คำถาม พื้นฐาน
1.1 ธรรม กับ วินัย สัมพันธ์กันอย่างไร
1.2 การอาบัติ กับการเกิดอกุศล สัมพันธ์กันอย่างไร
1.3 ฉันทะ สัมพันธ์กับพรหมวิหาร และสังคหวัตถุ อย่างไร
ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : ศีล
จำนวนสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
: 6 สื่อ/กิจกรรมระยะเวลา
: 5 ชั่วโมง (ต่อ 1-2 สัปดาห์)ตัวอย่างเนื้อหา
: ธรรม กับ วินัย สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: ฉันทะ สัมพันธ์กับพรหมวิหาร และสังคหวัตถุ อย่างไร ?
: เป้าหมายของการรักษาวินัย คือเพื่อตน หรือเพื่อสังคม ?
: การรักษาศีล เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ?
36 หน้า
หรือ ฟังธรรมบรรยาย ชุดตามพระใหม่ไปเรียนธรรม ตอนที่ 60 เรื่อง "คนจะพัฒนาได้ ต้องมีวินัยเป็นฐาน วินัยพระยังเหลือ สังคมพุทธไทยเมื่อฐานหาย ต้องรีบฟื้นวินัยให้ทันก่อนจะวอดวาย" (45 นาที)
44 หน้า
ตัวอย่างเนื้อหาในเล่ม
- ที่มาและความหมายของวินัย
- วินัยเป็นการจัดสรรโอกาส
- ความหมายของวินัย พัฒนาไปตามการพัฒนาของคน
- วินัยในระบบการสร้างสรรค์อภิบาลโลก
28 หน้า
บทที่ 1 ธรรมชาติแวดล้อมล้วนรมณีย์
บทที่ 2 ทำบุญสร้างชุมชนให้อยู่กันดี
55 นาที
ช่วงที่ 1 ศีล วินัย นิสัย (32 นาที)
ช่วงที่ 2 ปาริสุทธิศีล 4 (10 นาที)
ช่วงที่ 3 คุณค่าของศีลในระดับสังคม (13 นาที)
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย ชุดที่ 7)
"อริยวินัย" มิใช่หมายถึงวินัยของพระสงฆ์อย่างที่รวบรวมไว้ในพระวินัยปิฎก ไม่ใช่ประมวลบทบัญญัติ
และมีความหมายกว้างขวางออกไป สำหรับสังคมทั้งหมด (พึงเห็นความหมายที่กว้าง เช่น ระบบชีวิต-สังคม อย่างที่จัดในหลักทิศ 6 พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "ในอริยวินัย")
68 นาที
(optional)
ช่วงที่ 1 การจัดตั้งวางระบบสังคม กรณีศึกษา "เจ้าคณะตำบลกำมะลอ" (25 นาที)
ช่วงที่ 2 แนะนำหนังสือ วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด, พิธีกรรม ใครว่าไม่สำคัญ, หลักสูตรอารยชน (12 นาที)
ช่วงที่ 3 แนะนำ "อริยวินัย" (5 นาที)
ช่วงที่ 4 แนะนำหนังสือ "...แนวพุทธ" ทั้งหลาย (26 นาที)
ชวนทบทวนวินัยการใช้ชีวิต และระบบสังคมรอบตัว แล้วปรับปรุง จัดสรรวางระบบการใช้เวลา, การเงิน, การใช้จ่ายทรัพยากรต่างๆ, ระเบียบสังคม, การปกครอง, การสร้างสรรค์เทคโนโลยี ฯลฯ ให้เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตและสังคมตามหลักพุทธธรรม และอริยวินัย
ตัวอย่างหัวข้อที่น่าศึกษาเพิ่มเติม....
- ศีล ในความหมายที่เป็นหลักกลาง อันพึงถือเป็นหลักความประพฤติพื้นฐาน (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่าน)
- หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่าน)
- สังฆะ คือชุมชนของบุคคลที่เป็นอิสระ ทั้งโดยชีวิตและด้วยจิตปัญญา (อ่านพุทธธรรมออนไลน์ / ฟังเสียงอ่าน 1 | 2 | 3 )
- เกมสงครามวัวชน สังคมโคบาล (optional)
- กลเกมการเมือง (optional)
- สิงคาลกสูตร (หนังสือหลักสูตรอารยชน / พระไตรปิฎกไทย / พระไตรปิฎกบาลี)
- วิสุทธิมรรค ปริจเฉทที่ 1 -2
- pdf ฉบับแปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสโภ) และคณะ จาก www.thepathofpurity.com
- เสียงอ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรค
- เสียงอ่านหนังสือ "สาระสำคัญแห่งวิสุทธิมรรค" ของอาจารย์วศิน อินทสระ อ่านโดย สวัสดิ์ อมรสิทธิ์
- หลักสูตร "ตามรอย...อริยวินัย"
- ตัวอย่างธรรมะว่าด้วยการจัดสรรทรัพย์
- ตัวอย่างธรรมะว่าด้วยการจัดการทรัพยากร (เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ)
- ตัวอย่างธรรมะว่าด้วยการปกครองเบื้องต้น (นิติศาสต์แนวพุทธ, รัฐศาสตร์แนวพุทธ)
- ตัวอย่างธรรมะว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การบรรยายชุด "ตามรอย..พุทธธรรม" เรื่อง ศีลสิกขา [youtube | soundcloud]
ธรรมบรรยาย ชุด
ตามพระใหม่ ไปเรียนธรรม
------------------
ตอนที่ 27
ถ้าเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ แล้วเอามาจัดการชีวิตและสังคมให้ดีได้ ก็จบความหมายของพระพุทธศาสนา
ตอนที่ 28
โยมขอศีล พระให้สิกขาบท ขอสมาธิ ให้กรรมฐาน ขอปัญญา ให้คำสอนหรือข้อพิจารณา
ตอนที่ 29
แม้จะมีเพียงวินัยโดยธรรมชาติอย่างฝูงนกและกลีบดอกไม้ ก็ยังดีกว่าคนไร้ปัญญา ไม่รู้จักวินัย
ตอนที่ 30
การพัฒนาชีวิต พัฒนาสังคม จะไม่ล่มสลาย ถ้าวินัยยังอยู่เป็นฐาน
หลักแม่บทของการพัฒนาตน
------------------
...ถ้าไม่พัฒนาตน ก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม ไม่รู้เข้าใจตัวตนว่าเป็นอนัตตา ก็ยิ่งพัฒนาความยึดมั่นในตัวตน ตัวตนมันก็ขยายพอกพูนออกไป พองออกไป อยู่นานวันเข้าตัวตนของเราก็ยิ่งพองขยายใหญ่ พอขยายใหญ่ก็ยิ่งทุกข์มากเพราะตัวตนแค่นี้ มันรับกระทบแค่นี้ มันก็ทุกข์แค่นี้ พอนานๆ เข้ามันขยายออกไป ขยายออกไปอยู่กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือ ถ้าเราอยู่ในโลกไม่เป็น ก็ติดโลก ก็ยึดทุกอย่างในโลก เช่น ของที่เรามีเรายึดทุกอย่าง พอเรายึดอะไร ตัวตนของเราก็ขยายไปอยู่กับมัน สิ่งนั้นก็ผนวกเข้าเป็นตัวตนของเรา...
การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น
------------------
...คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี มีอาหารการกินอย่างดีที่เรียกว่า มีมาตรฐานการครองชีพสูง แต่กินอาหารแล้วไม่ได้คุณภาพชีวิต เลยกลายเป็นว่ามาตรฐานการครองชีพสูง แต่คุณภาพชีวิตเสีย เป็นการกินที่ไม่ฉลาด...
...ให้การรับประทานอาหารเป็นเครื่องเกื้อหนุน ช่วยให้เรามีเรี่ยวแรงกำลัง เพื่อเราจะได้ทำกิจ ทำหน้าที่ ศึกษาเล่าเรียน ทำงานทำการ ...พูดสั้นๆ ว่าบริโภคอาหารเพื่อเป็นปัจจัย คือเป็นเครื่องเกื้อหนุนให้เราดำเนินชีวิตที่ดี พัฒนาตนเอง และทำสิ่งที่ดีงามได้ยิ่งขึ้นไป...
อายุยืนอย่างมีคุณค่า
------------------
...อายุที่เป็นคําเดิมในภาษาบาลีมีความหมายลึกลงไปอีกหมายถึงเนื้อตัวของชีวิตหรือพลังที่เป็นแกนของชีวิตก็ได้คือหมายถึงพลัง ที่ทํำให้ชีวิตสืบต่อ ดําเนินไป หรือพลังที่ช่วยให้องค์ประกอบต่างๆของชีวิตเจร ิญงอกงามขึ้น...
...ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อการได้อายุนั้นแยกได้เป็น ๒ ด้าน คือด้านร่างกาย หรือฝ่ายรูปธรรม กับด้านจิตใจ หรือฝ่ายนามธรรม...
การพัฒนาที่ยั่งยืน จะเกิดขึ้นเมื่อระบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ดำเนินไปด้วยดี โดยที่ทุกส่วนเป็นปัจจัยส่งผลในทางเกื้อกูลกัน ทำให้ดำรงอยู่ดีด้วยกัน ไม่ใช่การมุ่งพัฒนาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง และปล่อยปละละเลย หรือทำลายด้านอื่นๆ ไม่ว่าโดยไม่ตั้งใจ หรือว่าโดยไม่ใส่ใจ ได้แก่
- การพัฒนามนุษย์
- การพัฒนาสังคม
- การพัฒนาธรรมชาติ
- การพัฒนาเทคโนโลยี
...กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษย์มีกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนธรรมหรือกฎแท้ของธรรมชาติ ให้ปรากฏผลเป็นจริงหนักแน่นในสังคมมนุษย์...
...แต่เมื่อคนแปลกแยกจากความจริงแท้แห่งธรรม หรือหลงลืมมองข้ามไปเข้าไม่ถึงธรรมแล้ว กฎหมายหรือกฎสมมติของมนุษย์นั้นก็เลื่อนลอยคลาดเคลื่อนจากคุณค่าที่แท้จริง และกลับกลายเป็นเครื่อทำลายสังคมมนุษย์เสียเอง...
... ถ้าจะให้เศรษฐศาสตร์มีคุณค่าอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหามนุษย์ ก็จะต้องให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตก็ดี การทำงานก็ดี การบริโภคก็ดี การแจกจ่ายก็ดี เป็นกิจกรรมในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และพัฒนาศักยภาพเพื่อชีวิตที่ดีงาม เราสามารถทำให้กิจกรรมในทางเศรษฐกิจทุกอย่าง เป็นกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตลอดเวลา และนี่เป็นทางหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐศาสตร์มีคุณค่าที่แท้จริง...
- ประชาธิปไตย กับธรรมาธิปไตย ต้องชัดว่าอันไหนเป็นอะไร
- จะตัดสินใจได้ดี คนต้องมีปัญญา จึงต้องมีการศึกษา
- ตัดสินใจด้วยปัญญา โดยมีเจตนาเป็นธรรม คือ ธรรมาธิปไตย
- เป็นกลาง ไม่ใช่อยู่กึ่งกลาง - ครึ่งๆ กลางๆ - ฉันไม่เกี่ยว
(คลิกฟังเสียงบรรยาย)
(อ่าน รีวิวหนังสือ)
1.1 ธรรม กับ วินัย สัมพันธ์กันอย่างไร
1.2 การอาบัติ กับการเกิดอกุศล สัมพันธ์กันอย่างไร
1.3 ฉันทะ สัมพันธ์กับพรหมวิหาร และสังคหวัตถุ อย่างไร
2.1 เป้าหมายของการรักษาวินัย คือไม่อาบัติ หรือไม่เกิดอกุศล
2.2 เป้าหมายของการรักษาวินัย คือเพื่อตน หรือเพื่อสังคม
2.3 การรักษาศีล เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร
3.1 เรามีความรัก และเห็นความสำคัญในการรักษาวินัยเพียงใด
3.2 เรายังติเตียนตนเองด้วยศีล ได้อยู่หรือไม่
3.3 ปาริสุทธิศีลข้อใด ที่รักษาได้ยาก เพราะเหตุใด
หากผู้เรียนที่ลงทะเบียนในหลักสูตร "ตามรอย.. พุทธธรรม ออนไลน์"
ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด หรือหารือ กับคณะพระวิทยากร
สามารถกดปุ่ม "ส่งแบบฝึกหัด ประจำสัปดาห์" เพื่อกรอกข้อมูลผ่านระบบ Google form
Created with Mobirise