202 Life & work skills
จากความเข้าใจธรรมะ สู่การฝึกหัดพัฒนาทักษะชีวิตองค์รวม เพื่อการใช้ชีวิตและทำงาน ให้ได้ผลดี มีความสุข มีคุณค่า และมีดุลยภาพ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่แท้ทั้งในระดับบุคคล ผู้นำองค์กร บัณฑิตที่เป็นผู้ชี้นำสังคม และในหน้าที่ของการเป็นพลเมืองโลกที่ดี
ชีวิตมนุษย์ ไม่เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่เมื่อเราซื้อมาใหม่ ก็มี คู่มือ มาให้ด้วย
เพื่อบอกว่าอุปกรณ์นั้นใช้อย่างไร ทำอะไรได้บ้าง
อีกทั้งเมื่อมีปัญหาจะแก้ไขอย่างไร หรือต้องไปปรึกษาใครที่ไหน
ทว่า หลายครั้ง .. หลายชีวิต ..
ถูกใช้โดยไร้จุดหมาย หรือใช้ไปวันๆ เพียงเพื่อการหาเลี้ยงชีวิต
วิ่งหาความสุข อย่างไม่จบสิ้น
แย่ยิ่งขึ้นหากไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ความสุขที่ตนตามหานั้นหน้าตาเป็นเช่นไร
มิหนำซ้ำ ยามเมื่อประสบปัญหา
ก็ไม่รู้จะหาทางออก ปฐมพยาบาลชีวิตตนเองอย่างไร ...
การใช้ชีวิต จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องอาศัยทักษะและความรู้
ก็เหมือนเล่มเกม โดยมีสูตรลับ
ถ้ารู้ ก็เล่นง่าย ถ้าไม่รู้ ก็เหนื่อยหน่อย
ต่างกันที่ว่า เกมชีวิต เล่นได้หนเดียว ...
การพัฒนาทักษะชีวิต จะช่วยให้มีความพร้อมยิ่งขึ้น
สำหรับการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงตอน ในสถานการณ์หลากหลาย
อย่างมีเป้าหมาย มีความสุข และยิ่งกว่านั้น .....
การพัฒนาชีวิตที่ดี จะทำให้ชีวิตนั้นมีโอกาสที่จะสร้างคุณค่า
ด้วยการส่งต่อ หยิบยื่น สร้างสรรค์ ทำประโยชน์ ให้แก่ผู้คนรอบข้าง
ได้อย่างยั่งยืน และเป็นสุขร่วมกัน
การพัฒนาชีวิตให้มีสุขภาวะองค์รวม คือการพัฒนาองค์ประกอบของการดำเนินชีวิตให้เจริญงอกงามขึ้นอย่างประสานสัมพันธ์สอดคล้อง ส่งผลเกื้อกูลกันไปด้วยดีทั้งระบบ ซึ่งประกอบด้วยพัฒนาการ 4 ด้าน (ภาวนา 4) คือ กาย ศีล จิต ปัญญา
การพัฒนากาย ไม่ใช่เพียงให้กายเติบโต ไร้โรคภัย แต่หมายถึงการใช้กายให้สัมพันธ์สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ เช่น การนั่งทำงานที่ปลอดภัย การเลือกเสพบริโภคสิ่งที่ดีเข้าสู่ชีวิตของตน รวมถึงการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนและสังคมได้
การพัฒนาศีล ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามหลักจารีต ศาสนา แต่หมายถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับสังคม เพื่อนมนุษย์ ให้เป็นไปในทางช่วยแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สังคมที่เกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิต ทั้งในครอบครัว และสังคมการทำงาน ขยายไปจนถึงการจัดตั้งวางระบบชี้นำสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนๆ
การพัฒนาจิต คือการฝึกอบรมให้จิตใจมีสุขภาพจิตดี มีศักยภาพในการทำกิจต่างๆ ไม่ซึมเซาซัดส่าย อีกทั้งยังประกอบไปด้วยคุณธรรม ความดีงามต่างๆ เช่น เมตตา กรุณา ฉันทะ หมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน จดจ่อ สดชื่น เพื่อให้จิตใจนั้น พร้อมที่รับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การจัดการด้วยปัญญาได้อย่างเต็มศักยภาพ
การพัฒนาปัญญา คือความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถนำความรู้ความคิดมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ รวมทั้งในการบริหารจัดการดำเนินการต่างๆ เพื่อการพัฒนาตนและสังคมยิ่งขึ้นไป
สุขภาวะองค์รวมของชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องสร้าง ทั้งในระดับปัจเจก และในระดับสาธารณะ ด้วยความเข้าใจที่ถูกตรง รอบด้าน ทั้งทางกาย สังคม จิตใจ และปัญญา
สุขภาวะที่แท้ ในระดับบุคคล มิใช่การสนองความต้องการของตน ที่อยากกิน อยากดู ตามใจ เช่นคนกินเหล้าเมายามีความสุข แต่ก็มิใช่การยืดอายุให้ยาวนานอย่างไร้ความหมาย
สุขภาวะที่แท้ในระดับสังคม มิใช่การแก่งแย่งเพื่อเป็นผู้มีโอกาสได้เสพบริโภค รับเอาประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรได้มากกว่าใครๆ
การสร้างสรรค์ความสุขที่ยั่งยืนให้แก่สังคม เป็นเป้าหมายในทุกการงานอาชีพมิใช่หรือ?
เป้าหมายของตัวงานที่แท้มิใช่เพียงเงินตราค่าตอบแทน หากแต่เป็นตัวงานนั้นเองที่มีค่า มีประโยชน์ต่อใครสักคน จึงเป็นเหตุให้ระบบสังคมตอบแทนคุณค่านั้นด้วยระบบผลตอบแทนบางอย่าง
หากเราทำงาน ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างความสุขให้แก่สาธารณะ งานสาธารณสุขก็เป็นงานที่สอดคล้องกับพุทธประสงค์ ที่มุ่งหมายดับทุกข์ และพัฒนาความสุขที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นแก่ทุกสรรพชีวิต ....
ร่างแนวคิด ระบบการพัฒนาบัณฑิต และสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาบัณฑิต (กรอบสีน้ำเงิน)
1.1 บัณฑิตมีความตระหนักในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวม
1.2 บัณฑิตมีทักษะในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมของตนเองอย่างยั่งยืน
1.3 บัณฑิตมีพื้นฐาน และประสบการณ์ในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมให้เกิดขึ้นในสังคม
2. เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม ในระดับชุมชน (กรอบสีเขียว)
2.1 ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก
2.2 ให้ความรู้แก่คนทุกวัยในสังคม เพื่อให้สามารถสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของตนและครอบครัวได้
2.3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่าย บ้าน - วัด - โรงพยาบาล ในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม
ร่างแนวทางในการพัฒนาบัณฑิต
1. การพัฒนานักศึกษา/บัณฑิต ให้มีความพร้อมในระดับบุคคล (กรอบสีน้ำเงิน)
1.1 นศ. ชั้นปี ๒ เข้ารับการอบรมหลักสูตร “Basic LIFE skills” (หลักสูตรบังคับ)
1.2 นศ. ชั้นปี ๒ - ๔ พัฒนาทักษะการใช้ชีวิต และการทำงานของตนเอง ตามอัธยาศัย
2. บัณฑิตมีความสามารถในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมแก่กลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัย
2.1 นศ. ชั้นปี ๒ - ๖ เป็นจิตอาสา ร่วมเรียนรู้การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวม และเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของตนเอง
2.2 บัณฑิตมีศักยภาพในการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมีความสุข และมีส่วนในการสร้างสุขภาวะองค์รวมให้แก่สังคมได้ ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทหน้าที่ใดในสังคม สมนาม "ปัญญาของแผ่นดิน"
การดูแลกาย
- Physical fitness [Training : Physical training]
- You are what you eat [Training : Healthy cooking class]
- การพัฒนาบุคลิกภาพ [Training : New me New personality]
การจัดสรรสภาพแวดล้อม [Training : Home & workplace design]
- ชีวิตดี ด้วยการจัดบ้าน (จัดห้อง/จัดหอ)
- พลังธรรมชาติ ส่งเสริมพลังชีวิต [Training : ถ่ายภาพภาวนา | จัดดอกไม้ภาวนา | Zen garden]
- การจัดการข้อมูลดิจิตอล ให้เกิดประสิทธิภาพ และปลอดภัย [Training : Digital skills]
- ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
วินัยส่วนบุคคล [Training : New me New habits]
- วินัย : เรื่องใหญ่กว่าที่คิด
- ทฤษฎีนิสัย กับเทคนิคการสร้างวินัย
- การจัดการเวลา [Training : How to be more productive?]
: คุณค่าของเวลา และเทคนิคการบริหารเวลาส่วนบุคคล
: การจัดลำดับความสำคัญของงาน
- การบริหารการเงิน [Training : Game of LIFE]
: ความหมาย คุณ-โทษ ของ เงิน ในฐานะปัจจัยหรือเป้าหมายของชีวิต
: ความมั่นคงทางการเงิน, อิสรภาพทางการเงิน, วินัยทางการเงิน
: การบริหารการเงินส่วนบุคคล : การวางแผนเกษียณ, การออม และการลงทุน, การแก้ปัญหาหนี้สิน ฯลฯ
ทักษะสังคม [Training : Social skills & Modern Etiquette]
- สมบัติของผู้ดี : มารยาทในสังคมสมัยใหม่
- การทำงานเป็นทีม
ทักษะการสื่อสาร [Training : การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์]
- พื้นฐานของการสื่อสารที่ดี 1 | 2
- อุปสรรค ของการสื่อสารเพื่อการสร้างสรรค์
- การสื่อสาร เพื่อการสร้างสรรค์ พัฒนา เยียวยา ส่งเสริม ซ่อมสร้าง อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนา สุขภาพของจิตใจ [Training : Happiness appreciation]
- บทนำ : ตั้งคำถาม ต่อความรัก ในหัวใจ
- เรียน - รู้ - คู่ - รัก [Training : รักนั้นดีแน่ แต่รักแท้อยู่ไหนหนอ]
- เรียนได้ ไม่เครียด - เรียนดี มีสุข [Training : Stress management]
- อารมณ์ศึกษา [Training : Emotional management]
การพัฒนา ศักยภาพของจิตใจ [Training : Powerful mind]
- แนวทางการพัฒนาจิตใจ
- การฝึกสติ [Training : น้ำชา ภาวนา | ถ่ายภาพภาวนา | จัดดอกไม้ภาวนา | Zen garden]
- การดัด-จริต [Training : ดัด-จริต พัฒนาจิตใจ]
- ไหวพริบในการจัดการอารมณ์ เพื่อจัดการปัญหา
- การมองโลกในแง่ดี การมองโลกในแง่ร้าย และการมองโลกตามเป็นจริง
ทักษะการวางแผน และการทำงานโครงการ [Training : Project management]
- การคิดและทำงานเป็นโครงการ
- การวางแผนโครงการ
- การเขียนโครงการ
- การบริหารเวลา
- เครื่องมือในการบริหารเวลา : Gantt chart, CPM, Time sheet
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์
- HRM : การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
- HRD : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- ระบบงาน และกระบวนการทำงาน
- การวางแผนการเงิน
- ความสำคัญ และวิธีการจัดทำงบประมาณโครงการ
- ความหมาย ประโยชน์ ความสัมพันธ์ ของเอกสารการเงินที่สำคัญ
- การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ
- การติดตาม ประเมินผลโครงการ
ทักษะการคิด และการแก้ปัญหา [Training : Design thinking & problem solving]
- ท่าทีต่อปัญหา สู่การสร้างนวัตกรรม
- หลักการจัดการปัญหาตามแนวอริยสัจ 4
- เทคนิค วิธีการคิด เพื่อการจัดการปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- การเปิดโอกาสให้ความผิดพลาด และล้มเหลว สู่ ทักษะการระวังภัย
มุมมองต่อชีวิต และการทำงาน [Training : Game of LIFE]
- ตั้งคำถาม ต่อการศึกษา การงาน และชีวิต
- เป้าหมายของการศึกษา คือการ (ได้) ทำงาน เท่านั้นหรือ ?
- การค้นหาศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาตนเอง
- คุณค่า เป้าหมาย และความสุข ของชีวิต และการทำงาน
- เป้าหมายชีวิต : อัตถะ 3 [Training : เป้าหมายชีวิต]
- การตัดสินคุณค่าของคน - งาน - การเรียน
มุมมองต่อสังคม ในฐานะ world citizen [Training : กลเกมการเมือง]
- บทนำ : ตั้งคำถาม ต่อสังคม
- การพัฒนาที่ยั่งยืน : ภาวนา 4 - ธรรมานามัย
- ค่านิยมทางสังคมที่เป็นธรรม : เสรีนิยม vs สังคมนิยม
- การจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม : เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ - เศรษฐกิจพอเพียง
- อำนาจการปกครองที่เป็นธรรม : ธรรมาธิปไตย - ธรรมาภิบาล
- สถานการณ์ทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21
จำนวนบทเรียน : 14 บทเรียนต่อเนื่อง
เวลาเฉลี่ยต่อบท : 3 - 5 ชั่วโมง
รูปแบบการเรียนรู้ : ศึกษาสื่อออนไลน์
ร่วมกับการจัดกิจกรรมออนไลน์
และกิจกรรมในพื้นที่จริงตามกำหนดเวลา
ภาพตัวอย่างกิจกรรม
This site was started with Mobirise