free css templates

ทักษะชีวิต และการทำงาน

บทที่ 3  
ปัญหา - จุดเริ่มแห่งการสร้างสรรค์

ประเด็นการเรียนรู้      
1.  ท่าทีต่อปัญหา สู่การสร้างนวัตกรรม

2.  หลักการจัดการปัญหาตามแนวอริยสัจ 4
3.  เทคนิค วิธีการคิด เพื่อการจัดการปัญหาอย่างสร้างสรรค์
4.  การเปิดโอกาสให้ความผิดพลาด และล้มเหลว สู่ ทักษะการระวังภัย

ทักษะเสริม 
1.  การทำงานโครงการ และการเขียนโครงการ
2.  การใช้โปรแกรมเอกสารอย่างมืออาชีพ

โจทย์ปฏิบัติการ
เสนอแนวคิดสำหรับจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาในองค์กร

ภารกิจ
นักศึกษาฝึกงานแต่ละทีม เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนผลการศึกษาปัญหาในฝ่ายผลิตยาน้ำ และจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีปัญหาหลายด้าน นักศึกษาฝึกงานได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปัญหาด้าน "ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน" โดยให้นักศึกษาฝึกงานทำการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาเพิ่มเติม เพื่อร่วมประชุมวางแผน โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน

กิจกรรมการเรียนรู้

Mobirise

“ปัญหา” เป็นยาวิเศษ เพราะจะเป็นแรงกระตุ้้นให้เกิดการลับสมอง คิดแก้ไขปัญหา เป็นบทเรียนสำคัญที่จะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น อย่าลืมว่า “นวัตกรรม” ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ก็ล้วนเกิดจาก “ปัญหา” เพราะมีปัญหา จึงมีคนคิดหาหนทางแก้ปัญหา
 โชค บูลกุล บอกว่า ถ้าเราลงมือแก้ปัญหา เดี๋ยว “โอกาส” มันก็จะเกิดขึ้นเอง (อ่านต่อ......)


Mobirise

หลักการหรือสาระสําคัญของวิธีคิดแบบอริยสัจก็คือการเริ่มต้นจากปัญหา หรือความทุกข์ที่ประสบ โดยกําหนดรู้ ทําความเข้าใจปัญหาคือความทุกข์นั้นให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ไขในเวลาเดียวกัน กําหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่าคืออะไรจะเป็นไปได้หรือไม่ และเป็นไปได้อย่างไร แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติที่จะกําจัดสาเหตุของปัญหาโดยสอดคล้องกับกระบวนการเหตุปัจจัยที่จะบรรลุจุดหมายที่กําหนดไว้นั้น  (อ่านต่อ....)

Mobirise

ความผิดพลาดหรือล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้เสมอในกระบวนการแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรม แต่เมื่อความล้มเหลวเกิดขึ้น การเรียนรู้จากความล้มเหลวอาจเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ แต่การกลัวความล้มเหลวอาจเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาและการพัฒนา

 Jean Case ซีอีโอแห่ง Case Foundation และประธานบริหารของ National Geographic Society กล่าวไว้ว่า “ความสำเร็จมักจะตามมา หลังจากความล้มเหลวครั้งใหญ่” (อ่านต่อ....)

Mobirise

online workshop

-  Problem solving : ปัญหาชีวิต, ปัญหาในการทำงาน   (90  นาที)
-  Solutions finding  - Design thinking - Innovation     (60  นาที)
-  Proposal   (30 นาที)


Mobirise

Training program

Smart thinking :
-  คิด vs ฝัน
-  คิดเป็น vs หยุดคิดเป็น
-  คิดแก้ปัญหา vs คิดให้ไม่เกิดปัญหา
-  คิดหาสาเหตุ vs คิดหาทางออก

Mobirise

ที่หน่วยผลิตยาน้ำ ของโรงงานยาแห่งหนึ่ง มีทีมงาน ๓ คน  มีปัญหาการจัดส่งผลิตภัณฑ์ล่าช้าทุกเดือน และมีแนวโน้ม
 การล่าช้าสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอด ๖ เดือนที่ผ่านมา หัวหน้าทีมคนเก่า เพิ่งลาออกไป ส่วนทีมงานทั้ง ๓ คน มีปัญหา ไม่อยากทำงาน อยากจะลาออก  หากท่านได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมคนใหม่ ที่จะดูแลหน่วยผลิตยาน้ำ ท่านจะจัดการปัญหานี้อย่างไร  (คลิกดูรายละเอียด......)


แบบฝึกหัด

1

คำถาม พื้นฐาน

1.1  วิธีคิดแก้ปัญหาแบบอริยสัจ กับการคิดแก้ปัญหา (Problem solving thinking) มีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร

1.2  วิธีคิดแก้ปัญหาแบบอริยสัจ กับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร

1.3  กรณีศึกษาเรื่อง นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ แสดงให้เห็นแนวทางในการจัดการปัญหาอย่างไรบ้าง

2

คำถาม ประยุกต์

2.1  มีวิธีใช้ปากกาลากเส้นเชื่อมจุด 16 จุด (คลิกดูรูป) โดยไม่ต้องยกปากกาได้อย่างไรบ้าง

2.2  วิเคราห์สาเหตุของปัญหา
ต่อไปนี้ (คลิกดูโจทย์)

2.3  เสนอแนวทางแก้ไขสาเหตุที่ระบุในข้อ 2 มามากกว่า 1 ทาง

2.4  การที่โคมไฟเปิดไม่ติด 
มีสาเหตุที่เป็นไปได้ อะไรบ้าง

2.5  โคมไฟที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง

3

แบบฝึกหัด ชวนสังเกต

3.1  เวลาเจอปัญหา เช่นคำถามในข้อ 2.1 ท่านมีวิธีในการหาคำตอบอย่างไร  (คิด หรือค้น หรือคอย หรือ...)   วิธีการดังกล่าวนั้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง

3.2  ในช่วงสัปดาห์นี้ มีการได้รับประโยชน์ และเกิดการเรียนรู้ จากความผิดพลาด อย่างไรบ้าง 


ตัวอย่าง แบบทดสอบ

ข้อใดแสดงวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามแนวคิดการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ
         (1) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น พึงกำจัดสภาวะปัญหา (ทุกข์) ให้จบลงโดยเร็วที่สุด
         (2) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น พึงศึกษา เรียนรู้ เพื่อคาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป (What if) แล้วทำการป้องกัน
         (3) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น พึงทำความเข้าใจปัญหา เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง แล้วจัดการสาเหตุ ให้ลด หรือหมดไป
         (4) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น พึงคิดในแง่ดี ด้วยใจเป็นสุข ไม่ปล่อยให้ความทุกข์เข้ามาครอบงำจิตใจ
         (5) มีคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า 1 ข้อ

ส่งแบบฝึกหัด

ผู้เรียนส่งแบบฝึกหัด และตั้งประเด็นที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกันได้
โดยกรอกข้อความต่อไปนี้ ให้ครบถ้วน แล้วกด "ส่งคำตอบ"