| |
โทษของการไม่เคี้ยวไม้ชำระฟัน ๕ ประการ   |  

การเคี้ยวไม้ชำระฟันเป็นการชำระลิ้นให้สะอาดและทำให้ประสาทลิ้นสามารถรับรสได้ดี หรือในปัจจุบันใช้วิธีการแปรงฟันแทน ย่อมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ถ้าบุคคลใดไม่หมั่นในการเคี้ยวไม้ชำระฟันหรือไม่ขยันแฟรงฟัน บุคคลนั้นย่อมมีโทษ ๕ ประการรุ.๑๗๓ กล่าวคือ

๑. อจกฺขุสฺสํ โหติ ทำให้ตาฝ้าฟาง

๒. มุขํ ทุคฺคนฺธํ โหติ ทำให้ปากมีกลิ่นเหม็น

๓. รสหรณิโย น วิสุชฺฌนฺติ ทำให้ประสาทสัมผัสรับรสอาหารไม่ดี

๔. ปิตฺตํ เสมฺหํ ภตฺตํ ปริโยนทฺธติ ทำให้ดี เสมหะ หุ้มห่ออาหารไว้ [อาหารย่อยยาก]

๕. ภตฺตมสฺส นจฺฉาเทติ ทำให้รสของอาหารไม่อร่อย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |