| |
เตโชธาตุ มีธาตุ ๓ ที่เหลือเป็นปัจจัย   |  

ตามที่กล่าวมานี้ จึงสรุปได้ว่า เตโชธาตุ นี้

๑. มีปถวีธาตุ เป็นที่ตั้ง [รองรับ]

๒. มีอาโปธาตุ เป็นตัวเกาะกุม

๓. มีวาโยธาตุ เป็นตัวกระพือพัด [ปรับสภาพ]

อนึ่ง เตโชนี้แม้จะเป็นรูปธาตุที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์กับธาตุอื่น ๆ ก็ตาม แต่ว่ามีประสิทธิภาพเหนือธาตุอื่น ๆ ตรงที่ว่า สัตว์ทั้งหลายอายุจะยืนหรือไม่ ก็เพราะเตโชธาตุนี้แหละเป็นผู้หล่อเลี้ยง เช่น อุสมาเตโชให้ความอบอุ่นไม่พอ ปาจกเตโชไม่พอย่อยอาหาร เพียงเท่านี้ สัตว์นั้น ๆ ก็จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้แล้ว


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |