| |
ต้นไม้มีกลิ่นหอม ๑๐ ประเภท   |  

ในโปตลิยสุตตวัณณนา อรรถกถาปปัญจสูทนี มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมไว้ ๑๐ ประเภทรุ.๒๑๗ คือ

๑. มูลคันโธ ต้นไม้มีรากหอม

๒. สารคันโธ ต้นไม้มีแก่นหอม

๓. เผคคุคันโธ ต้นไม้มีกระพี้หอม

๔. ตจคันโธ ต้นไม้มีเปลือกหอม

๕. ปปฏิกคันโธ ต้นไม้มีสะเก็ดหอม

๖. รสคันโธ ต้นไม้มีรสหอม

๗. ปัตตคันโธ ต้นไม้มีใบหอม

๘. ปุปผคันโธ ต้นไม้มีดอกหอม

๙. ผลคันโธ ต้นไม้มีผลหอม

๑๐. คันธคันโธ ต้นไม้มีกลิ่นหอม

ต้นไม้ ๑๐ ประเภทนี้ มีดาระดาษอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ใกล้ป่าหิมพานต์

ความหอมของต้นไม้เหล่านี้ เป็นกลิ่นที่เกิดจากอุตุคืออุณหภูมิและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงสายพันธุ์แห่งต้นไม้นั้นด้วย เรียกว่า อุตุปัจจยอุตุชคันธรูป แปลว่า กลิ่นที่เกิดจากอุณหภูมิโดยมีอุณหภูมิคือสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัย และเกิดจากอาหารคือโอชาที่อยู่ในสิ่งต่าง ๆ อันเป็นอาหารที่อยู่ภายนอกร่างกายของสัตว์ ที่เรียกว่า พหิทธโอชา แปลว่า โอชาภายนอก ซึ่งสามารถกลืนกินเข้าไปเป็นอาหารของสัตว์ทั้งหลายได้ เรียกว่า กพฬีการาหาร หรือ กวฬิงการาหาร อาหารเหล่านี้จัดเป็นอาหารรูปทั้งสิ้น และอาหารเหล่านี้ก็มีกลิ่นอยู่ด้วยหรือสามารถทำให้เกิดกลิ่นได้ เพราะฉะนั้น กลิ่นที่เกิดจากอาหารเหล่านี้ จึงเรียกว่า อาหารปัจจยอุตุชคันธรูป แปลว่า กลิ่นที่เกิดจากอุณหภูมิซึ่งมีอาหารเป็นปัจจัย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |