| |
มานะ มี ๒ ประเภท   |  

๑. ยาถาวมานะ การถือตัวตามเหตุที่เป็นจริง มีอยู่จริง ได้แก่ ตนดีกว่าเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา ตนเสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา ตนเลวกว่าเขาถือตัวว่าเลวกว่าเขา เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นไปตามสภาพที่เป็นจริง และภาวะของตนที่เป็นไปโดยสมมติก็เป็นเช่นนั้น เช่น เป็นนายก เป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นครูอาจารย์ เป็นต้นแล้วเกิดมานะเย่อหยิงถือตัวขึ้น

๒. อยาถาวมานะ การถือตัวในเหตุที่ไม่เป็นจริง ได้แก่ ตนดีกว่าเขาถือว่า เสมอเขาก็ดี เลวกว่าเขาก็ดี ตนเสมอเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขาก็ดี เลวกว่าเขาก็ดี ตนเลวกว่าเขาถือตัวว่าดีกว่าเขาก็ดี เสมอเขาก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการถือตัวที่ไม่เป็นไปตามสภาพที่เป็นจริง คือ ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

เพราะฉะนั้น แม้จะมีการถือตัวตามเหตุผลที่เป็นจริงก็ตาม ย่อมถือว่า เป็นมานะเช่นเดียวกัน เพราะหลักสำคัญของมานะ ก็คือ ต้องมีการเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นแล้วเกิดความเหย่อหยิ่งยึดถือในความมีตัวตนขึ้น และตั้งตนอยู่ในฝักฝ่ายที่ตรงข้ามกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่ตนเข้าไปเปรียบเทียบนั้น ความถือตัวทั้ง ๒ อย่างนี้ อาจแยกย่อยได้อีก ๙ ประการ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |