| |
อานิสงส์ของเมตตา [อโทสะ] ๑๑ ประการ   |  

๑. สุขัง สุปะติ หลับเป็นสุข

๒. สุขัง ปะฏิพุชฌะติ ตื่นเป็นสุข

๓. นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ ไม่ฝันร้าย

๔. มะนุสสานัง ปิโย โหติ เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

๕. อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

๖. เทวะตา รักขันติ เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักษาคุ้มครอง

๗. นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ ไฟ ยาพิษ ศาสตราวุธ ย่อมไม่ถูกต้อง ไม่กล้ำกลาย

๘. ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเร็ว

๙. มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ มีสีหน้าผ่องใส น่าดู

๑๐. อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ ไม่หลงทำกาลกิริยา [ไม่หลงตาย]

๑๑. อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พ์รัหมะโลกูปะโค โหติ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่ง [นิพพาน] ย่อมเข้าถึงพรหมโลก [เกิดในพรหมโลก]

การเจริญเมตตาที่จะให้ได้อานิสงส์เหล่านี้ ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิทั้ง ๓ ระดับ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับจึงจะได้ผลเจ.๒๘


เกี่ยวกับตำราอภิธรรม ออนไลน์ (Disclaimer)
ตำราอภิธรรมออนไลน์ พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังฯ วัดญาณเวศกวัน และ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพื่อนำเสนอสื่อธรรมสำหรับการศึกษาค้นคว้า โดยได้รับอนุญาต และเอกสารต้นฉบับจากผู้เขียน ดังนี้
(๑) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๒), จิตปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๑, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๒) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๕๖), เจตสิกปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
(๓) พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (๒๕๖๓), รูปปรมัตถ์: คู่มือศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉจที่ ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑.
ผู้สนใจศึกษาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และหลักสูตรการศึกษาได้ที่ สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร (คณะ ๗) แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร ๐๒ ๔๑๑ ๔๕๔๖, ๑๒ ๔๑๒ ๑๐๘๔, ๐๘๖ ๐๓๘ ๒๙๓๓


  |