การพัฒนาสุขภาวะ ในทุกช่วง ทุกสถานการณ์ ของทุกชีวิต
ตั้งแต่ ก่อน..เกิด จนถึง หลัง..ตาย
สารบัญหัวข้อ
1. สาธารณ-สุข - ภาวะ - องค์รวม - แนวพุทธ
2. การสร้างเสริม สุขภาวะองค์รวม เชิงรุก
3. ตัวอย่าง กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมแก่กลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัย
"ตามรอย... คู่มือชีวิต" (คลิกดู คู่มือนักศึกษา / คนทำงาน)
4. ตัวอย่าง กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมแก่กลุ่มนักศึกษาแพทย์แผนไทยประยุกต์
การพัฒนาชีวิตให้มีสุขภาวะองค์รวม คือการพัฒนาองค์ประกอบของการดำเนินชีวิตให้เจริญงอกงามขึ้นอย่างประสานสัมพันธ์สอดคล้อง ส่งผลเกื้อกูลกันไปด้วยดีทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วยพัฒนาการ 4 ด้าน (ภาวนา 4) คือ กาย ศีล จิต ปัญญา
การพัฒนากาย ไม่ใช่ให้กายเติบโต แต่หมายถึงการใช้กายให้สัมพันธ์สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ เช่นการเลือกเสพบริโภคสิ่งที่ดี เข้าสู่ชีวิตของตน รวมถึงการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนและสังคมได้
การพัฒนาศีล ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามหลักจารีต ศาสนา แต่หมายถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับสังคม เพื่อนมนุษย์ ให้เป็นไปในทางช่วยแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สังคมที่เกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิต ทั้งในระดับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ญาติพี่น้อง
การพัฒนาจิต คือการฝึกอบรมให้จิตใจมีสุขภาพจิตดี มีศักยภาพในการทำกิจต่างๆ ไม่ซึมเซาซัดส่าย อีกทั้งยังประกอบไปด้วยคุณธรรม ความดีงามต่างๆ เช่น เมตตา กรุณา ฉันทะ หมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน จดจ่อ สดชื่น
การพัฒนาปัญญา คือความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถนำความรู้ความคิดมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ รวมทั้งในการบริหารจัดการดำเนินการต่างๆ เพื่อการพัฒนาตนและสังคมยิ่งขึ้นไป
สุขภาวะองค์รวมของชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องสร้าง ทั้งในระดับปัจเจก และในระดับสาธารณะ ด้วยความเข้าใจที่ถูกตรง รอบด้าน ทั้งทางกาย สังคม จิตใจ และปัญญา
สุขภาวะที่แท้ ในระดับบุคคล มิใช่การสนองความต้องการของตน ที่อยากกิน อยากดู ตามใจ เช่นคนกินเหล้าเมายามีความสุข แต่ก็มิใช่การยืดอายุให้ยาวนานอย่างไร้ความหมาย
สุขภาวะที่แท้ในระดับสังคม มิใช่หมายเอาการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ เพื่อต่อสู้โรคภัยที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นที่หมาย โดยไม่ใส่ใจต่อต้นเหตุที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ทั้งทางด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต สภาพแวดล้อม และระบบสังคม
หาก สาธารณสุข จะหมายถึงการสร้างสุขภาวะองค์รวมให้แก่ผู้คนสาธารณะโดยไม่แบ่งแยก งานสาธารณสุขก็เป็นงานที่สอดคล้องกับพุทธประสงค์ ที่มุ่งหมายดับทุกข์ และพัฒนาความสุขที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นแก่ทุกสรรพชีวิต .... (คลิกเพื่ออ่านหนังสือ สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ)
ร่างแนวคิด ระบบการจัดการอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากร และสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม
ความสุขในชีวิตและการทำงาน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ด้วยการฝึกฝนและสร้างเหตุปัจจัยด้วยตนเอง เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย มีความสุข และยิ่งกว่านั้น คือมีคุณค่า ในการสร้างเสริมส่งต่อความสุขแก่ผู้อื่นในสังคม ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงการร่วมสร้างสุขภาวะองค์รวมในระบบสาธารณสุข
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาบุคลากรภายในวงงานสาธารณสุข (กรอบสีน้ำเงิน)
1.1 ให้มีความตระหนักในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวม
1.2 มีทักษะในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมของตนเองอย่างยั่งยืน
1.3 มีพื้นฐาน และประสบการณ์ในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมให้เกิดขึ้นในสังคม
2. เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม ในระดับชุมชน (กรอบสีเขียว)
2.1 ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก
2.2 ให้ความรู้แก่คนทุกวัยในสังคม เพื่อให้สามารถสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของตนและครอบครัวได้
2.3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่าย บ้าน - วัด - โรงพยาบาล ในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม
ร่างแนวทางในการพัฒนา นักศึกษาแพทย์
1. การพัฒนาบุคลากรภายในวงงานสาธารณสุข (กรอบสีน้ำเงิน)
1.1 นศ.พ. ชั้นปี 1 - 2 เข้ารับการอบรมหลักสูตร “ฺBasic LIFE skills” (หลักสูตรบังคับ)
1.2 นศ.พ. ชั้นปี Tx - Ty “เลือก” เข้ารับการอบรมหลักสูตรในหมวด กาย, ศีล, จิต, ชีวิต ตามอัธยาศัย
1.3 นศ.พ. ชั้นปี Ty - Tz “เลือก” เข้ารับการฝึกในฐานะ ผู้ช่วยกระบวนกร ในหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาวะ องค์รวม (กรอบสีเขียว - รวมถึงหลักสูตรในข้อ 1.1 และ 1.2 สำหรับรุ่นน้องด้วยก็ได้)
1.4 บัณฑิตมีศักยภาพในการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมีความสุข และมีส่วนในการสร้างสุขภาวะองค์รวมให้แก่สังคมได้ ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทหน้าที่ใดในสังคม สมนาม "ปัญญาของแผ่นดิน"
2. สร้าง platform ในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมแก่กลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัย
2.1 กิจกรรมที่จัดโดยบุคลกรภายในของ รพ.ศิริราช เช่น หลักสูตร Stress management
2.2 กิจกรรมที่จัดโดยคณะพระวิทยากรของ มจร. และ กลุ่มอาสาคิลานธรรม เช่น งานภาวนาด้วยรัก
2.3 กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นใหม่ เช่น หลักสูตร “ฺBasic LIFE skills”
2.4 กิจกรรมของเครือข่ายวิทยากรอาสา ที่ได้รับการคัดเลือก/ตรวจสอบ แล้วนำมาปรับให้เหมาะสม เช่น
- โรงเรียนพ่อแม่ (เสถียรธรรมสถาน)
- ธรรมะบำบัดความเจ็บป่วยได้จริงหรือ (ภาคีเครือข่าย สวนโมกข์กรุงเทพฯ)
- เผชิญความตายอย่างสงบ (เสมสิกขาลัย)
- โยคะภาวนา (เครือข่ายชีวิตสิกขา)
- หลักสูตรจิตตภาวนากับการเยียวยารักษาจิตใจ (ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล)
- ก่อนจากลา - หลังจากตาย (วัดญาณเวศกวัน)
- เกมไพ่ไขชีวิต, สมุดเบาใจ, แคร์คลับ, เผชิญความตายอย่างสงบ (Peaceful death)
(กิจกรรม ข้อ 2.1 - 2.3 เปิดโอกาสให้ นศ.พ. เข้าร่วมเป็นผู้ช่วยกระบวนกร เพื่อเก็บเครดิตตามข้อ 1.3
ชีวิตมนุษย์ ไม่เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เมื่อเราซื้อมาใหม่ ก็มี คู่มือ มาให้ด้วย เพื่อบอกว่าอุปกรณ์นั้นใช้อย่างไร ทำอะไรได้บ้าง อีกทั้งเมื่อมีปัญหาจะแก้ไขอย่างไร หรือต้องไปปรึกษาใครที่ไหน
ทว่า หลายครั้ง หลายชีวิต ถูกใช้โดยไร้จุดหมาย หรือเป็นไปเพียงเพื่อการหาเลี้ยงชีวิต โดยไม่รู้ว่าจะสร้างภาวะอันเป็นสุขให้แก่ตน และคนรอบข้าง ในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตตนอย่างไร มิหนำซ้ำ ยามเมื่อประสบปัญหา ก็ไม่รู้จะหาทางออก ปฐมพยาบาลชีวิตตนเองอย่างไร .... (คลิก เพื่ออ่านหนังสือ คู่มือชีวิต)
"ตามรอย... คู่มือชีวิต" เป็น platform ที่สร้างโอกาสให้เราได้หันกลับมาร่วมกันหาทางพัฒนา ชีวิต ในทุกช่วงตอน ให้สมคุณค่า ของการมีชีวิต ....
หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ : "ตามรอย... คู่มือชีวิต"
จำนวนบทเรียน : 10 บทเรียน ไม่ต่อเนื่อง
(เลือกบทเรียนได้ตามอัธยาศัย)
รูปแบบการเรียนรู้ : ศึกษาสื่อออนไลน์
ร่วมกับการจัดกิจกรรมออนไลน์
และกิจกรรมในพื้นที่จริงตามกำหนดเวลา
การพัฒนาชีวิตให้มีสุขภาวะองค์รวม คือการพัฒนาองค์ประกอบของการดำเนินชีวิตให้เจริญงอกงามขึ้นอย่างประสานสัมพันธ์สอดคล้อง ส่งผลเกื้อกูลกันไปด้วยดีทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วยพัฒนาการ 4 ด้าน (ภาวนา 4) คือ กาย ศีล จิต ปัญญา
การพัฒนากาย ไม่ใช่ให้กายเติบโต แต่หมายถึงการใช้กายให้สัมพันธ์สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ เช่นการเลือกเสพบริโภคสิ่งที่ดี เข้าสู่ชีวิตของตน รวมถึงการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนและสังคมได้
การพัฒนาศีล ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามหลักจารีต ศาสนา แต่หมายถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับสังคม เพื่อนมนุษย์ ให้เป็นไปในทางช่วยแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สังคมที่เกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิต ทั้งในระดับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ญาติพี่น้อง
การพัฒนาจิต คือการฝึกอบรมให้จิตใจมีสุขภาพจิตดี มีศักยภาพในการทำกิจต่างๆ ไม่ซึมเซาซัดส่าย อีกทั้งยังประกอบไปด้วยคุณธรรม ความดีงามต่างๆ เช่น เมตตา กรุณา ฉันทะ หมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน จดจ่อ สดชื่น
การพัฒนาปัญญา คือความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถนำความรู้ความคิดมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ รวมทั้งในการบริหารจัดการดำเนินการต่างๆ เพื่อการพัฒนาตนและสังคมยิ่งขึ้นไป
หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ : "ทักษะชีวิต และการทำงาน"
จำนวนบทเรียน : 14 บทเรียนต่อเนื่อง
เวลาเฉลี่ยต่อบท : 3 - 5 ชั่วโมง
รูปแบบการเรียนรู้ : ศึกษาสื่อออนไลน์
ร่วมกับการจัดกิจกรรมออนไลน์
และกิจกรรมในพื้นที่จริงตามกำหนดเวลา
ภาพตัวอย่างกิจกรรม กลุ่มนักศึกษาแพทย์แผนไทยประยุกต์
Design a site - See it