| |
ความหนาของแผ่นดินโลก   |  

ในโลกบัญญัติปกรณ์ ท่านได้แสดงความเป็นไปของโลกไว้ดังต่อไปนี้

พื้นแผ่นดินของโลกนี้ หนาได้ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ แบ่งเป็น ๒ ชั้นรุ.๖๐ คือ

ชั้นบนครึ่งหนึ่ง เป็นดินธรรมดา เรียกว่า ปังสุปถวี คือ ดินร่วน [สามารถขุดเจาะได้] มีความหนาได้ ๑๒๐,๐๐๐ โยชน์

ชั้นล่างครึ่งหนึ่ง เป็นดินหิน เรียกว่า สิลาปถวี คือ หินที่เกิดจากดินทับถมกันอยู่นาน มีความแข็งมาก หนาได้ ๑๒๐,๐๐๐ โยชน์

พื้นแผ่นดินทั้งหมดตั้งอยู่บนน้ำแข็ง น้ำแข็งหนาได้ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์

น้ำแข็งตั้งอยู่บนลม ลมหนาได้ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์

ต่อจากพื้นลมลงไป เป็นอากาศว่างเปล่า เรียกว่า อัชฎากาศ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |