ไปยังหน้า : |
๑. อนัตตโต | โดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน | |
๒. ปรโต | โดยความเป็นของไม่ใช่เรา แต่เป็นสิ่งอื่น | |
๓. ริตตโต | โดยความเป็นของว่างเปล่าจากตัวเรา | |
๔. ตุจฉโต | โดยความเป็นของว่างเปล่าจากแก่นสาร | |
๕. สุญญโต | โดยความเป็นของว่างเปล่าจากสัตว์บุคคล |
รวม ๕ ประการ จัดเข้าใน ๕ ขันธ์ ก็เป็น ๒๕ ประการ
รวมทั้งหมดเป็น ๔๐ ประการ จัดเข้าใน ๕ ขันธ์ จึงเป็น ๒๐๐ ประการ
ไตรลักษณ์นี้ เป็นลักษณะสามัญหรืออาการตามปกติธรรมดาของรูปนามที่เป็นสังขาร ดังนั้น ก่อนที่จะเห็นไตรลักษณ์ จึงต้องรู้จักรูปธรรมและนามธรรมให้เข้าใจให้ดีเสียก่อน เพราะรูปธรรมนามธรรมเหล่านี้แหละจะเป็นสิ่งเริ่มต้นในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานที่จะนำเข้าไปสู่ไตรลักษณ์ได้