| |
เครื่องเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ   |  

ทอง ถึงแม้จะมีสภาพแข็งแกร่งทนทานและสวยงามมากก็ตาม แต่ทองก็เป็นธาตุดินซึ่งเป็นรูปธรรมชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปถวีรูป อยู่ในจำพวกนิปผันนรูป คือ รูปที่มีสภาพเป็นปรมัตถ์แท้ โดยปกติของนิปผันนรูปทั้งหมดนั้น ย่อมมีสภาพเสื่อมสิ้นสลายไปเพราะวิโรธิปัจจัย คือ ปัจจัยที่เป็นปฏิปักษ์กัน เพราะฉะนั้น วิโรธิปัจจัยของทอง ก็ได้แก่ ธาตุดิน ๕ ชนิด คือ

๑. เหล็ก ๒. โลหะ ๓. ดีบุก ๔. ตะกั่ว ๕. เงิน

ทั้ง ๕ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่ออยู่ใกล้ทองแล้ว ย่อมทำให้ทองเศร้าหมองและสูญสลายไปได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |