ไปยังหน้า : |
๑. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่า เหตุไม่มี หมายความว่า มีความเห็นว่า ความดี ความชั่ว หรือ ความสุข ความทุกข์ไม่มีเหตุทำให้เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเองลอย ๆ หรือเห็นว่า พระพรหมหรือเทพเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้นเท่านั้น
๒. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่า ผลไม่มี หมายความว่า การทำดี ทำชั่วที่กระทำลงไปแล้ว ไม่มีผล หรือไม่สามารถส่งผลเป็นความสุขหรือความทุกข์ให้บุคคลที่กระทำกรรมได้รับแต่ประการใด สัตว์ทั้งหลายจะสุขก็สุขเอง จะทุกข์ก็ทุกข์เอง หรือเห็นว่า ความสุขความทุกข์มาจากเหตุภายนอก คือ เทพเจ้าเป็นผู้บันดาลความสุขความทุกข์ให้
๓. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่า ไม่เป็นอันทำ หมายความว่า การกระทำทุกอย่าง ไม่เป็นบาป ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นเหตุ และไม่มีผล สักแต่ว่า กระทำ เท่านั้น