| |
สัมมาวาจา ๒ ประเภท   |  

๑. สาสวสัมมาวาจา สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ คือ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ประกอบด้วยอาสวะ เจือปนด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลเป็นวิบากขันธ์ ได้แก่ เจตนาในการงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยมหากุศลจิต

๒. อนาสวสัมมาวาจา สัมมาวาจาของพระอริยบุคคลที่เป็นอนาสวะ คือ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่เจือปนด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งโลกุตตระ เป็นองค์มรรค ได้แก่ ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของพระอริยบุคคลผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ หมายเอาสัมมาวาจาที่ประกอบในโลกุตตร จิต ในฐานะเป็นสัมมาวาจามรรค ซึ่งทำการตัดขาดจากการพูดวจีทุจริตโดยเด็ดขาด ตามสมควรแก่กำลังของมรรคญาณแต่ชั้น จนถึงอรหัตตมรรคญาณจึงจะสามารถกำจัดอกุศลเจตนาที่ทำให้พูดวจีทุจริตได้หมดสิ้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |