| |
อานิสงส์ของทานกุศล ๑๘ ประการ   |  

๑. สุขะนิทานัง ทานกุศลเป็นเหตุนำสุขมาให้

๒. สัมปัตติมูลัง ทานกุศลเป็นรากฐานแห่งสมบัติทั้งปวง

๓. โภคะปะติฏฐา ทานกุศลเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทั้งหลาย

๔. ตาณัง ทานกุศลเป็นเครื่องต้านทานหลีกเร้นของหมู่สัตว์

๕. เลนัง ทานกุศลเป็นเครื่องป้องกันภัยของหมู่สัตว์

๖. สุคะติปะรายะนัง ทานกุศลเป็นทางนำไปสู่สุคติ

๗. อะวัสสะโย ทานกุศลเป็นที่อาศัยไปในสังสารวัฏได้

๘. ปะติฏฐา ทานกุศลเป็นที่พึ่งในสังสารวัฏได้

๙. อารัมมะณัง ทานกุศลเป็นอารมณ์ที่ยึดหน่วงได้

๑๐. คะตะมัคโค ทานกุศลเป็นทางดำเนินของบัณฑิตทั้งหลาย

๑๑. พุทธะวังโส ทานกุศลเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้า

๑๒. สัคคะสัมปัตติทานัง ทานกุศลทำให้ได้สวรรค์สมบัติ

๑๓. มาระสัมปัตติทานัง ทานกุศลทำให้ได้มารสมบัติ [เกิดเป็นพญามาร]

๑๔. พ๎รัห๎มะสัปปัตติทานัง ทานกุศลทำให้ได้พรหมสมบัติ

๑๕. จักกะวัตติสัมปัตติทานัง ทานกุศลย่อมให้สมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ

๑๖. สาวะกะปาระมีญาณัง ทานกุศลย่อมให้สำเร็จสาวกบารมีญาณ

๑๗. ปัจเจกะโพธิญาณัง ทานกุศลย่อมให้สำเร็จปัจเจกโพธิญาณ

๑๘. อะภิสัมโพธิญาณัง ทานกุศลย่อมให้ได้สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |