| |
เหตุผลที่คนให้ทาน ๘ ประการ   |  

การที่บุคคลทั้งหลายยอมเสียสละวัตถุสิ่งของของตนให้เป็นทานแก่บุคคลเหล่าอื่นนั้น มีเหตุผล ๘ ประการ คือ

๑. เพราะประจวบเหมาะ

๒. เพราะกลัวคนอื่นจะตำหนิ

๓. เพราะคิดว่าเขาได้เคยให้เรามาก่อน

๔. เพราะคิดว่าเขาจักให้แก่เราในกาลข้างหน้า

๕. เพราะคิดว่าการให้ทานเป็นความดี

๖. เพราะคิดว่าการไม่ให้แก่ผู้มิได้หุงต้มนั้นย่อมไม่สมควร [การไม่ให้แก่บุคคลที่ไม่ได้หุงข้าวปลาอาหารรับประทานเอง ได้แก่ นักบวชทั้งหลายนั้น ไม่สมควร]

๗. เพราะคิดว่าชื่อเสียงเกียรติยศอันดีงามย่อมขจรไป

๘. ให้ทานเพื่อปรับสภาพจิตใจให้ประณีตยิ่งขึ้น

อีกนัยหนึ่ง เหตุที่บุคคลย่อมเสียสละวัตถุสิ่งของของตนให้ทานแก่บุคคลเหล่าอื่นนั้น มีเหตุปัจจัย ๘ ประการ คือ

๑. เพราะชอบพอกัน

๒. เพราะชังกัน [โกรธกัน ไม่ชอบหน้ากัน]

๓. เพราะหลง

๔. เพราะกลัว

๕. เพราะคิดว่าบรรพบุรุษเคยให้มาเคยทำมา

๖. เพราะคิดว่าหลังจากตายไปแล้วเราจักได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

๗. เพราะคิดว่าจิตย่อมเลื่อมใสเกิดความเบิกบานใจ

๘. ให้ทานเพื่อปรับสภาพจิตใจให้ประณีตยิ่งขึ้น

การให้ทานด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ ถ้าบุคคลมีความตั้งใจที่จะให้ด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ ก่อนแต่จะให้ เรียกว่า บุพพเจตนา ก็ดี ในขณะกำลังให้ เรียกว่า มุญจนเจตนา ก็ดี หลังจากให้เสร็จแล้ว เรียกว่า อปรเจตนา ก็ดี หรือผ่านพ้นเวลานั้นไปแล้ว เรียกว่า อปราปรเจตนา ก็ดี ถ้ามีเจตนาในการให้เหล่านี้ทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง การให้นั้นย่อมจัดว่าเป็นทานที่บริสุทธิ์ ซึ่งจะให้ผลเป็นความสุขต่าง ๆ ตามสมควรแก่กำลังของเจตนานั้น ถ้าบุคคลมีเจตนาครบทั้ง ๔ อย่าง ทานย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ถ้ามีเจตนา ๓ อย่าง ทานก็ชื่อว่า บริบูรณ์ ไม่มีความบกพร่อง ย่อมมีอานิสงส์มากมีผลมากเช่นเดียวกัน แต่ถ้ามีเพียงเจตนา ๒ อย่าง หรือมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทานนั้นย่อมมีอานิสงส์ลดหลั่นกันลงไป ตามสภาพของเจตนานั้นด้วย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |