| |
การกระทำที่เป็นศีล ๕ ประการ   |  

ในสีลมยญาณนิทเทส ญาณกถา มหาวรรค ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงสภาพของศีลไว้ ๕ ประการรุ.๓๖๔ คือ

๑. ปหานศีล การละเป็นศีล

๒. เวรมณีศีล การงดเว้นเป็นศีล

๓. เจตนาศีล การจงใจเป็นศีล

๔. สังวรศีล การสำรวมเป็นศีล

๕. อวีติกกมศีล การไม่ล่วงละเมิดเป็นศีล

วิญญัติรูปทั้ง ๒ คือ กายวิญญัติรูปและวจีวิญญัติรูปย่อมเป็นเหตุให้ล่วงละเมิดศีลและการสำรวมในศีลได้ เพราะศีล หมายถึง ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา เพราะฉะนั้น บุคคลที่รู้จักกำหนดพิจารณาและสำรวมระวังอาการเคลื่อนไหวทางกายและทางวาจาได้ ย่อมสามารถรักษาศีลได้ และถ้าสามารถสำรวมจิตให้แสดงแต่วิญญัติรูปที่ดีและเหมาะควรอยู่เป็นประจำ ย่อมสามารถรักษาศีลได้เป็นอย่างดี


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |