| |
ขันธ์ ๕

คำว่า ขันธ์ หมายความว่า เป็นกลุ่มเป็นกอง ตรงกับบาลีที่กล่าวว่า ราสฏฺเน [ราสิฏฺเน] ขนฺโธ แปลว่า ชื่อว่า ขันธ์ เพราะอรรถว่า เป็นกลุ่มเป็นกอง มี ๕ ประการ คือ

๑. รูปขันธ์ ได้แก่ รูป ๒๘ จัดเป็น รูป
๒. เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาเจตสิก จัดเป็น นาม
๓. สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาเจตสิก จัดเป็น นาม
๔. สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ จัดเป็น นาม
๕. วิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิตทั้งหมด จัดเป็น นาม

หมายเหตุ. ๑] ข้อ ๒ ถึงข้อ ๔ รวมเรียกว่า เจตสิกขันธ์ ๓

๒] ข้อ ๒ ถึงข้อ ๕ รวมเรียกว่า นามขันธ์ ๔


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |