| |
พลธรรม ๗   |  

กิเลสที่เป็นเครื่องทำลายภูมิต้านทานของพลธรรม มี ๗ ประการ คือ

๑. อสัททิยะ ความไม่ศรัทธา เป็นปฏิปักษ์กับ ศรัทธาพละ

๒. โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นปฏิปักษ์กับ วิริยพละ

๓. มุฏฐสัจจะ ความหลงลืมสติ เป็นปฏิปักษ์กับ สติพละ

๔. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นปฏิปักษ์กับ สมาธิพละ

๕. อวิชชา ความไม่รู้ เป็นปฏิปักษ์กับ ปัญญาพละ

๖. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อบาป เป็นปฏิปักษ์กับ หิริพละ

๗. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป เป็นปฏิปักษ์กับ โอตตัปปพละ

เพราะฉะนั้น เมื่อปาคุญญตาเจตสิกเกิดขึ้นแล้ว ย่อมสนับสนุนให้พลธรรมทั้งหลายมีกำลังที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น จนสามารถต้านทานและทำลายกำลังของธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |