ไปยังหน้า : |
ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหอรรถกถาและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎกีกา ท่านไม่ได้กล่าวรายละเอียดในเรื่องอุปาทายรูปไว้ ส่วนคณาจารย์อภิธรรมในประเทศไทย มีพระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ เป็นต้นรุ.๑๒๕ ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องอุปาทายรูป ไว้ดังต่อไปนี้
อุปาทายรูป หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด มี ๒๔ รูปรุ.๑๒๖ ได้แก่
๑. จักขุปสาท คือ ประสาทตา
๒. โสตปสาท คือ ประสาทหู
๓. ฆานปสาท คือ ประสาทจมูก
๔. ชิวหาปสาท คือ ประสาทลิ้น
๕. กายปสาท คือ ประสาทกาย
๖. วัณณะ คือ รูปารมณ์ [ได้แก่สีต่าง ๆ]
๗. สัททะ คือ เสียง
๘. คันธะ คือ กลิ่น
๙. รสะ คือ รส
๑๐. อิตถีภาวะ คือ ความเป็นหญิง
๑๑. ปุริสภาวะ คือ ความเป็นชาย
๑๒. หทยวัตถุ คือ ที่ตั้งแห่งใจ
๑๓. ชีวิตินทรีย์ คือ ชีวิตรูป
๑๓. ชีวิตินทรีย์ คือ ชีวิตรูป
๑๕. กายวิญญัตติ คือ การเคลื่อนไหวกาย
๑๖. วจีวิญญัตติ คือ กิริยาที่เปล่งเสียง
๑๖. วจีวิญญัตติ คือ กิริยาที่เปล่งเสียง
๑๘. ลหุตา คือ ความเบา
๑๙. มุทุตา คือ ความอ่อน
๒๐. กัมมัญญตา คือ ความเหมาะควร
๒๑. อุปัจจยะ คือ ความก่อตัว
๒๒. สันตติ คือ ความสืบต่อ
๒๓. ชรตา คือ ความแก่
๒๔. อนิจจตา คือ ความดับ
ในคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี กล่าวไว้เพียงสั้น ๆ ว่า “อุปาทารูป คือ รูปที่เป็นไปโดยอาศัย [มหาภูตรูป]” ข้อความนั้นไม่เห็นสมในที่นี้ เพราะปาฐะที่ไม่มี ย อักษรนี้ไม่พบในที่ใดเลย ดังสาธกในคัมภีร์มูลฎีกาว่า
อุปาทายะ คือ สิ่งอาศัย
ดังอรรถวิเคราะห์ว่า อุปาทายติ นิสฺสยตีติ อุปาทายํ ตเมว รูปํ แปลความว่า รูปอาศัยนั่นเอง ชื่อว่า อุปาทายรูปรุ.๑๒๗