| |
หมายเหตุเภทนัย [๑]   |  

๑. จิตที่ไม่มีคำว่า “โสมนัส” แต่สงเคราะห์เข้าในโสมนัสสสหคตจิต มี ๔๔ ดวง ได้แก่ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌานจิต ๑๑ ตติยฌานจิต ๑๑ จตุตถฌานจิต ๑๑ เพราะเป็นจิตที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนาทางใจ คือ โสมนัสสเวทนา

๒. จิตที่ไม่มีคำว่า “วิปฺปยุตฺตํ” แต่สงเคราะห์เข้าในวิปปยุตตจิต มี ๑๘ ดวง ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘ เพราะไม่ได้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ๆ ใดอย่างหนึ่ง คือ ทิฏฐิ ปฏิฆะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะและญาณะ [ดังกล่าวแล้วในสัมปยุตตจิต]

๓. จิตที่ไม่มีคำว่า “าณสมฺปยุตตํ” แต่สงเคราะห์เข้าในญาณสัมปยุตตจิต มี ๖๗ ดวง ได้แก่ ฌานจิต ๖๗ คือ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตตรจิต ๔๐ เพราะต้องเกิดพร้อมด้วยปัญญาเสมอ อนึ่ง จิตจำพวกนี้ จะเกิดกับบุคคลที่เป็นติเหตุกบุคคลเท่านั้น

๔. จิตที่ไม่มีคำว่า “อสังขาริก” แต่สงเคราะห์เข้าในอสังขาริกจิต มี ๒๐ ดวง คือ โมหมูลจิต ๒ อเหตุกจิต ๑๘ เพราะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้นเตือนหรือชักชวน

๕. จิตที่ไม่มีคำว่า “สสังขาริก” แต่สงเคราะห์เข้าในสสังขาริกจิต มี ๖๗ ดวง คือ ฌานจิต ๖๗ เพราะต้องอาศัยความพยายามอย่างแรงกล้า จึงจะทำให้เกิดขึ้นได้


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |