| |
ฉันทเจตสิก   |  

ฉันทเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความพอใจในอารมณ์ หมายความว่า สภาวธรรมที่มีความพอใจในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเจตสิกที่ต้องเกิดพร้อมกับจิตที่มีการฝักใฝ่ในอารมณ์ หรือมีความพึงพอใจในอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ ฉันทเจตสิกจึงประกอบกับจิตได้ไม่ครบทุกดวง คือ เว้นโมหมูลจิต ๒ และอเหตุกจิต ๑๘ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสภาวะของโมหมูลจิตมีความโง่ความหลงเป็นลักษณะ ซึ่งในขณะนั้น ความรู้สึกตัวที่เด่นชัดย่อมไม่มี เพราะสภาพจิตมีความซัดส่ายไปตามอำนาจของวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ จึงปรากฏเป็นความโง่เพราะไม่รู้สึกตัว ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีสภาวะที่เป็นความพอใจในความรู้สึกนั้น ส่วนในอเหตุกจิตนั้น เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยพิเศษที่ประชุมพร้อมกันอย่างสมดุลแล้ว อเหตุกจิตแต่ละดวงจึงเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเหตุปัจจัยนั้นไม่มีความสมดุลหรือขาดตกบกพร่องไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้จะมีความพึงพอใจที่จะรับรู้อารมณ์ก็ตาม แต่อเหตุกจิตย่อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่จำเป็นต้องมีฉันทเจตสิกคือความพึงพอใจเกิดร่วมด้วย


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |