่พระอัสสชิแสดงแก่สารีบุตรปริพาชก ที่ว่า "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้." (คลิกอ่านพระไตรปิฎก)

1.3 ขอให้ขยายความคาถาที่มาในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ต่อไปนี้
"สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ   จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ                  โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ" 

"นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและ
ปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้" 

1.4  ขอให้อภิปรายความเชื่อมโยงของหลักธรรมทั้งหมดในพุทธศาสนาที่ท่านเคยศึกษามา ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และสอดคล้องกับคาถาของพระอัสสชิหรือไม่


2

คำถาม ประยุกต์

2.1 พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ พิสูจน์ได้อย่างไร

2.2 ถ้าพระพุทธเจ้าอธิบายว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง แล้วคำสอนของพระพุทธเจ้าจะเที่ยงแท้ เป็นจริงเสมอโดยไม่จำกัดกาลได้อย่างไร

2.3 ถ้าพระพุทธเจ้าอธิบายว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง แล้วเหตุใดหลายที่ในพระสูตรเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสอนแนวทางการปฏิบัติแล้วจึงมักลงท้ายว่า "....วุฑฺฒิเยว ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ" (...พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย) ซึ่งเป็นการแสดงผลที่แน่นอน  ขัดกับคำว่าทุกสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอนหรือไม่

2.4 คำสอนของพุทธศาสนา เถรวาท ทำให้คนเห็นแก่ตัว ไม่ช่วยเหลือกัน เป็นการเอาตัวรอดโดยไม่ใส่ใจคนอื่น ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด

3

แบบฝึกหัด ชวนสังเกต

3.1  ท่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับ​ "ชีวิต" และมีแนวทางในการใช้ "ชีวิต" ของท่านต่อไป อย่างไร เพื่ออะไร/ใคร

3.2  ถ้าขณะเวลานี้จะเป็นช่วงเวลาสุดท้ายของ "ชีวิต" ท่านจะใช้เวลานี้ อย่างไร

ส่งแบบฝึกหัด  (optional)

หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในหลักสูตร "ตามพระใหม่ ไปเรียนธรรม"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร
สามารถกรอกข้อความต่อไปนี้ ให้ครบถ้วน แล้วกด "ส่งคำตอบ"

Built with Mobirise website creator