คำถาม พื้นฐาน
1.1 อะไรคือปัจจัยในการนำเข้าสู่ มรรค
1.2 อะไรคือปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ
1.3 มรรคมีองค์ ๘, ไตรสิกชา, ภาวนา ๔ สัมพันธ์กันอย่างไร
1.4 ไตรสิกขา กับ บุญกิริยาวัตถุ ๓ สัมพันธ์กันอย่างไร
1.5 ศีล สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร
ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร :
บุพภาคแห่งการศึกษา
ใจความพุทธธรรม บทที่
: 11 - 13จำนวนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
: 6 สื่อ/กิจกรรมระยะเวลา
: 4 ชั่วโมง (ต่อ 1-2 สัปดาห์)ตัวอย่างเนื้อหา
: อะไรคือปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ?
: มรรคมีองค์ ๘, ไตรสิกชา, ภาวนา ๔ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: ทางสายกลาง คือกลางอย่างไร สัมพัทธ์กับอะไร ?
8 หน้า
- ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา: มรรค ในฐานะมัชฌิมาปฏิปทา (อ่านหน้า 552 - 555 หรือ ฟังเสียงอ่าน)
- ระบบของมัชฌิมาปฏิปทา (อ่านหน้า 571 - 574 หรือ ฟังเสียงอ่านซึ่งมีเนื้อหาใกล้เคียง แต่ไม่ตรงกับพุทธธรรมฉบับล่าสุด)
7 หน้า
- ไตรสิกขา เริ่มด้วยศีลที่เป็นหลักประกันของสังคม
- ให้ชีวิตเป็นไตรสิกขา คือ ปฏิบัติธรรมตลอดเวลา จะชื่อว่าเป็นชาวพุทธสมจริง
17 หน้า
- พัฒนาการทางกาย มิใช่ดูแค่ร่างกายเติบโตมีกำลังแข็งแรง
- พัฒนาการทางสังคม แสดงออกมาที่ใช้กาย-วาจาในทางเกื้อกูลสร้างสรรค์
- พัฒนาการทางจิตใจ ดูได้ 3 ด้าน สำคัญที่ใช้พัฒนาปัญญา
- พัฒนาการทางปัญญา ปัญญามา ปัญหาหาย ทุกข์มลาย มีสุขในอิสรภาพ
ช่วงที่ 1 ทางสายกลางที่แท้ เพื่อปลายทางคือการดับเหตุแห่งทุกข์ [VDO | youtube | soundcloud] (18-31 นาที)
ช่วงที่ 2 ทางสายกลาง ในทุกขณะของชีวิต : "เรากินหมูกันไปแล้วกี่ตัว?" [VDO | youtube | soundcloud] (27 นาที)
ช่วงที่ 3 ศีล สมาธิ ปัญญา ในทุกขณะของชีวิต [VDO | youtube | soundcloud] (34-38 นาที)
ช่วงที่ 4 บทสรุป ภาวนา 4 [VDO | youtube | soundcloud] (5-7 นาที)
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 6)
32 หน้า A5
หรือ
7 หน้าเว็บไซต์
เลือกอ่าน - ไฟล์ pdf ที่สแกนจากหนังสือเก่า 32 หน้า
หรือ - ไฟล์ txt บนหน้าเว็บ 7 หน้า ที่ปรับรูปแบบบรรทัดได้ตามอุปกรณ์ที่ใช้อ่าน
หัวข้อที่สำคัญ
1. รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้ และแบบอย่างที่ดี
2. มีชีวิต และอยู่ร่วมสังคมเป็นระเบียบด้วยวินัย
3. พร้อมแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์
4. มุ่งมั่นพัฒนาตนให้เต็มศักยภาพ
5. ปรับทัศนคติ และค่านิยมให้สมแนวเหตุผล
6. มีสติกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลา
7. แก้ปัญหา และพึ่งพาตนได้ด้วยความรู้คิด
ชวนกันสร้างปัจจัยที่จะนำพาชีวิตสู่ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ (อริยมรรค) และฝึกพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา ในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่องยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
บทที่ ๑๑ บทนำ ของมัชฌิมาปฏิปทา (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม)
บทที่ ๑๒ บุพภาคของการศึกษา ๑: ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม)
บทที่ ๑๓ บุพภาคของการศึกษา ๒: โยนิโสมนสิการ (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม)
- ถอดบทเรียน "การฝึกเจริญไตรสิกขา ตามอัธยาศัย ในแต่ละขณะของการดำเนินชีวิต" (optional)
- จากการพัฒนาชีวิตองค์รวมตามหลักไตรสิกขา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (optional)
- กลเกมการเมือง (optional)
- เกม SPACE missions (optional)
- คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วยการศึกษาและการปฏิบัติเป็นไปตามลำดับ (คลิกดูเอกสารสรุปความ)
- วิสุทธิมรรค
- pdf ฉบับแปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสโภ) และคณะ จาก www.thepathofpurity.com
- ข้อมูลหนังสือดิจิตอล จากฐานข้อมูลวิกิซอร์ซ
- เสียงอ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรค
- เสียงอ่านหนังสือ "สาระสำคัญแห่งวิสุทธิมรรค" ของอาจารย์วศิน อินทสระ อ่านโดย สวัสดิ์ อมรสิทธิ์
- การบรรยายชุด "ตามรอย..พุทธธรรม" เรื่อง มัชฌิมาปฏิปทา [youtube | soundcloud]
ธรรมบรรยาย ชุด
ตามพระใหม่ ไปเรียนธรรม
------------------
ตอนที่ 45
ดูมรรคมีองค์ ๘ ให้เห็นวิถีชีวิตที่ดีงาม ว่าดำเนินไปอย่างไร
ตอนที่ 46
ทางชีวิตดีงามมีอยู่ก็ดีแล้ว แต่คนที่ยังอยู่นอกทางเล่า ทำอย่างไรจะให้เขาเข้ามาเดิน
ตอนที่ 47
ถึงไม่มีใครไปพามา ถ้าคนมีโยนิโสมนสิการ เขาก็มาเข้าทางที่ถูกได้ด้วยตัวเขาเอง
ตอนที่ 48
แสงอรุณยืนยันการขึ้นมาของดวงอาทิตย์ แล้วอะไรเป็นบุพนิมิตของการเข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม ตอนที่ ๑
ตอนที่ 49
แสงอรุณยืนยันการขึ้นมาของดวงอาทิตย์ แล้วอะไรเป็นบุพนิมิตของการเข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม ตอนที่ ๒
ตอนที่ 50
ทางชีวิตของอารยชน เริ่มต้นด้วยปัจจัย ๒ มีหน่วยหนุนประคองอีก ๕ รวมเป็นแสงอรุณ ๗ รัศมี
โยนิโสมนสิการ-วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม
------------------
...โยนิโสมนสิการ เป็นอาหารหล่อเลี้ยงสติ ช่วยให้สติที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ช่วยให้สติที่เกิดแล้วเกิดต่อเนื่องไปอีก คนที่มีความคิดเป็นระเบียบความคิดแล่นเรื่อยได้เรื่องได้ราว เดินเป็นแถวเป็นแนว ย่อมคุมเอาสติไว้ใช้ได้เรื่อย แต่คนที่ดิตอะไรไม่เป็น หรือในเวลาที่ความคิดไม่เดิน ไม่มีจุด ไม่มีหลัก สติก็จะพลัดหายอยู่เรื่อย รักษาไว้ไม่อยู่ เพราะตามสภาวะแท้จริง เราจะไปรักษา ไปกักไปกดไปดึงเอาสติไว้ ย่อมไม่เป็นการถูกต้องและทำไม่ได้ ที่ถูกต้องคือต้องหล่อเลี้ยงมันไว้ หมายความว่า สร้างปัจจัยให้มันอยู่ เมื่อมีปัจจัยให้มันเกิดมันก็เกิด เป็นเรื่องของกระบวนธรรม เป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย...
รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน
------------------
...ชีวิตควรจะดำเนินไปอย่างไร ก็ต้องพัฒนาฝึกฝนชีวิตให้เป็นอย่างนั้นมรรคเป็นอย่างไร ก็ศึกษาให้เป็นอย่างนั้น จึงลงตัวเป็นอันเดียวกัน เมื่อเราปฏิบัติถูกต้อง ชีวิตคนนั้นก็เป็นการศึกษาไปในตัวเลยตลอดเวลา ตกลงว่าการศึกษาเข้าไปอยู่ในตัวของชีวิตเองแล้ว ก็จบนี่แหละชีวิตที่เป็นการศึกษา ตามหลักธรรมถือว่า ชีวิตคือการศึกษา แต่หมายถึงชีวิตที่ดำเนินถูกต้อง เมื่อดำเนินชีวิตถูกต้องก็เป็นการศึกษาทันที เพราะชีวิตอย่างนั้นจะมีการพัฒนาตลอดเวลาด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ และการพยายามแก้ปัญหา เป็นต้น ดังปรากฏในหลักที่เรียกว่ารุ่งอรุณของการศึกษา ที่กล่าวมาแล้ว...
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
------------------
...เป้าหมายของการพัฒนาที่จะทำให้อุตสาหกรรมเจริญขึ้น โดยมีวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นเจ้าบทบาทใหญ่นี้ก็เพื่อสิ่งที่เขาเรียกว่า economic growth คือความเจริญเติบโตขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ....
...อย่างไรก็ตาม กระบวนการพัฒนา ถ้าพูดแค่นี้ก็ยังไม่ครบ เป็นการมองที่ไม่ทั่วตลอด การพัฒนาไม่ใช่แค่นี้ คือไม่ใช่แค่ว่าพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม...พร้อมกันนั้นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คืออะไรเป็นตัวกรรมที่ถูกกระทำ เพราะว่าในการที่จะเจริญอย่างนี้ได้ จะต้องมีสิ่งที่ถูกกระทำ สิ่งที่ถูกกระทำเพื่อจะเอามาสร้างความเจริญหรือทำให้เกิดความเจริญทางอุตสาหกรรมนั้น ก็คือธรรมชาติ หรือสิ่งที่เราเรียกในปัจจุบันว่าธรรมชาติแวดล้อมนั่นเอง...
1.1 อะไรคือปัจจัยในการนำเข้าสู่ มรรค
1.2 อะไรคือปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ
1.3 มรรคมีองค์ ๘, ไตรสิกชา, ภาวนา ๔ สัมพันธ์กันอย่างไร
1.4 ไตรสิกขา กับ บุญกิริยาวัตถุ ๓ สัมพันธ์กันอย่างไร
1.5 ศีล สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร
2.1 ทางสายกลาง คือกลางระหว่างอะไร กลางโดยเปรียบเทียบกับอะไร
2.2 สมถะ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร
การปฏิบัติ ต้องเริ่มต้นอย่างไร อะไรคืออารมณ์ของสมถะ และวิปัสสนา
2.3 เมื่อใดควรเจริญสมถะ เมื่อใดควรเจริญวิปัสสนา
2.4 เหตุใด ผู้ภาวิต ทำพลาดผิด มีโทษน้อย
3.1 ใครบ้างคือกัลยาณมิตร
3.2 เราเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ให้แก่ใครบ้าง
3.3 กรณีผู้ตอบคำถามเป็นคฤหัสถ์, ถามว่า
"เมื่อโยมไหว้พระ เราควรตั้งใจอย่างไร
"
กรณีผู้ตอบคำถามเป็นนักบวช, ถามว่า
"เมื่อโยมไหว้ เราควรตั้งใจอย่างไร
"
3.4 เราจะช่วยกันสร้างวัด/ชุมชน/สังคมรอบตัวของเรา ให้เป็นรมณีย์ และทำตนให้เป็นปสาทนีย์ ได้อย่างไรบ้าง
หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในหลักสูตร "ตามรอย.. พุทธธรรม ออนไลน์"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร
สามารถกดปุ่ม "ส่งแบบฝึกหัด ประจำสัปดาห์" เพื่อกรอกข้อมูลผ่านระบบ Google form
This website was started with Mobirise template