| |
ปัญญา ๓ ประการ   |  

๑. กัมมัสสกตาปัญญา หมายถึง ปัญญาที่รอบรู้เข้าใจในความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ว่าล้วนแต่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งกรรม ไม่มีใครที่จะหลุดพ้นจากอำนาจกฎแห่งกรรมเลย

๒. วิปัสสนาปัญญา หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา จนสามารถรู้เห็นสภาพของรูปนามตามความเป็นจริง โดยกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามารถถ่ายถอนวิปปลาสธรรม คือ ความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงให้หมดไปได้

๓. โลกุตตรปัญญา หมายถึง ปัญญาที่สามารถรับรู้พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้ พร้อมทั้งทำการประหาณอนุสัยกิเลสให้สูญสิ้นไป ตามสมควรแก่กำลังของมรรคนั้น ๆ มี ๔ ระดับ คือ โสดาปัตติมรรคญาณ สกิทาคามิมรรคญาณ อนาคามิ มรรคญาณ และอรหัตตมรรคญาณ


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |