คำถาม พื้นฐาน
1.1 “พุทธธรรม” สรุปลงในหลักอริยสัจ อย่างไร
1.2 กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ คืออะไร
1.3 ตัณหา และฉันทะ ต่างกันอย่างไร
1.4 เมื่อรู้เหตุของทุกข์แล้ว จะมีวิธีกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร
อริยสัจ:
สรุป "พุทธธรรม" ลงในอริยสัจ
จำนวนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
: 6 สื่อ/กิจกรรมระยะเวลา
: 5 ชั่วโมง (ต่อ 1-2 สัปดาห์)ตัวอย่างเนื้อหา
: กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ คืออะไร ?
: ความอยาก เป็นบาป ใช่หรือไม่ ?
: ฉันทะ เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ?
- ถึงจะเล่าเรียนจบหลัก ถ้าไม่รู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจก็ปฏิบัติไม่ถูก และไม่มีทางบรรลุธรรม
- พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์ แต่ให้เป็นสุข คือทุกข์สําหรับเห็น แต่สุขสําหรับเป็น
30 นาที
อริยสัจ 4 และกิจต่ออริยสัจ (ช่วงที่ 46:53 - 1:15:30)
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 3)
18 หน้า
"ฉันทะ คือ ความอยากให้สิ่งนั้นๆอยู่ในภาวะที่ดีงามสมบูรณ์ของมัน แล้วก็อยากรู้อยากทำให้มันดีงามสมบูรณ์อย่างนั้น แปลง่ายๆว่า ใจรัก อยากทำ
ตัณหา คือ ความอยากได้อยากเอาสิ่งนั้นๆมาเสริมขยายปรนเปรออัตตาของเรา จึงอยากเสพ อยากอวด อยากโอ่ อยากโก้ อยากบำรุงบำเรอ"
50 นาที
- ธรรมบรรยาย เรื่อง "ทุกข์ และความดับทุกข์" โดยพระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) (50 นาที)
60+ นาที
- ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (บทสวดมนต์แปล พร้อมคลิปเสียง / พระไตรปิฎกไทย / พระไตรปิฎกบาลี)
- วิธีคิดแบบแก้ปัญหา: วิธีคิดแบบอริยสัจ กับ วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ (บันทึกพิเศษท้ายบท หนังสือพุทธธรรม บทที่ 13)
- หนังสือ "พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์"
- การบรรยายชุด "ตามรอย.. พุทธธรรม" เรื่อง อริยสัจ (youtube | podcast)
ตอนที่ 20
อะไรกันคนไทย ยังไม่รู้จักว่าสันโดษอย่างไหนดี อย่างไหนไม่ดี
ตอนที่ 21
อย่าเอาความอยากที่ชั่วร้ายมาปะปน ความอยากที่เป็นกุศลนั้นเราต้องมี
ตอนที่ 42
แม้จะพูดถึงอริยสัจสี่กันสักเท่าไร ก็ไม่มีทางเข้าใจ ถ้าไม่รู้หลักหน้าที่ต่ออริยสัจ
ตอนที่ 43
ก่อนจะเข้าเนื้อ มาดูหนังอริยสัจกันก่อน
...เป็นธรรมดาของธรรมชาติมนุษย์อย่างหนึ่ง สำหรับปุถุชนซึ่งไม่ได้รับการพัฒนาเพียงพอว่า มนุษย์นั้นจะลุกขึ้นดิ้นรนขวนขวายเมื่อมีทุกข์ภัยคุกคาม พอโดนทุกข์บีบคั้นหรือถูกภัยคุกคามก็นิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ นอนไม่ได้ ต้องลุกขึ้นดิ้นรนหาทางแก้ไข ตอนนี้แหละจะเกิดพลัง และคนจะเริ่มเดินหน้าก้าวต่อไปก็ตอนนี้เอง...
...เมื่อประสบโลกธรรมที่เป็นฝ่ายดีงาม ที่น่าปรารถนา คนที่ไม่ได้พัฒนาตัวเอง ไม่รู้ธรรม ก็หลงใหลไปตามสิ่งเหล่านั้น มัวเมา
บางที มัวแต่ลุ่มหลงมัวเมาในการได้ และในความเจริญงอกงามเหล่านั้น สิ่งที่น่าปรารถนาเหล่านั้น สิ่งที่เป็นความเจริญรุ่งเรืองนั้น กลับกลายเป็นโทษต่อตัวเอง เพราะความหลงใหลมัวเมานั้น ทำให้ชีวิตตกต่ำลง หรือกลับใช้ทรัพย์ ยศ อำนาจในการเบียดเบียนข่มขู่ ตลอดจนดูถูกดูแคลนผู้อื่น เป็นต้น...
... คนเราเกิดมามีอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว้รับรู้และรู้สึก สำหรับด้านความรู้สึกจะนำไปสู่การเกิดความอยากประเภทกิเลสตัณหา คืออยากเสพ เช่น เมื่อได้ลิ้มรสอาหาร จะรู้สึกอร่อยหรือไม่อร่อย ถ้าอร่อยก็อยากกินอีก ถ้าไม่อร่อย ก็อยากจะเลิกหรือเลี่ยงหนี ความอยากประเภทนี้ คือตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีความรู้ เรียกว่ามีอวิชชาเป็นตัวเอื้อ อวิชชากับตัณหาไปด้วยกัน
ถ้าการศึกษาเริ่มต้นคือคนเริ่มพัฒนา ก็จะมีการเรียนรู้เช่น ด้วยการตั้งคำถามว่าเรากินเพื่ออะไร เมื่อถามว่าเรากินเพื่ออะไร ก็มีการคิดพิจารณา และปัญญาก็เริ่มมา แล้วก็จะได้คำตอบทางปัญญาว่า กินเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี ไม่ใช่กินเพียงเพื่ออร่อย แล้วความรู้นี้ก็จะทำให้เราปรับพฤติกรรมการกินทันที ...
1.1 “พุทธธรรม” สรุปลงในหลักอริยสัจ อย่างไร
1.2 กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ คืออะไร
1.3 ตัณหา และฉันทะ ต่างกันอย่างไร
1.4 เมื่อรู้เหตุของทุกข์แล้ว จะมีวิธีกำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร
2.1 อริยสัจ เป็นธรรมสำหรับแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน
หรือเป็นธรรมสำหรับการบรรลุนิพพาน
2.2 ความอยาก เป็นบาป ใช่หรือไม่
2.3 สันโดษ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา จริงหรือไม่
2.4 ฉันทะ เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร
3.1 การกำหนดรู้ทุกข์ในชีวิตจริง
มีอุปสรรคอย่างไรบ้าง
3.2 ยกตัวอย่าง "ปัญหา" ในชีวิตจริง ที่สังเกตพบ
และขณะที่สังเกตเห็นปัญหาเช่นนั้น
มักมีความรู้สึก สุข หรือทุกข์
3.3 ยกตัวอย่างการจัดการปัญหาในชีวิตจริง
ตามหลักอริยสัจ
หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในหลักสูตร "ตามรอย.. พุทธธรรม ออนไลน์"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร ในเนื้อหาของสัปดาห์ที่กำหนดไว้
สามารถกดปุ่ม "ส่งแบบฝึกหัด ประจำสัปดาห์" เพื่อกรอกข้อมูลผ่านระบบ Google form
Page was started with Mobirise themes