| |
อนุตตริยะ [ความยอดเยี่ยม] ๘ ประการ   |  

ในสังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ [พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓] เป็นต้น ได้แสดงอนุตตริยะ คือ ความยอดเยี่ยม ไว้ ๘ ประการรุ.๑๙๓ คือ

๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันยอดเยี่ยม

๒. สวนานุตตริยะ การฟังอันยอดเยี่ยม

๓. ลาภานุตตริยะ การได้อันยอดเยี่ยม

๔. สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันยอดเยี่ยม

๕. ปาริจาริยานุตตริยะ การปรนนิบัติอันยอดเยี่ยม

๖. อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันยอดเยี่ยม

๗. ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม

๘. วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันยอดเยี่ยม

อนุตตริยะทั้ง ๘ ประการนี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัยมีปุพเพกตปุญญตา คือ การได้ทำบุญไว้แต่ปางก่อน เป็นต้น ซึ่งอาศัยรูปธรรมเป็นปัจจัยสำคัญโดยมาก เช่น การเห็นอันยอดเยี่ยมจะเกิดขึ้นได้ต้องมีจักขุปสาทรูปสมบูรณ์ดี เป็นต้น ถ้าบุคคลขาดจักขุปสาทรูปแล้ว บุคคลนั้นก็ยากที่จะได้ประสบกับทัสสนานุตตริยะนี้ได้ ดังนี้เป็นต้น


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |