| |
หน้าที่ของอรูปาวจรจิต   |  

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ ทำหน้าที่ชวนะ คือ เสพอารมณ์โดยความเป็นกุศล

อรูปาวจรวิปากจิต ๔ ทำหน้าที่ ๓ อย่าง คือ

๑] ปฏิสนธิกิจ นำเกิดในภพภูมิใหม่ในอรูปภูมิ ตามสมควรแก่ฌานที่ตนได้

๒] ภวังคกิจ ทำหน้าที่เป็นองค์แห่งภพ คือ รักษาสถานภาพของบุคคลนั้นไว้ในความเป็นอรูปพรหมจนตลอดชีวิต

๓] จุติกิจ ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพชาติ คือ ตายจากภพชาตินั้น ทำให้สถานภาพของความเป็นอรูปพรหมในภพภูมินั้นสิ้นสุดลง

อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ ทำหน้าที่ชวนะ เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิต ต่างกันแต่ว่า อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดกับติเหตุกปุถุชนและพระเสกขบุคคล ๓ ยังมีเชื้อที่จะส่งผลให้ได้รับในภพชาติหน้า [ถ้าฌานนั้นไม่เสื่อม] ส่วนอรูปาวจรกิริยาจิตนั้น เป็นจิตที่เกิดกับพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีเชื้อที่จะส่งผลให้ได้รับในภพชาติหน้าอีกแล้ว เป็นสักแต่ว่ากิริยาเท่านั้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |