ไปยังหน้า : |
อินทรีย์ แปลว่า ความเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง หมายความว่า ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในหน้าที่การงานของตน ๆ ซึ่งมีความสามารถทำให้สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้นเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของตน อินทรีย์นี้ เมื่อว่าโดยองค์ธรรมปรมัตถ์แล้ว มี ๑๖ คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ๑ จิต ๑ เวทนาเจตสิก ๑ สัทธาเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ สติเจตสิก ๑ เอกัคคตาเจตสิก ๑ และปัญญาเจตสิก ๑ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้วมี ๒๒ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ | ได้แก่ จักขุปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๒. โสตินทรีย์ | ได้แก่ โสตปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๓. ฆานินทรีย์ | ได้แก่ ฆานปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๔. ชิวหินทรีย์ | ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๕. กายินทรีย์ | ได้แก่ กายปสาทรูป | จัดเป็น รูป | ||
๖. อิตถินทรีย์ | ได้แก่ อิตถีภาวรูป | จัดเป็น รูป | ||
๗. ปุริสินทรีย์ | ได้แก่ ปุริสภาวรูป | จัดเป็น รูป | ||
๘. ชีวิตินทรีย์ | ได้แก่ ชีวิตรูป | จัดเป็น รูป | ||
ชีวิตินทรียเจตสิก | จัดเป็น นาม | |||
๙. มนินทรีย์ | ได้แก่ จิตทั้งหมด | จัดเป็น นาม | ||
๑๐. สุขินทรีย์ | ได้แก่ สุขเวทนา | จัดเป็น นาม | ||
๑๑. ทุกขินทรีย์ | ได้แก่ ทุกขเวทนา | จัดเป็น นาม | ||
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ | ได้แก่ โสมนัสสเวทนา | จัดเป็น นาม | ||
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ | ได้แก่ โทมนัสสเวทนา | จัดเป็น นาม | ||
๑๔. อุเปกขินทรีย์ | ได้แก่ อุเบกขาเวทนา | จัดเป็น นาม | ||
๑๕. สัทธินทรีย์ | ได้แก่ สัทธาเจตสิก | จัดเป็น นาม | ||
๑๖. วิริยินทรีย์ | ได้แก่ วิริยเจตสิก | จัดเป็น นาม | ||
๑๗. สตินทรีย์ | ได้แก่ สติเจตสิก | จัดเป็น นาม | ||
๑๘. สมาธินทรีย์ | ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก | จัดเป็น นาม | ||
๑๙. ปัญญินทรีย์ | ได้แก่ ปัญญาเจตสิก | จัดเป็น นาม | ||
๒๐. อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์ | ได้แก่ ปัญญาเจตสิก | จัดเป็น นาม | ||
๒๑. อัญญินทรีย์ | ได้แก่ ปัญญาเจตสิก | จัดเป็น นาม | ||
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ | ได้แก่ ปัญญาเจตสิก | จัดเป็น นาม |