| |
เจตนาเจตสิก   |  

เจตนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่จัดแจงสัมปยุตตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนไว้ในอารมณ์ หมายความว่า เป็นสภาวธรรมที่มีสภาพเป็นผู้กระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกับตนในจิตดวงเดียวกันให้มุ่งมั่นในการกระทำกิจของตน ๆ ไม่ให้เหลื่อมล้ำกัน หรือเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัมปยุตตธรรม เจ.๙ ทั้งหลายสามารถกระทำกิจของตนได้โดยสะดวก โดยไม่ก้าวก่ายหรือเกี่ยงงอนในการกระทำกิจของตน ๆ ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยในการรับรู้อารมณ์แต่ละครั้ง จึงเรียกว่า ผู้จัดแจงสัมปยุตตธรรม ดังมีวจนัตถะแสดงว่า “อารัมมะเณสุ สัมปะยุตตะธัมเม เจตะยันตีติ เจตะนา [วา] อัตตะโน อัตตะโน กิจจัง กะโรนติ เอเตนาติ เจตะนา” แปลความว่า ธรรมชาติที่จัดแจงสัมปยุตตธรรมไว้ในอารมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า เจตนา [หรืออีกนัยหนึ่ง] สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ย่อมกระทำกิจของตน ๆ ได้เพราะอาศัยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า เจตนา

เพราะฉะนั้น คำว่า เจตนา จึงหมายถึง สภาวธรรมที่จัดแจงสัมปยุตตธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกับตนให้สามารถกระทำกิจของตน ๆ ไปได้โดยสะดวกและสำเร็จเรียบร้อยโดยไม่บกพร่อง


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |