ไปยังหน้า : |
๑. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การฟัง การอ่าน การท่องบ่นสาธยาย การสอบสวนทวนถาม
๒. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาตามที่ได้ยินได้ฟัง หรือ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ด้วยหลักการและเหตุผลแห่งธรรมนั้น ๆ หรือ ในความเป็นอยู่ ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีความเป็นอยู่และเป็นไปต่าง ๆ กัน เนื่องด้วยกรรมของแต่ละบุคคล หรือเทียบเคียงตามวัตถุและเหตุการณ์ เป็นต้น
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรม หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ได้แก่ สมถภาวนา คือ การเจริญสมาธิจนกระทั้งฌานจิตเกิด เรียกว่า ฌานสัมมาทิฏฐิ และวิปัสสนาภาวนา คือ การเจริญวิปัสสนา จนกระทั้งได้เห็นความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง โดยกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสามารถทำลายกิเลสที่เป็นเหตุให้ยึดมั่นในความคิดความเห็นว่า เป็นตัว เป็นตน เสียได้ เรียกว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กระทั้งบรรลุถึงมัคคญาณ สามารถประหาณอนุสัยกิเลสได้เด็ดขาด ตามกำลังแห่งมรรคแต่ละชั้นเรียกว่า มัคคสัมมาทิฏฐิ ต่อไปด้วยผลญาณ เรียกว่า ผลสัมมาทิฏฐิ และจบลงด้วยปัจจเวกขณญาณ เรียกว่า ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ