ไปยังหน้า : |
๑. อุปปัตติกมะ พิจารณาตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงการจำความได้ว่า มีสุข มีทุกข์ ทำบุญ ทำบาป มีวิชา มีความฉลาดเกิดขึ้นได้อย่างไร
๒. ปหานกมะ พิจารณาถึงการละว่าตั้งแต่จำความได้มาจนถึงปัจจุบันนั้นตนเองละทุจริตได้อย่างไรบ้างและภาวนาอย่างไรบ้าง
๓. ปฏิปัตติกมะ พิจารณาถึงข้อปฏิบัติว่าตั้งแต่เยาว์มาจนถึงบัดนี้ ตนเองได้ทำความดีอย่างไรบ้าง
๔. ภูมิกมะ พิจารณาวิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาทองค์ ๑๒ และอริยสัจ ๔ ให้เห็นเป็นแต่เพียงรูปกับนามเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แล้วน้อมพิจารณาโดยความเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และอนัตตา เป็นสภาวธรรมที่ไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามอำนาจของใครได้
๕. เทสนากมะ ศึกษาในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ให้รู้และเข้าใจเหตุผลของหัวข้อธรรมแต่ละอย่าง