ชีวิต และ ความตาย

บทที่ 3

ชีวิตในพุทธทัศน์ : อริยสัจ ๔ - ไตรสิกขา

ใจความพุทธธรรม บทที่
:  17

จำนวนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
: 6  สื่อ/กิจกรรม

ระยะเวลา
: 6  ชั่วโมง  (ต่อ 1-2 สัปดาห์)

ตัวอย่างเนื้อหา              
: กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ คืออะไร ?
: ความอยาก เป็นบาป ใช่หรือไม่ ?
: ฉันทะ เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ?


สิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอริยสัจ คือ การรู้ และทำหน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละข้อให้ถูกต้อง ในการแสดงอริยสัจ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจ ก็ดี จะต้องให้อริยสัจแต่ละข้อสัมพันธ์ตรงกันกับหน้าที่หรือกิจต่ออริยสัจข้อนั้น จึงจะชื่อว่าเป็นการแสดงอริยสัจ และเป็นการปฏิบัติธรรมโดยชอบ มิฉะนั้น จะทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งในความเข้าใจ และการประพฤติปฏิบัติ 

(พุทธธรรมออนไลน์ หน้า 889)

สื่อการเรียนรู้

Mobirise

- ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจก็ปฏิบัติไม่ถูก และไม่มีทางบรรลุธรรม
- พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์ แต่ให้เป็นสุข คือทุกข์สําหรับเห็น แต่สุขสําหรับเป็น

Mobirise

ศึกษาจากการบรรยายเรื่อง  "อริยสัจ 4"

30 นาที

อริยสัจ 4  และกิจต่ออริยสัจ   (ช่วงที่  46:53 - 1:15:30)
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย)

Mobirise

อ่าน หนังสือเรื่อง "สามไตร" เรื่อง "ไตร. ที่ต้องทำ" (หน้า 41 - 47)

7 หน้า

- ไตรสิกขา เริ่มด้วยศีลที่เป็นหลักประกันของสังคม
- ให้ชีวิตเป็นไตรสิกขา คือปฏิบัติธรรมตลอดเวลา จะชื่อว่าเป็นชาวพุทธสมจริง

Mobirise

ศึกษาจากการบรรยายเรื่อง "การดำเนินชีวิต ตามหลักทางสายกลาง"  

97 นาที

ช่วงที่ 1  ทางสายกลางที่แท้ เพื่อปลายทางคือการดับเหตุแห่งทุกข์ (31 นาที)
ช่วงที่ 2  ทางสายกลาง ในทุกขณะของชีวิต : "ตั้งแต่เกิดมา เรากินหมูกันไปแล้วกี่ตัว?" (27 นาที)
ช่วงที่ 3  ศีล สมาธิ ปัญญา ในทุกขณะของชีวิต (34 นาที)
ช่วงที่ 4  บทสรุป ภาวนา 4 (5 นาที)
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย)

Mobirise

ฝึกปฏิบัติ เจริญสติ สังเกตรูปนาม พร้อมฟังธรรมบรรยาย

50 นาที

- ธรรมบรรยาย เรื่อง "ทุกข์ และความดับทุกข์"  โดยพระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)  (50 นาที)


Mobirise

ฝึกสังเกต "ทุกข์"  "การจัดการทุกข์" และการเจริญไตรสิกขา ในชีวิตประจำวัน

60+ นาที

กิจกรรมการเรียนรู้

Mobirise

Online workshop

-  ถอดบทเรียน การสังเกต "ทุกข์"  "การจัดการทุกข์" และการเจริญไตรสิกขา ในชีวิตประจำวัน

Mobirise

Training program

(ไม่มี)


Mobirise

การเรียนรู้เชิงลึก (optional)

- ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (บทสวดมนต์แปล พร้อมคลิปเสียง / พระไตรปิฎกไทย / พระไตรปิฎกบาลี)
- วิธีคิดแบบแก้ปัญหา: วิธีคิดแบบอริยสัจ กับ วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ (บันทึกพิเศษท้ายบท  หนังสือพุทธธรรม บทที่ 13)
- หนังสือ "พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์"

แบบฝึกหัด

1

คำถาม พื้นฐาน

1.1  กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ คืออะไร
1.2  ตัณหา และฉันทะ ต่างกันอย่างไร
1.3 เมื่อรู้เหตุของทุกข์แล้ว จะมีวิธีกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร
1.4  มรรคมีองค์ 8, ไตรสิกขา, บุญกิริยาวัตถุ 3, ภาวนา 4 สัมพันธ์กันอย่างไร
1.5  ศีล สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร

2

คำถาม ประยุกต์

2.1  อริยสัจ เป็นธรรมสำหรับแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน
       หรือเป็นธรรมสำหรับการบรรลุนิพพาน
2.2  ความอยาก เป็นบาป ใช่หรือไม่
2.3  ฉันทะ เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร
2.4  ทางสายกลาง คือกลางอย่างไร
2.5  เหตุใด ผู้ภาวิต ทำพลาดผิด มีโทษน้อย
2.6  เมื่อนาย ก รู้ว่าเป็นมะเร็ง จึงเสียใจท้อแท้มาก
ขอให้ท่านวิเคราะห์สถานการณ์นี้ตามหลักอริยสัจ ๔
ว่าอะไรคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ให้กระชับ สมภูมิ ? 

3

แบบฝึกหัด ชวนสังเกต

3.1  การกำหนดรู้ทุกข์ในชีวิตจริง
       มีอุปสรรคอย่างไรบ้าง
3.2  ยกตัวอย่าง "ปัญหา" ในชีวิตจริง ที่สังเกตพบ
        และขณะที่สังเกตเห็นปัญหาเช่นนั้น
         มักมีความรู้สึก สุข หรือทุกข์
3.3  ยกตัวอย่างการจัดการปัญหาในชีวิตจริง
         ตามหลักอริยสัจ  

หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในรายวิชา 306102 "ชีวิตและความตาย ในพระพุทธศาสนา"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร ในเนื้อหาของสัปดาห์ที่กำหนด
สามารถกดปุ่ม "ส่งแบบฝึกหัด"  เพื่อกรอกข้อมูลผ่านระบบ Google form

The website was made with Mobirise