| |
มหากุศล ๖ ประเภท   |  

จำแนกโดยเจตนา ๓ กาล มี ๒ ประเภท

๑. อุกกัฏฐกุศล หมายถึง กุศลที่สมบูรณ์พร้อมด้วยเจตนาทั้ง ๓ กาล คือ บุพพเจตนา มุญจนเจตนาและอปรเจตนา เรียกว่า กุศลอุกฤษฏ์ แปลว่า กุศลชั้นสูง ตัวอย่างเช่น บุคคลที่ได้ใส่บาตรหรือได้อุปัฏฐากพระภิกษุที่ตนเองเคารพนับถือในศีลาจารวัตรของท่าน ในขณะที่ใส่บาตรอยู่ก็ดี หรือในขณะที่ทำการอุปัฏฐากอยู่ก็ดี ย่อมมีความภาคภูมิใจ มีเจตนาตั้งใจอย่างเต็มที่และมีศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม หลังจากใส่บาตรเสร็จแล้วก็ดี หรือหลังจากได้อุปัฏฐากเสร็จแล้วก็ดี ก็ยังเกิดความภาคภูมิใจอยู่อย่างเดิม หรือเพิ่มพูนทวีขึ้นอีก เนื่องจากได้เห็นศีลาจารวัตรของพระภิกษุรูปนั้น ยังน่าเลื่อมใสศรัทธาอยู่ อย่างนี้เรียกว่า อุกกัฏฐกุศล

๒. โอมกกุศล หมายถึง กุศลที่บกพร่องด้วยเจตนา ในกาลใดกาลหนึ่ง หรือทั้ง ๓ กาล เรียกว่า กุศลอ่อนแอ หรือ กุศลชั้นต่ำ ตัวอย่างเช่น บุคคลที่เคยใส่บาตรพระภิกษุหรือสามเณรที่ตนไม่เคารพนับถือในศีลาจารวัตร แต่ภิกษุหรือสามเณรรูปนั้น เดินมาหยุดยืนอยู่ตรงหน้า เพื่อจะรับบาตร ทั้งที่ตนไม่ต้องการจะใส่บาตรก็ตาม แต่พระภิกษุหรือสามเณรรูปนั้น ไม่ยอมเดินเลยไป ยังยืนอยู่ตรงหน้า เมื่อตนเองขัดเสียมิได้ จึงจำใจใส่บาตรไปโดยคิดว่า “ถือว่า เป็นการให้ทานแก่นกกาไปเถิด” ดังนี้เป็นต้น เรียกว่า โอมกกุศล


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |