ชีวิต และ ความตาย

บทที่ 2

ชีวิตในพุทธทัศน์ : ชีวิตคืออะไร เป็นอย่างไร

ใจความพุทธธรรม บทที่
:  1 - 3

จำนวนสื่อการเรียนรู้ ด้วยตนเอง
:  5  สื่อ/กิจกรรม

ระยะเวลา
:  5 ชั่วโมง (ต่อ 1-2 สัปดาห์) 

ตัวอย่างเนื้อหา             
: ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ต่างกันไหม ?
: การเช้าใจไตรลักษณ์​ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ?
: การกำหนดรู้ รูป นาม ทำอย่างไร ?


พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมัน ที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาอย่างไรๆ ได้ ....

พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะในด้านจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ และมักแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจ

(พุทธธรรมออนไลน์ หน้า 24)

สื่อการเรียนรู้

Mobirise

พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์

Mobirise

ศึกษาจากการบรรยายเรื่อง   "ชีวิตคืออะไร"   
(แบบละเอียด  100 นาที)   (แบบย่อ  36 นาที)

36-100 นาที

รูปนาม, ขันธ์ 5, อายตนะ 6                                         
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 2)

Mobirise

"... พระไตรลักษณ์ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลักธรรมชุดนี้เรายังไม่ต้องเข้าถึงชนิดที่เรียกว่าจบหรอก เอาแค่นํามาใช้ให้ถูกต้องในชีวิตประจำวันก่อน ..."


Mobirise

ศึกษาจากการบรรยายเรื่อง  "ชีวิต เป็นอย่างไร"   

45 นาที

ไตรลักษณ์  : จากความเข้าใจที่ถูกตรง สู่การวางท่าทีและลงมือปฏิบัติที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน



Mobirise

พระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)


กิจกรรมการเรียนรู้

Mobirise

Online workshop

-  ปุจฉา วิสัชนา

Mobirise

Training program

(ไม่มี)


แบบฝึกหัด

1

คำถาม พื้นฐาน

1.1  ขันธ์ คืออะไร
1.2  ไตรลักษณ์คืออะไร / อะไรไม่มีลักษณะทั้งสามนี้
1.3  ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ
       เหมือน หรือต่างกัน ? อย่างไร ?

2

คำถาม ประยุกต์

2.1  ขันธ์ กับ อุปาทานขันธ์ ต่างกันอย่างไร
2.2  ความเข้าใจไตรลักษณ์​
        ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร
2.3  นิพพานเป็นบรมสุข หมายถึงการดับทุกข์ใดไ

3

แบบฝึกหัด ชวนสังเกต

3.1  การกำหนดรู้ รูป นาม ทำอย่างไร
3.2  สภาวะขณะที่เป็น สุข-ทุกข์ เป็นอย่างไร
3.3  สภาวะขณะที่เป็น กุศล-อกุศล เป็นอย่างไร
3.4  รูปนาม เกิดดับ จริงหรือไม่
        ส่งผล สัมพันธ์กันอย่างไร
3.5  วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่

หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในรายวิชา 306102 "ชีวิตและความตาย ในพระพุทธศาสนา"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร ในเนื้อหาของสัปดาห์ที่กำหนด
สามารถกดปุ่ม "ส่งแบบฝึกหัด"  เพื่อกรอกข้อมูลผ่านระบบ Google form

Build a website - Go here