| |
มุสาวาทที่เป็นศีลวิบัติ กับ มุสาวาทที่ล่วงกรรมบถ   |  

ถ้ามุสาวาทไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แต่มีองค์ประกอบเพียง ๒ ประการ คือ มีจิตคิดจะกล่าวมุสาวาท และมีปโยคะ คือ พยายามมุสาด้วยกายหรือด้วยวาจา จะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ย่อมสำเร็จเป็น “ศีลวิบัติ” เท่านั้น ไม่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถ แต่ถ้าครบองค์ทั้ง ๔ ย่อมสำเร็จเป็นกรรมบถ

มุสาวาทที่ทำให้ผู้หลงเชื่อเกิดความเสียหายนั้น ถ้าได้รับความเสียหายมาก มุสาวาทนั้นย่อมมีโทษมาก ถ้าเสียหายน้อยย่อมมีโทษน้อย เช่น ผู้ที่เป็นพยานเท็จ ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องได้รับโทษประหารชีวิต จำคุก หรือได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน จัดเป็นมหาสาวัชชะ คือ มีโทษมาก อีกกรณีหนึ่ง ผู้ได้รับแจกเงิน ถูกผู้อื่นถามถึงจำนวนเงินที่ได้รับแจก แกล้งตอบว่า ได้รับมา ๒๐๐ บาท ซึ่งความจริงได้รับแจกมาเพียง ๑๒๐ บาทเท่านั้น เช่นนี้จัดเป็นอัปปสาวัชชะ คือ มีโทษน้อย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |