| |
ความเป็นไปของจิต   |  

จิตนี้มีสภาพเป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างสัณฐานไม่มีสีสันวรรณะใด ๆ ฉะนั้น จิตนี้จึงมีความเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ๔ ประการ คือ

๑. ทูรังคะมัง เป็นธรรมชาติไปได้ไกล หมายความว่า จิตนี้สามารถน้อมไปหาอารมณ์ที่อยู่ไกลแสนไกลได้ โดยที่ตัวตนของบุคคลนั้นไม่ต้องไปถึง เช่น เคยไป เคยอยู่ที่ไหน เพียงแต่นึกถึง สภาพของสถานที่นั้น หรืออารมณ์นั้น ๆ ก็ปรากฏในมโนทวาร เหมือนกับเห็นด้วยตา ดังนี้เป็นต้น

๒. เอกะจะรัง เที่ยวไปดวงเดียว หมายความว่า จิตนี้เป็นธรรมชาติที่เที่ยวไปดวงเดียว คือ สามารถรับรู้อารมณ์ได้ทีละอย่าง เกิดได้ทีละหนึ่งดวงเท่านั้น ไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้หลายดวงและไม่สามารถรับอารมณ์ได้พร้อมกันหลายอย่าง เมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นและดับไปแล้ว จิตดวงใหม่จึงจะเกิดต่อไปได้

๓. อะสะรีรัง ไม่มีสรีระร่างกาย หมายความว่า จิตนี้มีสภาพเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างสัณฐาน มีสภาวะเป็นอรูปธรรม รู้ได้ด้วยใจเท่านั้นไม่สามารถรับรู้โดยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายได้เลย

๔. คูหาสะยัง มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย หมายความว่า จิตนี้เป็นธรรมชาติที่ต้องอาศัยวัตถุรูปเกิด ซึ่งเปรียบเสมือนถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย [เฉพาะในปัญจโวการภูมิเท่านั้น ที่ต้องอาศัยวัตถุรูปเกิด ถ้าเป็นในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุรูปเกิดเลย] ซึ่งเป็นเพียงการกล่าวโดยโวหารเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว จิตนี้ไม่ได้อาศัยนอนนิ่งอยู่คงที่แต่อย่างใด เพราะมีสภาพเกิดดับเปลี่ยนแปลงรับอารมณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพียงแต่อาศัยวัตถุรูปนั้น ๆ เกิดเพื่อรับรู้อารมณ์ตามเหตุปัจจัยของจิตดวงนั้น ๆ เท่านั่นเอง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |